วันนี้ (5 สิงหาคม 2557) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพ ฯ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)และเอสซีจีจัดงานประกาศผลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2557ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิฯ จัดให้มีการมอบรางวัลดังกล่าวขึ้นเป็นปีที่32ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้คนไทยตื่นตัวในการสนับสนุนผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตซึ่งปัจจุบันจากผลสำรวจพบว่าไทยมีนักวิจัยประมาณ11 คนต่อประชากร 10,000 คนซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประกอบกับงบประมาณงานวิจัยและพัฒนาจากภาครัฐมีเพียง0.2-0.25 % ของจีดีพีเท่านั้นซึ่งต่ำกว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 5-10 เท่า ส่งผลให้งานวิจัยที่ออกมาสวนทางกับโครงสร้างการพัฒนาประเทศที่ต้องการนักวิจัยในสายงานวิทยาศาสตร์มากเป็นเท่าตัวดังนั้นหากจะต้องปฎิรูปด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวใจหลักก็คือการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างเต็มที่โดยต้องเพิ่มงบด้านนี้ให้ถึง1-2 % ภายใน 4-5 ปีขณะเดียวกันต้องมีการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ขึ้นมารองรับด้วย ทั้งนี้การมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จะเป็นแรงผลักดันอีกช่องทางหนึ่งที่ต้องการขับเคลื่อนงานวิจัยให้มีบทบาทในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศส่งเสริมให้นักวิจัยมีเป้าหมายในการทำงานมากยิ่งขึ้นมีความเป็นเลิศในงานวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพสำหรับ ในปีนี้คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นักวิจัย 2ท่าน ได้รับรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2557” คือ ศ.ดร.ธวัชชัย ตันฑุลานิ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้บุกเบิกงานวิจัยด้าน “เคมีซุปราโมเลกุลหรือเคมีของโฮสต์-เกสต์”นำไปสู่การประยุกต์ด้านเซ็นเซอร์สำหรับไอออนและโมเลกุลเพื่อใช้ในการตรวจวัดปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับน้ำที่ใช้ในการเกษตรและการตรวจวัดปริมาณของโลหะโซเดียมในเลือดเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ และ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้นำความรู้ทางเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ มาผลิตงานวิจัยซึ่งมีสร้างพีเอ็นเอ (PNA ) ซึ่งเป็นสารเลียนแบบดีเอ็นเอ เพื่อรักษาโรคในระดับสารพันธุกรรมศ.ดร.ธีรยุทธ เปิดเผยเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำว่าเป็นการใช้ความรู้ด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ เพื่อสร้างสารชนิดใหม่ ๆที่สามารถควบคุมคุณสมบัติต่าง ๆ ได้อย่างเช่น การสร้างสารเลียนแบบสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอที่เรียกว่าพีเอ็นเอ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคหรือการออกแบบและพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สารยับยั้ง”เอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลตรีดักเทศ”ของเชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ฟอลซิพารัม ซึ่งนำไปสู่พัฒนายาต้านเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยาร่วมกับไบโอเทคหรือศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาตินอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2557 ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 ท่าน คือ ผศ.ดร.ทรงยศ นาคอริยกุล ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผศ.ดร.ธงไทย วิฑูรย์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.ปริญญา การดำริห์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : 2 นักวิจัยเคมี จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิทย์ดีเด่นปีนี้

Posts related