มาตรฐานสินค้า ถือเป็นเรื่องสำคัญก่อนตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า แต่ปัจจุบัน ผู้บริโภคหลายคนกลับละเลยการตรวจสอบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า กลับให้ความสำคัญกับเรื่อง “ราคา” เป็นสำคัญ ทำให้ต้องพบกับเหตุการณ์ เวลาซื้อ…ถูก แต่ถึงเวลาใช้…กลับแพง! เพราะกลายเป็นว่า สินค้าที่นำมาใช้งาน กลับมีอายุการใช้งานที่สั้นมาก เฉลี่ยกับราคาที่ซื้อแล้ว ราคาแพงกระฉูดทันทีเรื่องนี้จึงกลายเป็นบทเรียนสำคัญของชีวิต แต่พอถึงเวลาจริงกลับเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอยู่เสมอ! เพราะทุกครั้งที่ซื้อสินค้าก็ยังอดไม่ได้ที่จะให้ความสำคัญในเรื่องของราคามาเป็นอันดับหนึ่งอยู่เสมอ โดยไม่สนใจในเรื่องของคุณภาพ หรือแม้แต่เรื่องของมาตรฐานสินค้าเรื่องราวของมาตรฐานสินค้า… จะรู้กันได้อย่างไร? ว่า ในบรรดาสินค้าที่วางขายในท้องตลาดอย่างกลาดเกลื่อนหลายยี่ห้อ สินค้าประเภทใดที่ได้คุณภาพ สินค้าประเภทใดที่ไร้คุณภาพ…“อุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร” เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. บอกว่า การซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐานถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้บริโภคต้องใส่ใจ เพราะมีตัวอย่างหลายครั้ง ที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าแล้ว กลับต้องประสบปัญหาสินค้าไม่มีคุณภาพ บางครั้งเกิดอันตรายกับชีวิตมาแล้วก็มี เช่น ซื้อแบตเตอรี่ราคาถูก แต่พอใช้ไปสักระยะแบตเตอรี่ระเบิด ทำให้ผู้บริโภคต้องบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหายกับการใช้สินค้าที่ไร้คุณภาพสังเกตเครื่องหมาย มอก. ดังนั้นสิ่งสำคัญก่อนเลือกซื้อสินค้า ผู้บริโภคจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. เป็นสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยการันตีคุณภาพสินค้าได้เป็นอย่างดี เพราะกว่าผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสินค้าแต่ละประเภท จะได้เครื่องหมาย มอก. จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนคุณภาพสินค้าอย่างเข้มงวด โดยปัจจุบันเครื่องหมาย มอก. แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมายมาตรฐานตามความสมัครใจของผู้ประกอบการ หากผู้ประกอบการรายใดทำเรื่องขอมา ก็สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า ผู้ประกอบการสินค้าประเภทนั้นเป็นผู้แสดงความจริงใจกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง และในเวลานี้ สมอ.ได้ให้เครื่องหมาย มอก.ประเภททั่วไปนี้ไปแล้ว 2,842 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม อุปกรณ์กีฬา ปากกา ดินสอ น้ำยาล้างจานส่วนประเภทที่ 2 คือ เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายที่กฎหมายกำหนด ต้องแสดงมาตรฐาน และบังคับให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย จะต้องนำเข้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น โดย สมอ. จะไปตรวจตั้งแต่ต้นทางโรงงานผู้ผลิต จนถึงผู้จัดจำหน่าย หากผู้ประกอบการผู้ผลิตรายใดไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิดตามกฎหมาย ทั้งจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000–50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้มาตรฐานประเภทบังคับนี้ ได้กำหนดไปแล้ว 100 มอก. เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก หมวกกันน็อก เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าว ตู้เย็น กระทะไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำร้อน ซึ่งหากผู้บริโภคต้องการดูรายละเอียดทั้งหมดให้เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ www.tisi.go.th สร้างเครือข่ายติดตาม เลขาธิการ สมอ. ยังบอกอีกว่า แม้เครื่องหมายการันตีคุณภาพสินค้า จะมีความสำคัญ แต่ระยะหลังผู้บริโภคอาจละเลยการตรวจสอบไปบ้าง ทาง สมอ. จึงได้หาแนวทางในการกระตุ้นจิตสำนึกทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคในการใส่ใจเครื่องหมายการันตีคุณภาพสินค้า เพื่อเป็นประโยชน์กับทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการอย่างทั่วถึง แต่ปัจจุบัน สมอ. มีเจ้าหน้าที่รวมกันเพียง 400 กว่าคน จะให้ออกตรวจสอบสินค้าทั่วประเทศ กำลังคนจึงไม่เพียงพอ สมอ. จึงได้สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานเผยแพร่ความรู้นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ให้ความรู้ความสำคัญของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในทั่วประเทศ เริ่มจากอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ 76 แห่ง ในการออกตรวจสอบสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มีอำนาจตักเตือน และลงโทษได้ รวมทั้งอบรมเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ ซึ่งตรงจุดนี้… ถือว่ามีส่วนสำคัญมาก เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับคนในพื้นที่ หากถ่ายทอดให้คนกลุ่มนี้ได้เห็นความสำคัญของมาตรฐาน มอก. หากเป็นที่เข้าใจตรงกันแล้วก็เชื่อว่าจะมีการถ่ายทอดต่อให้ชาวบ้านในท้องถิ่นได้รับรู้ และช่วยตรวจสอบอย่างทั่วถึง’ขณะนี้ สมอ.อบรมเครือข่ายไปแล้วหลายพันคนทั่วประเทศ และจะเดินหน้าต่อไปต่อเนื่อง และเตรียมกระตุ้นตามสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สร้างจิตสำนึกในการรับรู้ถึงประโยชน์ให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิต จะให้ความสำคัญในการเข้ามาขอมาตรฐานทั่วไปมากขึ้น สุดท้ายผู้บริโภคก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดในการได้สินค้าที่มีคุณภาพ” สินค้าที่มีคุณภาพอุฤทธิ์ บอกว่า สำหรับสิ่งที่ต้องปลูกจิตสำนึกผู้บริโภค คือ ให้รับรู้ถึงประโยชน์ในการเลือกซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมาย มอก. ว่า จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้รับความเป็นธรรม ขณะที่ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตสินค้า สามารถยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และการจำหน่ายสินค้า เพิ่มโอกาสทางการค้าได้มากขึ้น เพราะเครื่องหมาย มอก. ได้รับการยอมรับในระดับสากล และหลายหน่วยงานกำหนดในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างว่า สินค้าที่นำมาเสนอต้องได้รับ มอก.ที่สำคัญในอนาคตต่อไปเครื่องหมาย มอก.จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเปิดตลาดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58  ที่ชาติสมาชิกต้องยอมรับในมาตรฐานสินค้าของกันและกัน  โดยเวลานี้มาตรฐาน มอก.ของไทย ต่างเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอยู่แล้ว คงเหลืออยู่อีกเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ขณะเดียวกันการส่งออกไปในอาเซียน ก็ไม่ต้องขออนุญาตระหว่างประเทศอีก ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้แน่นอน ส่วนประเทศชาติ จะได้ประโยชน์จากการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาห กรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำเข้ามาจำหน่ายซึ่งการตรวจสอบคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่า ถ้า 3 ฝ่ายให้ความสำคัญกับหน้าที่ของตัวเองอย่างเคร่งครัด ทุกคนในชาติจะมีความสุขอย่างแน่นอน!.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สมอ.สร้างเครือข่ายทั่วปท. สวมบทมือปราบสินค้าห่วย

Posts related