นาวาอากาศตรีพงศภีระ ไพศาลกุลวงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายความปลอดภัย ความมั่นคง และมาตรฐานการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีเกิดเหตุเที่ยวบินที่ ทีจี 476 เส้นทาง ซิดนีย์ – กรุงเทพฯ เครื่องบินแบบโบอิ้ง 747 ซิดนีย์-กรุงเทพฯ เกิดร่อนลงฉุกเฉินหลังพบว่า กระจกด้านขวาในห้องนักบินมีรอยร้าวว่า เที่ยวบินดังกล่าวออกจากเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 12 ส.ค.57 เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) และบรรทุกผู้โดยสาร 273 คน นักบินและลูกเรืออีก 21 คน แต่ขณะทำการบินมุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ 6 ชั่วโมง กัปตันพบว่า กระจกด้านขวาในห้องนักบินมีรอยร้าว ดังนั้นจึงประสานงานกับหน่วยงานภาคพื้นดิน เพื่อขอนำเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยานเดนปาซาร์ บาหลี ประเทศอินโดนีเซียฉุกเฉิน เมื่อเวลา 16.52 น. (เวลาท้องถิ่น) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่ใกล้ที่สุด โดยได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลความปลอดภัยของผู้โดยสารอย่างเคร่งครัด และมีการดูแลผู้โดยสารเป็นอย่างดี นำเข้าพักที่โรงแรมในบาหลีเรียบร้อยแล้ว และในวันที่ 13 ส.ค. 57 การบินไทยจะนำผู้โดยสารในเที่ยวบินดังกล่าวเดินทางกลับมายัง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยเครื่องบินลำใหม่ในเที่ยวบิน ทีจี 476 เส้นทาง ซิดนีย์ – บาหลี – กรุงเทพฯ คาดจะถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 20.10 น. ในวันที่ 13 ส.ค. 57 รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมาเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิไปเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ก็ยังพบปัญหากระจกร้าว จนต้องมีการเปลี่ยนเครื่องบินใหม่ ทางพล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในเบื้องต้นสั่งการให้ร้อยโทอธิศักดิ์ พัดชื่นใจ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ กลับไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไขปัญหาให้ตนรับทราบภายในต้นสัปดาห์หน้า “หากภายหลังตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่ากระจกเครื่องบินร้าว เนื่องจากเครื่องเก่า ตามที่มีผู้โพสต์เฟซบุ๊กจริง การบินไทยจะต้องเร่งแก้ไข รวมทั้งต้องกลับไปทบทวนการ นำเครื่องขึ้นบินในเส้นทางการบินระยะไกลใหม่ทั้งหมด หากต้องบินในระยะไกลที่มีเพดานบินสูงนั้นอาจต้องนำเครื่องใหม่มาทำการบินแทน เพื่อเพิ่มความปลอดภัย” ร้อยโทอธิศักดิ์พัดชื่นใจ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการกล่าวว่าจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าปัญหากระจกร้าวจากทั้ง 2 เที่ยวบินเกิดขึ้นกับกระจกบริเวณด้านขวาห้องนักบิน ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากระบบทำความร้อน(ฮีทเตอร์) ที่ติดตั้งไว้ในกระจก ทำให้อุณหภูมิภายในกับภายนอกไม่สมดุลกันจนทำให้เกิดรอยร้าวขึ้น “ปกติกระจกบริเวณกระจกห้องนักบินจะมีการคติดตั้งฮีตเตอร์เพื่อหล่อเลี้ยงความร้อนให้กระจกตลอดเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะหรือเกิดฝ้า เวลาที่บินอยู่ระดับสูงที่บรรยากาศภายนอกมักจะติดลบต่ำกว่าจุดเยือกแข็งประมาณ ลบ 40-50 องศา แต่เมื่อฮีตเตอร์ทำงานผิดพลาดก็อาจเกิดปัญหากระจกร้าวขึ้นได้ แต่ที่ผ่านมาเราพบปัญหาลักษณะนี้น้อยมากซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาที่น่ากลัวอะไร เพราะรอยร้าวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นกับกระจกบริเวณชั้นนอกสุด ซึ่งกระจกห้องนักบินมีความหนานถึง 7 ชั้น หรือหนาประมาณ 2นิ้วแต่เพื่อความปลอดภัยนักบินส่วนใหญ่จะขอลงจอดฉุกเฉินเพื่อทำการซ่อมแซมก่อนทำการบินใหม่แต่ยืนยันว่าไม่ได้เกิดปัญหาจากมาตรฐานเที่ยวบิน หรือเครื่องเก่าเพราะเพิ่งใช้มา10 ปี”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : บินไทยชี้แจงกระจกห้องนักบินร้าว
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs