จากกรณีที่มีการแชร์ภาพและข้อความเหรียญผู้ปกครองพาลูกสาววัย5ขวบ นำเงินเหรียญที่หยอดกระปุกได้กว่า6600บาท ไปฝากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ แต่กลับถูกปฏิเสธว่าตู้เซฟเต็ม ไม่มีที่เก็บ ให้นำไปธนาคารพาณิชย์อื่นที่อยู่ติดกันนั้น ได้สร้างคำถามให้เด็กน้อยไร้เดียงสาว่า "ทำไมเขาไม่รับฝากเงินหนูคะ" จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์และข้อสงสัยในสังคมว่า การรับฝากเหรียญของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันใช้หลักเกณฑ์ใดในการตอบรับหรือปฏิเสธการรับฝาก มีค่าธรรมเนียมการรับฝากอย่างไร และหากธนาคารไม่รับฝากตัวลูกค้าเองจะต้องดำเนินการอย่างไรกับเหรียญที่เหมือนไร้ค่าในปัจจุบันนี้เบื้องต้นจากการสอบถามไปยังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบว่า ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เข้าไปกำกับดูแลเรื่องการรับฝากหรือไม่รับฝากเหรียญกษาปณ์ของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากเป็นการทำข้อตกลงของชมรมธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารจะตั้งหลักเกณฑ์และค่าธรรมเนียมการรับฝากเหรียญกษาปณ์ไว้ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ1ของมูลค่าเหรียญกษาปณ์, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ฝากเงินไม่เกิน 2,000บาท ไม่คิดค่าบริการ หากยอดเงินฝากส่วนที่เกิน2,000บาท คิดร้อยละ1 ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 2 ของมูลค่าที่ฝากหรือแลกเงินทั้งหมดตั้งแต่100 เหรียญขึ้นไป, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ไม่เกิน500เหรียญ ไม่คิดค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 501เหรียญขึ้นไป ร้อยละ1ของมูลค่ารวม, ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ2ของมูลค่ารวม หรือของยอดเงินฝากส่วนที่เกิน100บาท ยอดเงินฝากต่ำกว่า100บาท ไม่คิดค่าบริการ, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ตั้งแต่ 200เหรียญ ขึ้นไปอัตราค่าบริการร้อยละ2ของจำนวนรวมมูลค่าเหรียญขั้นต่ำ20บาททั้งนี้ กฎกระทรวงได้กำหนดจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย กล่าวคือ เหรียญ1สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน5บาท,เหรียญ5, 10, 25, 50สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน10บาท,เหรียญ1บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาท, เหรียญ5 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาทและเหรียญ10บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน1,000บาทหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 1213หากธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการรับฝากเหรียญ สามารถร้องเรียนมายัง ศคง. โดยส่ง Email มาที่ fcc@bot.or.thและระบุข้อมูลดังนี้1. ชื่อ – นามสกุลจริงของผู้ร้องเรียน2. ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง4. รายละเอียดเรื่องร้องเรียน5. เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ หากมีเหรียญเป็นจำนวนมาก สามารถรวบรวมเหรียญดังกล่าวไปแลกคืนได้ที่สำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์ โทร. 0-2280-7404-8ขอบคุณข้อมูลจาก http://www2.bot.or.th/feerate/internal.aspx?PageNo=1,http://www.treasury.go.th/ewt_news.php?nid=93&filename=index
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เหรียญบาทมีค่า! แต่ต้องทำความเข้าใจเรื่องการฝาก
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs