นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายของไทยเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเนื่องจากมีจำนวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมากถึง 73,503โรงงานมีจำนวนการจ้างงานรวม796,000คนเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศเฉลี่ยสูงถึง 80,000 ล้านบาทต่อปีแต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายไทยกลับต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งได้รับผลมาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่อัตราการว่างงานของประเทศอยู่ที่ประมาณ0.6-0.8% มาหลายปีติดต่อกันซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายเป็นอย่างมาก“เห็นได้จากจำนวนแรงงานในอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องทุกปีประกอบกับหลังจากวันที่ 1 เม.ย. 55และวันที่ 1 ม.ค. 56อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายของไทยยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงเป็น300 ต่อวัน จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตให้เพิ่มสูงขึ้นมากจากการศึกษาผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 ต่อวันของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายได้รับผลกระทบต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดคิดเป็น 7.7% ของต้นทุนการผลิต"ทั้งนี้ทางออกที่สำคัญประการหนึ่งในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นคือ การขยายฐานการผลิตไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยเฉพาะประเทศเมียนมาร์ ซึ่งกำลังเริ่มเปิดประเทศ มีแรงงานจำนวนมากมีค่าแรงราคาถูก แรงงานพม่ามีทักษะในงานใกล้เคียงกับแรงงานไทยพรมแดนพม่าติดกับไทยหลายจุดจึงทำให้เหมาะแก่การขนส่งวัตถุดิบต้นน้ำและกลางน้ำที่ไทยมีพร้อมเข้าไปผลิตในเมียนมาร์และที่สำคัญเมียนมาร์เป็นตลาดใหม่ขนาดใหญ่ที่มีโอกาสเติบโตสูงนายสมชาย กล่าวว่าจากการศึกษาโอกาสและอุปสรรคการขยายฐานการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายไทยไปประเทศเมียนมาร์พบว่า โอกาสที่สามารถเข้าไปลงทุนทำธุรกิจในเมียนมาร์มีอยู่หลายประการ เช่นสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศเมียนมาร์มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ชาวเมียนมาร์มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น ประเทศเมียนมาร์มีประชากรมากถึง 65ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่มีกำลังแรงงานเท่ากับ 31.8 ล้านคนมีอัตราว่างงาน 4% ต่อปีทำให้มีแรงงานมากเพียงพอในการเข้าไปใช้ประโยชน์ ด้านการลงทุน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อุตฯเครื่องแต่งกายขาดแคลนแรงงาน

Posts related