ไมโครซอฟท์คิดจะยกเครื่องระบบจ้างงานใหม่ ให้เหมาะสมกับวงการธุรกิจไอทีของโลกซึ่งมักจะมีความเคลื่อนไหวสูงมากและจะต้องโตไว อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืน ถ้าพูดถึงวงการไอทีแล้ว ก็ต้องยอมรับว่ามีความเคลื่อนไหวสูงมาก แข่งขันกันหนัก และอายุทางธุรกิจอาจจะสั้น ถ้าไม่มีนวัตกรรมใหม่รอดยาก เหมือนกับบริษัทแบล็คเบอร์รี่หรือยาฮู ซึ่งจะต้องดิ้นรนหาซีอีโอแข็ง ๆ เพื่อฟื้นฟูกิจการเพื่อให้อยู่รอด ในวงการบริหารธุรกิจ ก็ต้องยอมรับกันเลยว่าเมื่อแม่ทัพจะคิดทำการใหญ่ จะทำสิ่งไหนให้ได้ กองทัพทรัพยากรมนุษย์สำคัญที่สุด หลังจากสร้างวิสัยทัศน์และการวางยุทธศาสตร์และแผนจนถึงเข้าสู่ชัยชนะเสร็จ ไมโครซอฟท์หลังจากสตีฟ บอลเบอร์ จะเกษียณและหาซีอีโอใหม่แทนที่จะให้ซีอีโอใหม่จัดกำลังกองทัพเอง ก็เลยมีความคิดที่จะยกเครื่องระบบการจ้างงานใหม่หมด ซึ่งเดิมก็จะต้องยอมรับกันว่าอิทธิพลของความคิดระบบการจ้างงานในโลกตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งสะสมมายังปัจจุบันแนวคิดแบบ แจ็ค เวลซ์ เจ้าพ่อที่เข้าไปฟื้นฟูกิจการจีอี เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกจนเป็นตำนานนั้น มักจะถูกนำมาใช้ในบริษัทขนาดใหญ่เกือบทั่วทั้งโลกตะวันตก โดยเฉพาะแนวคิดระบบ 20-70-10 คือคนเก่งในบริษัท 20% ถือเป็นเกรดเอ จะได้รับค่าตอบแทน และการเลื่อนขั้นเร็วมาก ส่วน 70% ถือว่าเลี้ยงไปให้อยู่ได้ตามสภาพเงินเดือนและรายได้ของบริษัท ส่วน 10% ถ้าเข้ากับวัฒนธรรมการเพิ่มประสิทธิภาพสูงไม่ได้ก็ต้องเลิกจ้าง ทั้งหมดข้างต้นนี้ไมโครซอฟท์ยกเลิก ส่วนระบบใหม่ที่จะประกาศออกใช้ยังไม่ยอมเปิดเผย แต่แนวคิดคร่าว ๆ มี 4 ประการด้วยกันซึ่งคล้ายกับทางตะวันออกที่ใช้ ดังนี้ ประการแรก มุ่งเน้นเรื่องการทำงานเป็นทีมและการให้ความร่วมมือ ซึ่งทางไมโครซอฟท์จะมอง 3 มุมด้วยกัน ไม่ใช่ว่าจะต้องทำงานคนเดียวด้วยตนเองให้สำเร็จ แต่จะต้องสามารถที่จะนำความคิดหรือฟังเสียงจากเพื่อนร่วมงานมาใช้ประโยชน์ให้ได้ และจะต้องมุ่งช่วยให้เพื่อนร่วมงานทำงานให้สำเร็จ จุดประสงค์เพื่อจะร่วมกันทำงานให้ได้ตามสำเร็จผล ประการที่สอง การพัฒนาอาชีพและความก้าวหน้าของพนักงานด้วยการสร้างระบบการเชื่อมต่อที่เรียกว่า คอนเน็คท์ (Connects) เพื่อที่จะให้พนักงานตามฝ่ายต่าง ๆ สามารถ ให้ผลงานย้อนกลับและการอภิปราย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยให้พนักงานได้เรียนรู้ในขณะนั้น นำมาผลักดันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สุดยอดออกมา ซึ่งตรงนี้จะต้องมีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาพอสมควรเพื่อให้เกิดผลการทำงานออกมาได้ดี แทนที่จะวัดผลของงานรายปีตามควอเตอร์ตามปฏิทินของบริษัท ปัจจุบันวงจรธุรกิจสั้นลงมาก เพราะฉะนั้นจะต้องทำให้ทีมงานต่าง ๆ ได้ทำงานและสร้างผลงานด้วยอัตราเร่งด้วยตารางเวลาที่ต่าง ๆ กันในแต่ละฝ่าย ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ผลงานออกมาได้ดี ประการที่สาม ยกเลิกการวัดผลงานด้วยระบบ 20-70-10 อีกต่อไป แต่จะมีระบบการให้รางวัล ซึ่งทั้งผู้จัดการและผู้นำมีความยืดหยุ่นในการจัดแบ่งเงินรางวัล ให้ได้ตามความเหมาะสมที่จะทำให้ทีมงานและตัวบุคคลได้รับผลงานสุดยอดเท่าที่พนักงานคนนั้นอยู่กับบริษัท ประการที่สี่ ไม่มีการให้คะแนนแต่จะต้องมองลึกให้เห็นผลงานที่เกิดขึ้นและโอกาสที่จะเติบโตและมีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ ว่ากันจริง ๆ ก็คือมีการผสมผสานกับแนวคิดทางตะวันออกหรือญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boonmark@stamford.edu
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไมโครซอฟท์ยกเครื่องระบบจ้างงาน – โลกาภิวัตน์
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs