นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไทยไตรมาสที่2 ปี 57 ว่า ภาครัฐควรมีนโยบายอุดหนุนและให้ความช่วยเหลือเด็กในครัวเรือนที่ยากจนอย่างต่อเนื่องทั้งเรื่องเงินและสิ่งของ เพื่อให้เกิดการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาแนวทางการอุดหนุนจากรัฐส่วนใหญ่ที่มุ่งเน้นตัวเด็กโดยเฉพาะการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแบบเฉพาะหน้า ไม่ประสบผลสำเร็จ และไม่ได้ช่วยยกระดับให้พ้นจากความยากจนเช่น การให้เงินช่วยเหลือสำหรับหญิงหม้ายและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภาคใต้เงินช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน ทุนการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส และการแจกจักรยานในพื้นที่ห่างไกลเพราะการดำเนินแนวทางดังกล่าว มักขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละรัฐบาล คาดการเรื่องงบประมาณไม่ได้และบางโครงการก็ไม่ได้ดำเนินการแล้ว “การส่งเสริมพัฒนาการให้สมวัย รวมทั้งการคุ้มครองทางสังคมนั้นปัจจุบันกลุ่มเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน โอกาสที่จะได้รับสวัสดิการยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ดังนั้นรัฐจึงต้องดูแลกลุ่มนี้เป็นพิเศษ โดยกำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะ และต้องดูเป็นระบบมากขึ้นมีระบบข้อมูลที่ชัดเจนว่า เป็นเด็กหรือครัวเรือนที่ยากจนจริง ซึ่งตอนนี้ไม่สามารถดูแลแบบประชานิยมได้เพราะจะกระทบกับสถานะทางการคลังในระยะยาวแน่นอน” ทั้งนี้ยังเห็นว่า การอุดหนุนทางการศึกษาและการรับบริการแม้จะครอบคลุมแล้วแต่ยังมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง โดยเฉพาะกลุ่มคนจน รวมทั้งปัญหาคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยที่ต้องแก้ไขเพราะมีส่วนเสริมพัฒนาของเด็ก การศึกษา และพัฒนาสุขภาพในพื้นที่ห่างไกล ส่วนการคุ้มครองด้านสังคมปัจจุบันยังไม่มีโครงการคุ้มครองเด็กก่อนเข้าโรงเรียน (0-2 ปี) ทุกคนโดยตรงการเลี้ยงดูเด็กในกลุ่มดังกล่าวต้องเป็นภาระของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่วนเด็กอายุ 3-4ปี ในครัวเรือนที่ยากจน ยังเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดไม่ได้เข้าระบบโรงเรียนจะไม่ได้รับการอุดหนุนทั้งอาหารและพัฒนาทักษะ ขณะเดียวกันครัวเรือนยากจนส่วนใหญ่ยังเป็นเด็กและผู้สูงอายุหรือเป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอุดหนุนจากสิทธิประโยชน์ของพ่อแม่แล้วยังมีความลำบากในการเลี้ยงดูเด็กอาจทำให้ไม่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ส่งผลต่อพัฒนาการสติปัญญา และอารมณ์ของเด็ก อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการคุ้มครองทางสังคมที่จัดโดยภาครัฐแล้วในระดับชุมชนต้องจัดสวัสดิการเพิ่มเติมด้วย เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชนกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยให้ทุกคนเข้าถึงบริการ แต่ปัจจุบันการดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวยังมีเฉพาะพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง ยังไม่ได้กระจายไปยังกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าสู่บริการได้นอกจากนี้รูปแบบการคุ้มครองทางสังคมในเด็กนโยบายส่วนใหญ่ยังอิงกับการตัดสินใจทางการเมืองเฉพาะกิจ ทำให้คาดเดาไม่ได้ว่าเด็กจะได้รับการอุดหนุนทุนการศึกษาจากรัฐอย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญต่อการเข้าเรียนของเด็กยากจน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศช.เปิดภาวะสังคมรัฐอัดเงินไม่ช่วยหายจน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs