คนส่วนใหญ่เชื่อว่าการที่รัฐบาลอุด หนุนราคาพลังงานในประเทศให้มีราคาถูกนั้นเป็นการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น แน่นอนว่าคำกล่าวนี้เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันเราเคยคิดไหมว่า เงินก้อนใหญ่หรืองบประมาณจำนวนมหาศาลที่รัฐบาลทุ่มลงไปในแต่ละปีจำนวนเป็นแสนล้านบาทนั้น มันไปสู่คนจนที่เราต้องการช่วยเหลือจริง ๆ เท่าไร และเงินส่วนใหญ่มันไปสู่คนกลุ่มไหนในสังคม มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายทั้งในและต่างประเทศ (ทั้งที่มีประเทศไทยเป็นและไม่เป็นกลุ่มตัวอย่าง) ที่เราอาจหยิบยกขึ้นมาพูดถึงได้อยู่สองสามกรณีด้วยกัน กรณีแรก ในปี พ.ศ.2556 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่เรารู้จักกันดี ได้ทำการศึกษาการอุดหนุนราคาพลังงานแบบหน้ากระดาน (Across the Board) คืออุดหนุนหมดทุกคน ในประเทศกำลังพัฒนา 21 ประเทศ (ไม่รวมประเทศไทย) พบว่า เงินที่ใช้ในการอุดหนุนราคาพลังงาน 100% นั้น มีเพียง 3-7% เท่านั้นที่ไปสู่กลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในสังคม (20% ล่างสุดในสังคม) แต่กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในสังคม (20% บนสุดในสังคม) กลับได้รับส่วนแบ่งเงินอุดหนุนนี้ไปถึง 42-61% เลยทีเดียว กรณีที่สอง ทบวงพลังงานสากล (IEA) ได้ทำการศึกษาการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มและน้ำมันดีเซลในประเทศไทย และได้รายงานไว้ในรายงาน Citizen’s guide to Energy Subsidy in Thailand, IISD 2013 ว่า คนจนกลุ่มที่รายได้น้อยที่สุด 20% ได้ประโยชน์จากเม็ดเงินเหล่านี้เพียง 5-6% เท่านั้น ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ องค์กรระดับโลกทั้งสองแห่งวิเคราะห์ไว้ตรงกันว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะ คนรวยนั้นบริโภคพลังงานมากกว่าคนจนทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยคนรวยนั้นมีศักยภาพในการใช้น้ำมันก๊าซ แถมยังมีอำนาจในการซื้อสินค้าที่มีต้นทุนถูกจากการอุดหนุนราคาพลังงานมากกว่าคนจน ซึ่งข้อวิเคราะห์นี้ก็สอดคล้องกับผลการสำรวจของ สนง.สถิติแห่งชาติของไทยที่ระบุว่า ครอบครัวไทยที่มีรายได้สูงบริโภคพลังงานมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ผลการสำรวจระบุว่าครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อเดือน บริโภคพลังงานประมาณ 4,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน ถึงสิบเท่า จากผลการสำรวจและศึกษาข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การอุดหนุนราคาพลังงานแบบหน้ากระดาน คืออุดหนุนเป็นการทั่วไปและได้หมดทุกคนนั้น เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ใช้งบประมาณสูง และเข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลืออย่างแท้จริง ข้อสำคัญเป็นการช่วยเหลือคนรวยมากกว่าคนจน และถ้าเรายังคงใช้วิธีการแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคมให้มากขึ้นไปอีก เพราะคนรวยก็จะยิ่งรวยมากขึ้น ดังนั้นวิธีที่ถูกต้องในการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นก็คือ ตั้งงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือโดยตรงเป็นรายกลุ่ม ใช้เงินน้อยกว่าและได้ผลมากกว่า คนที่มีความสามารถที่จะจ่ายได้ก็ต้องให้เขาจ่ายตามต้นทุนที่แท้จริง ไม่ใช่มาอุ้มกันอยู่อย่างทุกวันนี้ แถมยังเอาคนจน (มอเตอไซค์) มาอุ้มคนรวย (รถเบนซ์) ด้วยซ้ำไป!!!.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อุดหนุนราคาพลังงาน ช่วยคนรวยหรือคนจน – พลังงานรอบทิศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs