ฟูจิตสึพัฒนานวัตกรรมเสริมในการบริหารจัดการการผลิตสำหรับ “Akisai”คลาวด์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร รายงานข่าวจากฟูจิตสึ แจ้งว่า ฟูจิตสึ ได้พัฒนาโซลูชั่นบริหารจัดการกระบวนการปลูกพืชในระบบอุตสาหกรรมและในสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะชำให้กับบริษัท โคบายาชิ ครีเอท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ริเริ่มปลูกและขายผักในรูปแบบ “อุตสาหกรรม” ทั้งนี้ในโรงเรือนเพาะปลูกหรือการปลูกพืชในระบบอุตสาหกรรม จะมีแมลงรบกวนและสิ่งปนเปื้อนน้อย ซึ่งหมายถึงปัจจัยจากสภาพแวดล้อมได้ถูกควบคุมและส่งผลน้อย จึงสามารถวางรูปแบบการเพาะปลูกให้เป็นระบบและกำหนดกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่องเป็นรอบที่ชัดเจน สามารถจัดระเบียบว่าอะไรที่จะปลูกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นผัก ดอกไม้หรือการเก็บเมล็ดพันธุ์  ขณะเดียวกันหากเป็นการปลูกพืชแบบทั่วไป จะต้องอาศัยการบริหารจัดการพืชเฉพาะเป็นกลุ่ม ๆ และอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเพาะปลูกระหว่างการเติบโต ซึ่งอาจต้องเสียเวลา เสียแรงงานในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลการทำงานอย่างมาก ด้วยบริการใหม่นี้ เกษตรกรสามารถหยิบอุปกรณ์อ่านโค้ดมือถือเข้าไปอ่านป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID) หรือป้ายบาร์โค้ดที่ถูกกำหนดไว้จำเพาะในแต่ละกลุ่มหรือแยกจำเพาะอย่างเด่นชัด ก็สามารถป้อนข้อมูลการทำงานได้อย่างถูกต้อง สามารถบริหารจัดการประวัติการทำงาน ตั้งแต่การวางแผนการปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว จึงช่วยให้การปลูกพืชในระบบอุตสาหกรรมสามารถปรับเปลี่ยนลำดับการเพาะปลูกไปตามวงจรกระบวนการปลูกได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ข้อมูลที่ป้อนเข้าในอุปกรณ์อ่านโค้ดมือถือยังสามารถเก็บในคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ จึงช่วยให้สามารถตรวจสอบความคืบหน้าในการทำงาน และพิจารณาปัจจัยในการเติบโตเพื่อการบริหารพืชในแต่ละลอตได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถแบ่งปันให้กับนักวิชาการด้านการเกษตร หรือผู้เพาะปลูกรายอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดเทคนิคการปลูกที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ดี ฟูจิตสึได้พัฒนาโซลูชั่นใหม่นี้ให้พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นอัจฉริยะของฟูจิตสึ คลาวด์ เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ภายใต้ชื่อ “Aki- sai” จะเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะเริ่มให้บริการเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นก่อน และในอนาคต ฟูจิตสึตั้งเป้าหมายจะเชื่อมโยงข้อมูลจากบริการนี้ด้วยข้อมูลจากบริการอื่น ๆ ใน Akisai เพื่อสร้างระบบซัพพลายเชนที่ครอบคลุมกระบวนการจัดซื้อ กระบวนการผลิต กระบวนการจัดส่งและการบริหารจัดการคลังสินค้า และนำไปสู่การ มีส่วนร่วมสร้างการบริหารจัดการด้านการ เกษตรเชิงองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้สูงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : โซลูชั่นบริหารการเพาะปลูก

Posts related