สองสัปดาห์มาแล้วที่ราคาน้ำมันเบนซินที่ตลาดสิงคโปร์ลดลง 5.60 $/บาร์เรล (ประมาณ 1.80 บาท/ลิตร) แต่ราคาขายปลีกบ้านเราลดลงเพียง 30 ส.ต. (เฉพาะแก๊สโซฮอล์) ทั้งนี้เพราะคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติให้เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเพิ่ม โดยในส่วนของเบนซินเพิ่ม 1.60 บาท/ลิตร และแก๊สโซฮอล์เพิ่ม 1.30 บาท/ลิตร เพื่อเอาไปช่วยลดภาระกองทุนน้ำมันฯที่ติดลบอยู่เกือบ 9,000 ล้านบาท มาตรการดังกล่าวถือเป็นมาตรการที่ทำกันมาโดยตลอดระยะเวลายาวนานเป็นสิบปี จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนคุ้นเคยกันเสียแล้ว และผู้ใช้น้ำมันก็ก้มหน้าก้มตาใช้น้ำมันกันไป และยอมรับกับมาตรการดังกล่าวโดยไม่มีเสียงบ่นว่าแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับไปตำหนิว่ากล่าวปตท.เสียอีกว่าเป็นต้นเหตุทำให้น้ำมันแพง (ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว ตัวการที่ทำให้น้ำมันมีราคาแพง ก็คือภาษีสรรพสามิตกับเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ) สิ่งที่เกิดขึ้นในสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมของความบิดเบี้ยวและความไม่เป็นธรรมของโครงสร้างราคาพลังงานในบ้านเราที่มีมาเป็นเวลานานนับสิบปี คือ แทนที่ผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลงลิตรละ 1.60-1.30 บาท ตามกลไกราคาแท้จริง กลับพบว่า ผู้ใช้น้ำมันไม่ได้รับประโยชน์นั้น โดยรัฐไปเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯแทน คำถามก็คือผู้รับประโยชน์จากกองทุนน้ำมันฯคือใคร ซึ่งคำตอบที่ชัดเจนที่สุดก็คือผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีนั่นเอง เพราะค่าใช้จ่ายหลักของกองทุนน้ำมันฯก็คือภาระการอุดหนุนราคานำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศปีละกว่า 30,000 ล้านบาท การปรับอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯล่าสุดมีผลให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซิน 95 ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯถึงลิตรละ 11.60 บาท เมื่อรวมภาษีสรรพสามิตบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 11.14 บาท/ลิตร เท่ากับผู้บริโภคต้องจ่ายค่าภาษีบวกกองทุนฯสูงถึง 22.74 บาท/ลิตร หรือเท่ากับ 47% ของราคาขายปลีกทีเดียว ซึ่งแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ล้วนต้องจ่ายในอัตราสูงเช่นเดียวกัน ( 14.41 และ 12.15 บาท/ลิตร ตามลำดับ) ในขณะที่ผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์ได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันฯถึงลิตรละ 2-3 บาท ทำให้สามารถใช้ก๊าซแอลพีจีได้ในราคาถูกเพียงลิตรละ 12.70-13.00 บาท เท่านั้น จึงทำให้มีผู้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์เพิ่มขึ้นในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จนมีปริมาณสูงถึง 1.9 ล้านตันปี พอ ๆ กับการนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศ ทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากนโยบายบิดเบือนราคาจากภาครัฐนั่นเอง ในอดีตเราอาจจำยอมต้องยอมรับกับสภาพเช่นนี้ เพราะรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง และพยายามใช้นโยบายประชานิยมเพื่อดึงคะแนนเสียงจากประชาชน โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเป็นธรรม และผลประโยชน์ของชาติในระยะยาว แต่ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการปฏิรูป ผมอยากให้กำลังใจคสช.ให้มีความกล้าที่จะปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงานที่ต้นตอของปัญหา ในเมื่อเห็นกันอยู่แล้วว่าปัญหาของกองทุนน้ำมันที่ติดลบมันเกิดจากอะไร ก็ควรไปแก้กันที่ตรงนั้น ไม่ควรมาล้วงกระเป๋าคนใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ไปแก้ปัญหาให้กับคนใช้ก๊าซแต่อย่างใด ยุคนี้เป็นยุคคืนความสุขให้กับประชาชน ผมอยากให้คสช.ลองคิดดูนะครับว่าจะคืนความสุขให้ใครดี ระหว่างคนใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 24.4 ล้านคัน (20.1 ล้านคัน เป็นรถมอเตอร์ไซค์) หรือคนใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์ 1.2 ล้านคัน !!!.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คนใช้น้ำมันรับภาระนานเท่าไร? – พลังงานรอบทิศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs