หากจะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ของประเทศได้นั้น การปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ ถือเป็นสิ่งสำคัญจากแนวคิดนี้ทำให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)ได้จัดทำโครงการ KMITL INNOVATIVE AWARDS ครั้งที่ 3 ประจำปี 2557 ภายใต้แนวคิด “รากฐานนวัตกรรมสร้างชาติ : THE NATION OF INNOVATION”เพื่อเป็นเวทีแสดงให้เห็นถึงพลังทางความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ ความคิด และจินตนาการ อย่างสร้างสรรค์ ของเด็กไทย ในการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ซึ่งโครงการนี้ได้คัดเลือกเยาวชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปี มีนักเรียนทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 90 ทีม คัดเลือกเหลือเพียง 10 ทีม และสุดท้ายได้ประกาศผลทีมผู้ชนะในโครงการฯโดย “ทีมสารวิทยา” จาก โรงเรียนสารวิทยา ผู้พัฒนาผลงาน รถไฟฟ้า PRIDE ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทีม LOOM โรงเรียนแม่จะเราวิทยาคม กับผลงาน ซุปเปอร์กี่ทอผ้า ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ ทีม The First โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา กับผลงานนวัตกรรมช่วยผสมเกสรดอกปาล์มน้ำมัน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2สำหรับ รถไฟฟ้า “PRIDE” นวัตกรรมจากของเหลือใช้ที่ประหยัดและปลอดภัยไร้มลพิษ ที่คว้ารางวัลชนะเลิศนี้ เป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้าเพื่อใช้งานแทนการใช้น้ำมัน นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังมีความปลอดภัยกว่าการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันหรือก๊าซที่เป็นอันตราย อีกทั้งยังไร้มลพิษ ไม่มีเสียงรบกวน และยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันดิบส่วนผลงาน “ซุปเปอร์กี่ทอผ้า เครื่องมือทันสมัยผู้พิการขาทอผ้าได้อย่างมั่นใจ เพิ่มแรงงานฝีมือโอทอปไทย” เป็นการนำเอารูปแบบหลักการทำงานหัตถกรรมทอผ้าที่มีลวดลายบนเนื้อผ้าเรียบ เนียนสวยของกี่ทอผ้าพื้นเมืองชาวเขา และการทอผ้าของคนพื้นเมืองชาวไทยพื้นราบที่มีไม้ตีนย่ำโดยทั่ว ๆ ไป มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้พิการขาและบุคคลทั่วไป ทอผ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับกี่ทอผ้าทั่วไปและผลงานนวัตกรรมช่วยผสมเกสรดอกปาล์มน้ำมัน “ติดเกสรง่ายขึ้นสะดวกมากขึ้นผลผลิตมากตาม” เป็นการประดิษฐ์อุปกรณ์ล่อด้วงงวงปาล์มน้ำมันช่วยผสมเกสรตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากเกษตรกรไทยปลูกปาล์มกว่า 1.28 แสนครัวเรือน แต่มีรายได้ต่ำ เพราะปาล์มน้ำมันติดผลน้อย ซึ่งเกิดจากโครงสร้างของปาล์มน้ำมันไม่เอื้อต่อการผสมเกสรโดยธรรมชาตินายพัชรพล สถาพร ตัวแทนทีมสารวิทยา ที่ชนะเลิศในโครงการฯ บอกว่า ส่งผลงานนวัตกรรม รถไฟฟ้า PRIDE เข้าประกวด เพราะเห็นว่า ปัจจุบันน้ำมันมีราคาแพงและมีแนวโน้มจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะมีพลังงานทดแทนแต่ราคาก็ต่างกันเล็กน้อย จึงคิดใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้าเพื่อใช้งานแทนการใช้น้ำมันนอกจากรถไฟฟ้าคันนี้จะช่วยประหยัดน้ำมันแล้ว ยังมีความปลอดภัยกว่าการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน และที่สำคัญยังไร้มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีเสียงรบกวนและเขม่าควันการได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการครั้งนี้รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่สามารถแสดงให้สังคมได้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนไทย ผ่านนวัตกรรมที่สามารถตอบแทนและช่วยเหลือประเทศได้.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘รถไฟฟ้าจากของเหลือใช้’นวัตกรรมเด็กไทย – ฉลาดสุดๆ

Posts related