นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า ขณะนี้ผ้าไหมไทย ได้พัฒนาเป็นที่ต้องการในระดับสากลมากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง เช่น ลดความมันของเนื้อผ้า เพิ่มมิติของลายผ้าให้มีความนูน ขึ้น โดยล่าสุดทางแบรนด์เสื้อผ้าดังๆ ระดับโลก มีความสนใจตัวอย่างผ้าไหมไทยไปแล้ว เช่น แบรนด์อมานี่ , ราล์ฟ ลอเรน และประเทศญี่ปุ่น ก็มีความต้องการผ้าไหมไทย เพื่อไปผลิตผ้าห่ม ซึ่งเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นอย่างมาก“ถ้าพูดถึงผ้าไหม ต่างชาติมีความชื่นชอบ ผ้าไหมของไทยอย่างมาก เทียบแล้วมากกว่าผ้าไหมของประเทศจีน และอินเดียว เพราะผ้าไหมไทยมีความละเอียด นุ่ม ลวดลายสวย กว่า และตอนนี้ก็มีแผนพัฒนาอย่างต่อนื่อง โดยทางสถาบันติดตามกระแสเทรนด์โลกอย่างต่อเนื่องว่า แต่ละปี แต่ละยุค โลกมีความต้องการผ้าชนิดแบบไหน สีเฉดอะไร เพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าได้อย่างต่อเนื่อง ”ส่วนผลิตภัณฑ์โอทอป ประเภทผ้า และเครื่องแต่งกายนั้น เป็นที่สนใจของตลาดต่างประเทศเช่นกัน แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน ทำให้การผลิตเน้นแต่รูปแบบ ไม่มีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ควบคู่กันด้วย จึงส่งผลให้มีปัญหาด้านคุณภาพการใช้งาน เช่น สีตก ผ้าหด โดยที่ผ่านมาทางสถาบันฯ ได้ช่วยเหลือ สนับสนุนนพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปของผู้ประอบการอย่างครบวงจร เช่น ตั้งแต่การออกแบบ เทรนด์สี วิจัยพัฒนาวัสดุเส้นใย ซึ่งเชื่อว่า ในอนาคตผู้ประกอบการสินค้าโอทอป จพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอป ให้ได้มาตรฐานส่งออกได้อย่างต่อเนื่องนางศิริรัตน์ จิตต์เสรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า กรมฯ ได้ร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดโครงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณพ์และเครื่องแต่งกายโอทอป กระบวนการผลิต และทดสอบตลาดการพัฒนา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอป ในกลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มสินค้าโอทอป ยกระดับให้เป็นสินค้ากลุ่มดาวเด่นสู่สากล (ระดับเอ) ซึ่งจะสามารถส่งออกได้ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประอบการเพียง 297 ราย จาก 10,000 ราย หรือคิดเป็น 3 % ที่สามารถส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้ โดยต่อไปจะพัฒนาในกลุ่มรักษาภูมิปัญญา (ระดับบี) และกลุ่มสร้างตัว (ระดับซี) ที่มีกว่า 2,700 ราย ให้เป็นผู้ประกอบการระดับเอ สามารถส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้“สิ่งที่จะต้องทำ คือ การให้ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่กระบวนการผลิต การทำตลาด ให้แข่งขันได้ เช่น การควบคุมมาตรฐานผ้า เครื่องแต่งกาย ซึ่งจะมีทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พัฒนาวัตถุดิบ ตรวจสอบวิเคราะห์หาสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ผ้าไหมไทยเนื้อหอมต่างชาติแห่เหมา

Posts related