นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันที่ 28 ก.ค. 57 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีวาระการประชุมพิจารณาเกี่ยวข้องกับร่างประกาศและนโยบายของกสทช. ได้แก่ การสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดำเนินการต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการแบบประยุกต์ประเภทการสำรวจความนิยมในกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. … ทั้งนี้ หลังจากที่กสท.ออกใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีสักระยะหนึ่งแล้ว จากนี้เป็นจุดเริ่มต้นจริงจังของการกำกับดูแลการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการรายใหม่กังวลคือ การวัดเรตติ้ง ที่ผ่านมามีความเห็นแตกต่างเกี่ยวข้องกับร่างฯ ฉบับนี้ อาทิ ร่างฯ นี้จะเป็นเครื่องมือช่วยกำกับบริษัทให้มีความน่าเชื่อถือ หรือจะเป็นการกีดกันกีดกันให้เกิดการผูกขาดในระบบของผู้ทำกลุ่มเดิม รวมถึงประเด็นข้อระวังทางกฎหมาย ว่า กสทช.มีอำนาจหน้าที่มากำกับเอกชนในเรื่องของการวัดเรตติ้งได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี กสทช. ควรมีมาตรการอื่นเพื่อส่งเสริมให้มีการวัดเรตติ้งจากเอกชนรายอื่นๆ ด้วย “ส่วนร่างประกาศฯ ที่ภาคสื่อรอคอย ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. … หลังมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าหลังประกาศใช้จริง จะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นของการส่งเสริมให้สื่อกำกับดูแลกันเองตามกรอบจริยธรรม และยังเป็นการช่วยงาน กสทช. ในการกำกับดูแลสื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น”นางสาว สุภิญญา กล่าว ทั้งนี้ กสท.เตรียมพิจารณาร่างประกาศ เรื่อง การกำหนดลักษณะและมาตรการกำกับดูแลการควบรวมกิจการ การถือหุ้นไขว้ และการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. …. ซึ่งร่างฯนี้จะเป็นการวางแนวทางป้องกันปัญหาในอนาคต หากการดำเนินกิจการเอกชนในระยะหนึ่งประสบปัญหาปัจจัยทางเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดการควบรวมกิจการ ซึ่งตอนนี้เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นมากในต่างประเทศ ถ้าปล่อยให้มีการควบรวมกิจการง่ายเกินไปอาจทำให้เกิดการเอาเปรียบกับผู้ชม ผู้บริโภคที่จะไม่มีทางเลือกที่รับชมอย่างหลากหลายเพราะไม่มีการแข่งขัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ กสท. จะเริ่มออกประกาศฯเพื่อใช้กำกับดูไม่ให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ มีการตรวจสอบแบบสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาฯ ของบริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด รอบ2 โดยผู้บริโภคควรศึกษาสัญญามาตรฐานก่อนเซ็น จากนั้นรักษาสิทธิ์ตนเองที่ระบุไว้ในสัญญา หากพบปัญหา สามารถร้องเรียนได้ที่ กสทช. 1200 ซึ่งเร็วๆนี้ ทาง อนุคุ้มครองผู้บริโภค ฯ จะไปเยี่ยมเพื่อหารือกับทาง ผู้บริหาร CTH หลังจากระยะหลังมีเรื่องร้องเรียนเรื่องสัญญาณ และการบริการเข้ามามาก เหมือนที่เคยไปหารือกับ ผู้บริหาร True Visions ก่อนหน้านี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครอง ผู้บริโภคให้ดีขึ้น อีกทั้้ง ยังมีการพิจารณาวาระผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น/เพิ่มทุนของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ และการรายงานผลการทดลองแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล DVB-T2 ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ตามที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทดลองแพร่ภาพ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสท.เตรียมออกใบอนุญาตวัดเรตติ้ง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs