พูดถึงเกมแล้วก็ต้องนึกถึงอะไรที่มันสนุก ๆ ใช่ไหมครับ เชื่อว่าคุณผู้อ่านเองสมัยเด็ก ๆ หรือแม้แต่ในปัจจุบันก็ตามน่าจะเคยเล่นเกมคอมพิวเตอร์กันมาบ้าง เทียบกับสมัยก่อนแล้วเกมคอมพิวเตอร์เดี๋ยวนี้ก็ถือว่าพัฒนาไปมาก จากเกมกดหน้าจอขาวดำ สัตว์เลี้ยงทามาก็อตจิ เกมเพลย์สเตชั่นวันในสมัยสิบกว่าปีที่แล้ว มาจนถึงสมัยของเกมคอมพิวเตอร์แนว RPG หรือแนวที่ผู้เล่นรับบทบาทเป็นตัวละครในเกมซึ่งได้รับความนิยมมาก เพราะให้ความรู้สึกเสมือนกับว่าเราได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผจญภัยในเกมนั้นจริง ๆ แต่ด้วยโลกเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดหมุน ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีการสร้างโลกเสมือน (Virtual Reality) เข้ามาช่วยทำให้สามารถสร้างลูกเล่นในเกม RPG ให้ตื่นตาตื่นใจได้มากกว่าเดิม ที่สำคัญคือสมจริงยิ่งขึ้นเสมือนกับว่าเราได้หลุดเข้าไปโลดแล่นในมิติแห่งเกมนั้นจริง ๆ เลยทีเดียวครับ วันพุธนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านคอลัมน์ของผมมารู้จักกับ Oculus Rift หรือแว่นตาสามมิติซึ่งได้รับการกล่าวถึงในนิตยสาร Future Gamer เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ครับ แว่นนี้ถูกออกแบบมาสำหรับเล่นเกมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เป็นอุปกรณ์สวมศีรษะที่มีลักษณะคล้ายกับที่คาดตานอนหลับหรือแว่นตาขนาดใหญ่ โดยเมื่อสวมแว่นนี้แล้วเราก็จะมองเห็นภาพรอบตัวเป็นแต่ภาพสามมิติที่ Oculus Rift สร้างขึ้นมาเท่านั้น เลยเหมือนกับว่าเราหลุดจากโลกปัจจุบันเข้าไปอยู่ในโลกของเกมนั้นจริง ๆ เลยล่ะครับ ว่ากันจริง ๆ แล้ววิธีแสดงภาพสามมิติแบบโลกเสมือนหรือ Virtual Reality (VR) ด้วยอุปกรณ์สวมศีรษะนี้ก็ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่อะไร เพราะมีการนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990 หรือราว ๆ 24 ปีที่แล้ว เพียงแต่ในสมัยนั้นผลลัพธ์ที่ได้ยังมีคุณภาพไม่ดีและมีปัญหาในหลาย ๆ เรื่อง เช่น การประมวลผลที่ทำได้เฉพาะงานง่าย ๆ ที่ไม่ซับซ้อน การตอบสนองที่เชื่องช้า ตลอดจนความละเอียดของภาพที่ถือได้ว่าหยาบมาก ที่สำคัญคือราคาครับ ในสมัยนั้นราคาของอุปกรณ์ประเภทนี้แพงมาก นอกจากห้องวิจัยทดลองแล้วก็ยากที่บุคคลธรรมดาทั่วไปจะซื้อหานำมาพัฒนาเป็นอุปกรณ์สำหรับการเล่นเกมหรือเพื่อการค้าระดับครัวเรือนได้ ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้ล่ะครับคือสิ่งที่ Oculus Rift พยายามจะแก้ให้ได้ในปัจจุบัน ในส่วนฮาร์ดแวร์ของ Oculus Rift นั้นก็ถือได้ว่าน่าสนใจมากทีเดียวครับ ที่เลนส์ทั้ง 2 ข้างมีจอภาพ LCD ขนาดถึง 7 นิ้วอยู่ด้านหน้าสำหรับใช้แสดงผลแบบ Stereoscopic 3D หรือภาพสามมิตินั่นเอง โดยภาพที่แสดงสำหรับ ตาซ้ายและตาขวาจะมีความเหลื่อมกันเล็กน้อยเลียนแบบจากการมองเห็นของตาทั้งสอง ข้างของมนุษย์เรานั่นเองครับ ส่วนสีที่แสดงก็สามารถแสดงได้ถึง 24 บิตทำให้ได้สีที่สวยงามสมจริง แถมด้วยรูปลักษณ์การออก แบบพิเศษของ Oculus Rift เองที่ให้ภาพที่ใกล้เคียงกับการมองเห็นปกติของสายตาของมนุษย์เราเอามาก ๆ เรียกได้ว่าถ้าดูแต่ภาพแล้วก็สมจริงสุด ๆ เลยละครับ ความสามารถเด่น ๆ ที่เป็นจุดขายของ Oculus Rift ก็คือ มุมมองที่กว้าง ทำให้ไม่มีเงาของแว่น ขอบดำของเลนส์ หรือภาพจากอะไรก็ตามในโลกแห่งความเป็นจริงหลุดรอดเข้ามารบกวนสายตาและอารมณ์ของผู้ใช้ได้เลยครับ ยิ่งรวมเข้ากับภาพความคมชัดสูงที่มีความละเอียดระดับ Full HD ด้วยแล้ว ก็ไม่น่าแปลกใจเลยนะครับถ้าคุณผู้อ่านจะบังเอิญไปเห็นคนสวม Oculus Rift กำลังเล่นเกมแล้วออกอาการหรือออกท่าทางอินในเกมนั้น ๆ เอามาก ๆ ไม่สนใจใครที่ยืนมุงดูอยู่เลย ก็เพราะ Oculus Rift ได้พาเขาคนนั้นเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงในเกมเรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ เทคโนโลยี Oculus Rift นี้ถือได้ว่าเนื้อหอมไม่เบาเลยครับ เพราะในเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง ก็ถูกเฟซบุ๊กเข้าซื้อกิจการไปด้วยมูลค่ามากถึง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภายหลังจากการเข้าซื้อกิจการ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กเปิดเผยว่า ทางเฟซบุ๊กจะเน้นการพัฒนา Oculus Rift สำหรับการเล่นเกมก่อนเป็นอันดับแรก โดยจะสนับสนุนให้มีเกมออกมารองรับการใช้งานกับแว่นสามมิตินี้ในอนาคต หลังจากนั้นจึงจะหันไปพัฒนาการใช้งานสำหรับแอพพลิเคชั่นเสมือนจริงอื่น ๆ เช่น การพบแพทย์แบบเผชิญหน้ากันในโลกเสมือน การเรียนในห้องเรียนร่วมกับผู้อื่นทั่วโลก การรับชมการแข่งขันต่าง ๆ แบบเสมือนอยู่ติดสนามจริง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลจากการที่เฟซบุ๊กประกาศซื้อ Oculus Rift ไปด้วยมูลค่าที่สูงมากนั้น กลับสร้างความไม่มั่นใจและความกังวลให้กับบรรดาเกมเมอร์และนักพัฒนาเกมหลายรายที่ก่อนนี้ต่างเฝ้ารอการมาของ Oculus Rift นี้อยู่ สาเหตุก็มาจากความไม่มั่นใจในแนวทางการพัฒนา Oculus Rift ต่อไปในอนาคตของฝั่งเฟซบุ๊ก เพราะยังไงเสียเฟซบุ๊กก็ไม่ใช่บริษัทที่มุ่งพัฒนาเกมโดยตรง แต่เป็นบริษัทโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เน้นการสร้างยอดผู้ใช้ ถึงขนาดที่ มาร์คัส เพิร์สสัน ผู้สร้างเกม Minecraft ที่เป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันได้ออกมาประกาศว่า เขาไม่ต้องการที่จะทำงานร่วมกับเฟซบุ๊กซึ่งยังไม่มีเป้าหมายที่แน่ชัดในการพัฒนา Oculus Rift ความเปลี่ยนแปลงมักนำมาซึ่งความกังขา ไม่แน่ใจ และกังวลใจเสมอนะครับ กรณี Oculus Rift กับเฟซบุ๊กนี้ ตอนนี้คงยังเร็วไปที่จะให้คำตอบฟันธงว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของเฟซบุ๊กถูกต้องหรือไม่ พวกเราคงต้องจับตารอดูกันต่อไปครับ ว่าความสามารถของนักพัฒนาและผู้เชี่ยว ชาญจากทั้ง Oculus Rift และเฟซบุ๊กรวมถึงมูลค่าเม็ดเงินมหาศาลที่ลงไปนั้น จะให้ผลออกมาเป็นอย่างไร จะเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะย่างก้าวแห่งความสำเร็จของศตวรรษที่ 21 นี้ หรือจะเป็นก้าวที่ผิดพลาดสำหรับเป็นบทเรียนให้กับเฟซบุ๊กและนักลงทุนในภายภาคหน้า คงต้องจับตาดูกันครับ. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แว่นตาสามมิติกับเกมบนเฟซบุ๊ก – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs