ดร.ศรัณย์  โปษยะจินดารองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  หรือสดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า  เดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่ประเทศทางซีกโลกเหนือได้รับปริมาณแสงจากดวงอาทิตย์นานที่สุดในรอบปีโดยในวันที่ 21 มิถุนายน นี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุดและตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุดทำให้เป็นวันที่กลางวันยาวที่สุดในรอบปีของประเทศทางซีกโลกเหนือภาษาสันสกฤตเรียกว่า “วันครีษมายัน” (ครี-ษะ-มา-ยัน) หรือ SummerSolstice สำหรับประเทศไทยในวันที่21 มิถุนายน 2557 ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเวลาประมาณ05:51 น. และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเวลาประมาณ 18:47 น. ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าเป็นเวลารวมเกือบ13 ชั่วโมง ทั้งนี้คำว่า “Solstice” เป็นภาษาอินโดยูโรเปียน Sticeหมายถึง สถิต หรือ หยุด ดังนั้น Summer Solstice หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่เพราะดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางเหนือเรื่อยๆตั้งแต่เดือนมีนาคมและหยุดที่จุดเหนือสุดในวันที่ 21 มิถุนายน หลังจากนั้นจะค่อยๆเคลื่อนที่ลงมาทางใต้ ในทางฤดูกาลนับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนในซีกโลกเหนือและเริ่มต้นฤดูหนาวในซีกโลกใต้ ดร. ศรัณย์ กล่าวว่า การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรีทำให้โลกมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันตลอดปีช่วงที่ใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร)ช่วงที่ไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร)  การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะใกล้บ้างไกลบ้าง นั้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของใกล้-ไกล ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมากจึงไม่ได้มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใดแต่การที่แกนของโลกเอียง 23.5 องศา เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้ตำแหน่งขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนต่างๆของโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากัน จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ใน 1 ปี เกิดฤดูกาลต่าง ๆ หมายเหตุ   : ที่มาภาพ http://solar.steinbergs.us/solar.html  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : 21 มิ.ย.นี้เป็นวันครีษมายัน กลางวันยาวสุดในรอบปี

Posts related