เปรียบเสมือนโนเบลเมืองไทย ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ไทย ในการประกาศรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ที่มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเป็นปีที่ 32 ปีนี้คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ “ศ.ดร.ธวัชชัย ตันฑุลานิ” และ “ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์” 2 นักวิจัยด้านเคมี จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2557 โดย ศ.ดร.ธวัชชัย ถือเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้าน “เคมีซุปราโมเลกุลหรือเคมีของโฮสต์-เกสต์” ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเคมีซุปราโมเลกุลได้รับความสนใจจากวงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งด้านการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเซ็นเซอร์ตรวจวินิจฉัยโรคและด้านสิ่งแวดล้อม ศ.ดร.ธวัชชัย บอกถึงงานวิจัยที่ทำว่า เป็นการศึกษาอันตรกิริยาของโมเลกุลที่ทำหน้าที่เป็นโฮสต์ตัวเจ้าบ้านหรือตัวรองรับเกสต์ ซึ่งเป็นแขกที่มาเยือนที่อาจจะเป็นไอออนหรือโมเลกุลอินทรีย์งานวิจัยเริ่มแรกเป็นการวิจัยสังเคราะห์โมเลกุลตัวรับที่มีประสิทธิภาพในการเกิดอันตรกิริยากับไอออนหรือโมเลกุลอย่างมีความจำเพาะเจาะจง ซึ่งทำให้เกิดองค์ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่การประยุกต์ใช้งานด้านเซ็นเซอร์สำหรับไอออนและโมเลกุล เพื่อใช้ในการตรวจวัดปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับน้ำที่ใช้ในการเกษตร และการตรวจวัดปริมาณของโลหะโซเดียมในเลือดเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ด้าน ศ.ดร.ธีรยุทธ เป็นผู้มีผลงานวิจัยดีเด่นด้าน “เคมีอินทรีย์” ซึ่งได้ทำงานวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สารอินทรีย์ เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ เช่น สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่นำไปสู่การพัฒนายารักษาโรค และสารเลียนแบบสารพันธุกรรมที่เรียกว่าเพปไทด์นิวคลีอิกแอซิด หรือพีเอ็นเอ ศ.ดร.ธีรยุทธ บอกถึงงานวิจัยที่ทำว่า เป็นการใช้ความรู้ด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ เพื่อสร้างสารชนิดใหม่ ๆ ที่สามารถควบคุมคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ อย่างเช่น การสร้างสารเลียนแบบสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอที่เรียกว่า พีเอ็นเอ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค หรือการออกแบบและพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สารยับยั้ง “เอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลตรีดักเทศ” ของเชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ฟอลซิพารัม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนายาต้านเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยา ที่ร่วมกับไบโอเทคหรือศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นทั้งสองท่านต่างมีผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และได้รับรางวัลต่าง ๆ มาแล้วมากมาย รวมถึงเคยได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ มาแล้วทั้งคู่สอดคล้องกับแนวการปฏิรูปวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ บอกว่า หัวใจหลักของการปฏิรูปฯ นอกจากจะต้องเพิ่มงบวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องกับโครงสร้างการพัฒนาประเทศแล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ขึ้นมารองรับนั่นเอง. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : 2นักวิทย์ดีเด่น ‘เคมีซุปราโมเลกุล-เคมีอินทรีย์’ – ฉลาดคิด
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs