ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคสช. เพื่อการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคสช. เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบโครงการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 3 โครงการ วงเงินรวมกว่า 160,011 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 วงเงิน 36,811 ล้านบาท โครงการระบบสายส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 วงเงิน 60,000 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตก และภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้า 63,200 ล้านบาทสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้น จะใช้เงินกู้จากต่างประเทศ 26,247 ล้านบาท และเงินกู้ในประเทศ 10,564 ล้านบาท ก่อสร้าง 48 เดือน โดยเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 57 ก่อน 4,059 ล้านบาท และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเชิงพาณิชย์ในเดือนม.ค.61 ซึ่งการก่อสร้างครั้งนี้ถือเป็นการทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่มีอายุมากกว่า 25 ปี และมีแผนปลดออกในช่วงปลายปี 60 โดยโรงไฟฟ้าใหม่นี้ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 600 เมกกะวัตต์ทั้ง นี้ในขั้นตอนต่อไปกฟผ.ต้องไปจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบทางด้านสุขภาพให้เสร็จสิ้นก่อน โดยหัวหน้าคสช.ได้มอบหมายให้ดูแลเรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านสุขภาพ ให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางพัฒนา ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ รวมถึงเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ พร้อมกับขอให้พิจารณาพลังงานทดแทนในด้านอื่นๆ เป็นเป็นทางเลือกของการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ลากหลายมากขึ้นส่วนโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 ที่ประชุมเห็นชอบให้เบิกจ่ายงบลงทุนในปี 57 ก่อน 7.1 ล้านบาท โดยตามแผนจะพัฒนาและก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า ระยะทาง 2,797 กิโลเมตร และสถานีไฟฟ้าแรงสูง 7 แห่ง ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้า มีระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่ม.ค. 56 –มี.ค.63 โดยจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (ไออีอี) เพื่อขออนุญาตจากกรมป่าไม้ด้วย เพราะการก่อสร้างต้องพื้นที่ผ่านป่าอนุรักษ์ ขณะที่โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภาคตะวันตก และภาคใต้ เบื้องต้นจะเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 57 วงเงิน 3.2 ล้านบาท จึงต้องจัดทำไออีอีด้วยเช่นกันนอกจากนี้ที่ประชุมคสช.ยังเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กู้เงินภายในประเทศ เพื่อดำเนินโครงการที่รับผิดชอบ วงเงินรวม 11,839 ล้านบาท แบ่งเป็น กฟภ. 8,839 ล้านบาท และ 3,000 ล้านบาท

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไฟเขียวโครงการลงทุนไฟฟ้า 1.6 แสนล้านบาท

Posts related