เรื่องของการค้า และการลงทุน เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต ยิ่งอีกไม่นานการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว ทั้ง 10 ชาติอาเซียนต่างพยายามหาช่องทางการค้าการลงทุน เพื่อดึงดูดให้เพื่อนบ้านเข้ามาลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน แต่ทว่าในโลกที่ไร้พรมแดน เช่นนี้เรื่องของกฎระเบียบการค้าการลงทุนในธุรกิจบางประเภทแทบไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะในข้อเท็จจริงแล้ววิวัฒนาการทางด้านการสื่อสารที่พัฒนาไปทุกวินาที ได้กลายเป็นโอกาสให้กับนักลงทุนทุกชาติทุกภาษาที่จะฉกฉวยโอกาสขยายการค้าการลงทุนได้ไม่ยาก เห็นได้จากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ การซื้อขายสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้การตัดสินใจหอบเงินเข้ามาลงทุนในต่างประเทศของต่างชาตินั้น ลดความจำเป็นลง เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถดำเนินธุรกิจได้โดยไม่มีต้นทุนในเรื่องของสถานที่เช่นเดียวกับไทย ที่โลกของการค้าการลงทุนแบบไร้พรมแดนได้แผ่ขยายเข้ามาด้วยเช่นกัน จากเดิมที่เคยนำกฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของนักลงทุนไทย เช่น หากต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัทในไทย จะมีข้อจำกัดเรื่องของการถือหุ้นที่กำหนดต้องไม่เกินสัดส่วน 49% แต่นักลงทุนเองแก้ไขปัญหาโดยหาบริษัทตัวแทนแฝง (นอมินี) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจ โดยที่เจ้าของเงินนั้น คอยควบคุมอยู่ด้านหลัง จึงเป็นเรื่องที่ไทยเองควรขจัดปัญหาเหล่านี้ โดยต้องมองเห็นว่า สิ่งที่เคยทำอยู่เดิมนั้นสร้างประโยชน์ให้กับประเทศจริงหรือไม่ ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ขยายความเรื่องนี้ผ่านรายการ เศรษฐกิจติดจอ ทางเดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ว่า เมื่อเปิดเออีซีแล้วหลายฝ่ายคาดว่าจะทำอะไรได้ง่ายและสะดวกขึ้น แต่เวลาพูดถึงเรื่องของการค้าเสรีแล้ว ทุกคนคิดเพียงเรื่องของสินค้า และการลงทุนของต่างชาติที่เข้ามา และออกไป ซึ่งไทยเองในอดีตได้กังวลว่า การให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน แล้วต้องเกิดปัญหา คิดว่าสู้เขาไม่ได้ จึงต้องกีดกันเอาไว้ก่อน แต่เวลานี้ต้องกลับมาคิดใหม่ เพราะเรื่องนี้ไม่มีความสำคัญแล้ว หากไทยต้องการเรียนรู้ ต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจ เช่นเรื่องของการถือหุ้นของต่างชาติ เวลานี้ไม่มีความสำคัญอะไรอีกต่อไป และผู้ประกอบการของไทยเองเข้าใจสถานการณ์นี้ดี และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อจำกัดสัดส่วนถือหุ้นของต่างชาติแล้ว ต่างชาติยังมีช่องทางอื่นที่ลงทุนได้ ดังนั้นจึงต้องพุ่งเป้าไปมองถึงอำนาจการควบคุมที่แท้จริงว่าใครเป็นผู้ควบคุมกิจการ และจะหาทางสร้างประโยชน์ให้ได้มากที่สุด! ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันกับการเปิดเออีซี ก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่มากนัก เพราะทุกคนรู้ดีว่า การทำอะไรในขณะนี้เริ่มเป็นเสรีเหมือนกับได้เปิดเออีซีไปแล้ว เพียงแต่ว่าไม่ได้มีผลที่ชัดเจนตามหน้าเอกสารที่ได้ทำข้อตกลงกันเท่านั้น ดร.ปิยะบุตร บอกอีกว่า ปัจจุบันการค้าและการให้บริการสามารถเกิดขึ้นได้มีอยู่ 4 โหมดด้วยกัน คือ โหมดแรกเป็นการบริการข้ามพรมแดน จากประเทศสมาชิกหนึ่งไปสู่ประเทศสมาชิกอื่นที่เป็นลูกค้า โดยผู้ให้บริการไม่ต้องปรากฏตัวอยู่ในประเทศลูกค้า เช่น การศึกษาผ่านทางไกล บริการผ่านสื่อสารโทรคมนาคม และบริการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ต่อมาคือโหมดที่สอง คือ การบริโภคในต่างประเทศ เป็นการให้บริการที่เกิดขึ้นในพรมแดนของประเทศผู้ให้บริการ โดยอาศัยการเคลื่อนย้ายของผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขสำคัญ อย่างเช่น บริการด้านการท่องเที่ยว การออกไปรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่างประเทศ การไปศึกษาในต่างประเทศ โหมดที่สาม คือ การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ เป็นการเข้าไปลงทุนจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้บริการในประเทศลูกค้า เช่น การจัดตั้งสาขา สำนักงานตัวแทน หรือบริษัท และในโหมดสุดท้าย ก็คือ การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา เป็นการเข้าไปทำงานประกอบอาชีพในสาขาบริการด้านต่าง ๆ เป็นการชั่วคราว ในประเทศลูกค้า เช่น การเข้ามาประกอบวิชาชีพที่ปรึกษากฎหมายของนักกฎหมายชาวต่างชาติในไทย ครูต่างชาติเข้ามาให้บริการสอนภาษาในไทย ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ เมื่อไทยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้ทันกับประเทศที่ล้ำหน้าไปแล้ว แต่ยังติดข้อจำกัดของการให้ต่างชาติมาลงทุนในประเทศ ซึ่งอยู่ในโหมดที่สาม ทำให้ปัจจุบันต่างชาติจำนวนมากหนีไปอยู่ในโหมดแรกหมด เปิดสาขาที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นมาตั้งกิจการในไทย แต่ใช้ช่องทางการบริการข้ามแดน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยแทน ดังนั้นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างทันที คือ ต้องเริ่มต้นพัฒนาแก้ไขข้อจำกัดที่ว่า เพราะเป้าหมายของไทยยังต้องการพัฒนา เรียนรู้การดำเนินธุรกิจ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างชาติอีกมาก ขณะเดียวกันทุกชาติสมาชิกในอาเซียนก็พยายามดึงนักลงทุนเข้ามาต่อยอดพัฒนาในประเทศเหมือนกันหมด แต่ถ้าไทยไม่เร่งแก้ปมที่มีอยู่ อีกไม่นานคงถูกประเทศที่คิดว่าด้อยกว่าแซงจนไม่เห็นฝุ่นก็เป็นได้ และเมื่อถึงเวลานั้นจะมาแก้ไขก็คงสายไปเสียแล้ว!. วสวัตติ์ โอดทวี
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะแก้ปมให้ถูกรับมือเออีซี… – เออีซีกับม.หอการค้าไทย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs