ช่วงนี้วงการสตาร์ตอัพ หรือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีหน้าใหม่ของไทยกำลังคึกคัก เมื่อหลายเวทีสตาร์ตอัพที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หรือ โอปเรเตอร์ แต่ละรายเป็นผู้จัดขึ้น เริ่มประกาศผลและนำผลงานทีมผู้ชนะเลิศออกสู่ตลาดแล้ว โครงการทรู อินคิวบ์ (True Incube) ของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือเป็นหลักสูตรบ่มเพาะผู้ประกอบการไทยด้านเทคโนโลยี ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่ฝันจะสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและเกิดขึ้นได้จริง ก็เป็นหนึ่งในเวทีที่ได้แนะนำผลงานของ 5 ทีม ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของโครงการรุ่นที่ 2 ต่อนักลงทุนชั้นนำของโลกเช่นกัน นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้อำนวยการบริหาร ทรู อินคิวบ์ กล่าวว่า หลังจาก 5 ทีม เข้าบูทแคมป์ 90 วัน จนสามารถผลิตและพัฒนาผลงานออกมาได้จริงและพร้อมที่จะนำออกสู่ตลาด จึงได้มีการจัด เดโม เดย์ แนะนำผลงานให้นักลงทุนมากกว่า 15 ราย จากทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไทย ฯลฯ ซึ่งมี 3-4 ทีมที่เริ่มได้รับเงินทุนจากกลุ่มนักลงทุนแล้ว และมี 2 ทีม ที่นำผลงานออกสู่ตลาดและเริ่มมีรายได้กลับเข้ามาแล้ว “ต่อจากนี้ไปหลังจากเสร็จสิ้นการแนะนำผลงานกับกลุ่มนักลงทุนแล้ว ทางทรู จะให้การสนับสนุนเงินทุนตั้งต้น และเข้าไปแนะนำการดำเนินธุรกิจของแต่ละทีม การหารายได้ รูปแบบธุรกิจ รวมถึงการแนะนำผลงานเข้าสู่ตลาด พร้อมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผลงานเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น” สำหรับผลงาน 5 ทีม ประกอบด้วย คอร์ส สแควร์ (Course Square) เป็นศูนย์กลางระหว่างผู้เรียนและผู้สอนออนไลน์ของประเทศ ไทย โดย นายอัคคสิทธิ์ ตรุงกานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งคอร์ส สแควร์ กล่าวว่า ผลงานเป็นเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางรวบรวมคอร์สเรียนออนไลน์ ที่เปิดให้สถาบันและผู้สอนต่าง ๆ นำหลักสูตร หรือคอร์สการเรียนออนไลน์มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจเรียน และสามารถเก็บค่าเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยขณะนี้มี 15 สถาบัน ที่นำ คอร์สการเรียนเข้ามาร่วมมากกว่า 340 บท เนื้อหามีทั้งเรื่องการลงทุน ไอที คอมพิวเตอร์ และวิชาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีผู้ลงทะเบียนเรียนแล้วกว่า 100 คน “สถาบันต่าง ๆ สนใจนำคอร์สการเรียนเข้าร่วมเพราะถือเป็นช่องทางที่เพิ่มรายได้ ขณะที่ผู้เรียนเข้ามาที่เดียวสามารถหาคอร์สที่สนใจได้ครบถ้วนและยังสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา สำหรับรูปแบบธุรกิจทางทีมจะมีรายได้มาจากส่วนแบ่งค่าเรียนของคอร์สนั้น ๆ อนาคตมีแผนจะพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือด้วย” สำหรับผลงานทีมที่ 2 คือ แฮงก์สเตอร์ (Hankster) ซึ่งเป็นบริการนัดแฮงก์เอาต์แห่งเดียวในไทย ซึ่งก็ได้รับความสนใจจาก อุ๊คบี และเอ็ม 8 ให้เงินลงทุนร่วมกับทางทรูแล้วกว่า 1 ล้านบาท โดยนายศิขริน ชลประทิน ผู้ร่วมก่อตั้ง กล่าวว่า บริการของ แฮงก์สเตอร์ มีทั้งแพลต ฟอร์มที่เป็นเว็บไซต์และโมบายแอพพลิเคชั่น โดยจะเป็นตัวกลางนัดแฮงก์เอาต์จับคู่เป็นกลุ่มชาย 3 หญิง 3 เพื่อไปเจอกันตามร้านอาหารและบาร์ต่าง ๆ พร้อมมอบส่วนลดในการใช้บริการ โดยหลังจากเปิดให้บริการ 2 เดือน มีผู้ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 1,000 คน และเกิดการจับคู่แล้วมากกว่า 25 ครั้ง “บริการของแฮงสเตอร์ คล้าย ๆ เป็นการซื้อดีลร้านอาหาร เพื่อจะได้ไปพบเพื่อนใหม่ โดยจะคิดว่าบริการ 500 บาท ต่อคน และจะได้เครื่องดื่ม 1 ดริ๊งค์ และทางบริษัทจะจับคู่กลุ่มคนที่มีความชอบเหมือนกันให้ได้เลือก พร้อมกับติดต่อจองโต๊ะร้านอาหารให้ตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ ขณะนี้มีร้านที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 10 ร้านอยู่ตามโซนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ที่คนนิยมไปแฮงก์เอาต์กัน อนาคตเตรียมขยายไปในต่างจังหวัดด้วย” ขณะที่ผลงานทีมที่ 3 คือ เว็ตไซต์ (Vetside) เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กสำหรับสัตวแพทย์ แห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย นสพ.ธนพัฒน์ สุขวิสุทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง กล่าวว่า ให้บริการในแพลตฟอร์มเว็บไซต์ (www.vetside.net) แต่ในเร็ว ๆ นี้เพิ่มในรูปแบบแอพพลิเคชั่น โดยผู้ที่เข้ามาใช้งานต้องเป็นสัตวแพทย์และลงทะเบียนยืนยันตัวตน ขณะนี้มีสัตวแพทย์เข้ามาลงทะเบียนใช้งานแล้ว 700 คน จากสัตวแพทย์ในประเทศไทยทั้งหมด 7,000 คน โดยต้องการให้เป็นสังคมออนไลน์ที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลในการรักษาสัตว์ประเภทต่าง ๆ โดยสัตวแพทย์ที่ลงทะเบียนสามารถเข้ามาแชร์กรณีศึกษาและวิธีการรักษาให้กับคนอื่น ๆ ได้ เนื่องจากแต่ละคนก็มีความเชี่ยวชาญในการรักษาสัตว์ที่ต่างกัน ซึ่งปัจจุบันมีเคสแปลก ๆ ในการรักษามากมาย เช่น การผ่าตัดงูที่กินขวดยาคูลท์เข้าไป ซึ่งสัตว์แพทย์ที่ทำการผ่าตัดก็เข้ามาแชร์วิธีและรูปภาพการรักษา ซึ่งงูตัวนั้นก็สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ฯลฯ “รูปแบบธุรกิจและรายได้ จะมาจากโฆษณายาและเวชภัณฑ์ที่ใช้รักษาสัตว์ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 24,000 ล้านบาทต่อปี แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถโฆษณาได้ตามสื่อต่าง ๆ เนื่องจากติดข้อจำกัดทางกฎหมาย ซึ่งขณะนี้เริ่มมีบริษัทยาติดต่อเข้ามาเพื่อสนับสนุนโฆษณาแล้ว ซึ่งสามารถทำได้เนื่องจากเป็นระบบปิด” นอกจากนี้ยังมี 2 ทีม ที่มีผลงานน่าสนใจไม่แพ้กัน คือ โฮลา (Hola) ที่เป็นแชต แอพพลิเคชั่นบนแผนที่ ซึ่งสามารถแชตกับเพื่อนบนแผนที่ได้ และสามารถรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในพื้นที่บริเวณเดียวกันได้ และยังสร้าง อวาตาร (avatar) และตกแต่งเพื่อใช้แทนตัวตนของผู้เล่น เป็นการสร้างโลกเสมือนจริงบนสมาร์ทโฟน โดยเปิดให้ดาวน์โหลดแล้วในระบบปฏิบัติการณ์ไอโอเอส และแอนดรอยด์ และมียอดผู้ใช้งานแล้วมากกว่า 2,000 คน มีการซื้อของบนแอพพลิเคชั่นแล้วมากว่า 33,000 รายการ โดยโฮลา ก็ได้รับความสนใจจากกลุ่ม 500 สตาร์ตอัพให้เงินลงทุนเรียบร้อยแล้ว ส่วนผลงานสุดท้าย คือ ทีม Puun ที่ได้รับเงินลงทุนจากกลุ่ม เอ็ม 8 แล้วเช่นกัน โดยเป็นโซลูชั่นระบบจัดการข้อมูลทางบัญชีที่ช่วยแปลงข้อมูลตัวเลขที่เข้าใจยากและน่าเบื่อให้เป็นข้อมูลเชิงกราฟิก พร้อมระบบหลังบ้าน เพื่อสามารถติดต่อลูกค้าและติดตามผล ขณะนี้ได้เป็นพันธมิตรกับสำนักงานบัญชี 10 ราย และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งสำนักงานบัญชีทั้ง 10 ราย มีฐานลูกค้ารวมกันมากกว่า 1,000 บริษัท ถือเป็นผลงาน 5 ทีมสุดท้ายที่ได้รับการผลักดันให้พัฒนาออกสู่ตลาดจริง ๆ จากนี้คงต้องรอวัดผลความสำเร็จในไทยและตลาดโลกต่อไป. จิราวัฒน์ จารุพันธ์ JirawatJ@dailynews.co.th
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ทรู อินคิวบ์ รุ่น 2’ ดันผลงานออกสู่ตลาดจริง – ฉลาดสุดๆ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs