นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันวินาศภัยเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้แจ้งให้บริษัทประกันภัยเพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำแบบขั้นบันได เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 58 เป็น 500 ล้านบาท จากปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทควบคู่กับการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงของธุรกิจแต่ละประเภท (อาร์บีซี) โดยปีแรกผู้ประกอบการต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำให้ได้ 100 ล้านบาท หลังจากที่คปภ.ออกประกาศบังคับใช้ในปลายปี 57 ปีที่ 2 ต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำเพิ่มเป็น 200 ล้านบาท ปีที่ 3 เพิ่มเป็น 300 ล้านบาท ปีที่ 5 จะเพิ่มเป็น 500 ล้านบาททั้งนี้จะส่งผลให้เงินกองทุนฯ ของบริษัทประกันภัยไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน ที่ปัจจุบันกำหนดเงินกองทุนขั้นต่ำสูงกว่าไทย เช่น เมียนมาร์ 1,600 ล้านบาท หรือ สิงคโปร์ ปรับปรุงทุกปีตามขนาดของธุรกิจ และทำให้ประกันภัยไทยมีบริษัทขนาดเล็กมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น สำหรับ บริษัทประกันสุขภาพ ให้เพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำจาก 30 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาทภายใน 3 ปีหลังจากประกาศมีผลบังคับใช้ เพราะถือว่าทำธุรกิจเดียว ซึ่งหากบริษัทใดไม่สามารถดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำใหม่ได้ตามที่กำหนดลงโทษตามขั้นตอน คือ ให้หยุดรับประกันภัยชั่วคราวจนกว่าดำเนินการแล้วเสร็จ และถ้ายังไม่ทำตามที่คปภ.กำหนดอาจต้องปิดกิจการ“คปภ.ได้เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว เช่น ควบรวมกิจการ การเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ และการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนผ่านการออกตราสารทางการเงิน สำหรับธุรกิจประกันชีวิต ให้เพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำเป็น 500 ล้านบาทใน 3 ปี จากปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 50 ล้านบาท และ ภายใน 5 ปี ต้องเพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาท แต่ต้องไปหารือกับภาคธุรกิจอีกครั้งว่าจะเพิ่มปีละเท่าไหร่ “นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า การเพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำเป็นการเพิ่มหลักประกันความมั่นคงทางด้านธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและช่วยทำให้ขยายงานในอนาคตมากขึ้น เพราะอัตราที่จัดเก็บในปัจจุบัน 30 ล้านบาทนั้น ทำให้ธุรกิจประกันขยายธุรกิจหรือขยายงานไม่ได้มากนักในช่วงที่ต้นทุนการทำธุรกิจสูงขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าว จะทำให้เงินกองทุนฯของไทยทัดเทียมกับอาเซียน เนื่องจากในหลายประเทศ มีอัตราสูงกว่าไทย“ก่อนหน้านี้คปภ.ต้องการให้ขึ้นครั้งเดียว 300 ล้านบาท ซึ่งสมาคมฯได้เจรจาว่า หากขึ้นในอัตราที่สูงจะเป็นภาระหนักให้กับผู้ประกอบการมากเกินไปจึงขอให้ขึ้นเป็นขั้นบันได เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัยได้ปรับตัวไม่เช่นนั้นจะทำให้บริษัทที่ปรับตัวไม่ทันมีปัญหาเกิดขึ้นได้ในอนาคต”ทั้งนี้ยอมรับว่า การเพิ่มเงินกองทุนฯ จะทำให้บริษัทประกันวินาศภัยที่มีขนาดเล็ก มีการควบรวมกิจการมากขึ้น จากเดิมที่ทำธุรกิจเล็ก ๆ และมีค่าใช้จ่ายสูงอาจต้องหาพันธมิตร เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ส่วนการให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นเพิ่มขึ้น จากเดิมที่อยู่ในอัตรา 25% เป็น 75% นั้น จะต้องแก้ไขกฎหมาย ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา แต่เชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจประกันแข็งแกร่ง และการเพิ่มสัดส่วนต่างชาติเป็นไปตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ(แกตต์) ในปี 63 ขององค์การการค้าโลก(ดับเบิลยูทีโอ)
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สั่งเพิ่มเงินกองทุนประกันภัย500ล้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs