นายบัณทิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพความเสียหายรางรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ ของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ว่าเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเผยแพร่ภาพดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลบางส่วน จึงไม่เพียงพอที่จะตัดสินว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์อยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย เพราะไม่ได้บอกปริมาณความเสียหาย ตำแหน่งที่เกิด เวลาที่ถ่ายภาพได้ และไม่มีการระบุถึงความถี่หรืออัตราที่เกิดความเสียหายเช่น สปริงว่ามีกี่จุด หากเกิดขึ้นเพียง 1 -2 จุด ก็ไม่อันตราย เป็นต้น แต่เห็นควรเร่งดำเนินการซ่อมบำรุงโดนเร็ว นายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ กล่าวว่า การซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าแบ่งเป็น ซ่อมบำรุงเบาในระดับรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หากไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำก็ไม่สามารถนำรถไฟฟ้าออกไปให้บริการได้ และงานซ่อมบำรุงหนัก เพื่อตรวจสอบสภาพทั้งระบบ มีรอบที่จะตรวจสอบทั้งระบบเมื่อวิ่งให้บริการครบ 1.2 ล้านกิโลเมตร แต่เมื่อเดือน ส.ค.57 ที่ผ่านมา มีรถที่ให้บริการ 1.2 ล้านกิโลเมตรแล้ว แต่เกิดความความล่าช้าในการหาผู้ซ่อมบำรุง ส่งผลทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในเรื่องระบบความปลอดภัยจึง เสนอว่าจะต้องเร่งซ่อมบำรุงโดยเร็วที่สุด หากต้องรอเซ็นสัญญาจ้างซ่อมบำรุงอีก 4-5 เดือน และรออะไหล่อีก 10 เดือน คาดว่าจะล่าช้าเกินไป ทั้งนี้แม้ว่าระบบรถไฟฟ้าจะมีระบบป้องกันความปลอดภัย หรือชั่วโมงเดินรถบวกได้อีก 10% หรือ 1.32 กม. ก็ตาม หากไม่เร่งซ่อมบำรุงจะกระทบต่อความปลอดภัยและอายุการใช้งานรวมทั้งการรับรองทางวิศวกรรม แม้ว่าผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะโอกาสเกิดอุบัติเหตุแบบสุดวิสัยมีน้อยมาก ดังนั้นหากไม่มีการซ่อมบำรุงก็ควรปรับตารางการเดินรถหรือปรับลดความเร็วแทน นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางทำหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานโครงการรถไฟฟ้า เพื่อดูแลเรื่องการออกแบบ ก่อสร้าง ตลอดจนการให้บริการเดินรถ เพื่อลดข้อจำกัดที่เกิดจากหน่วยงานที่ทำหน้าที่วางแผน ออกแบบระบบ และตรวจสอบเพื่อประเมินการซ่อมบำรุง เช่นเดียวกับ กรมการขนส่งทางบก ที่ดูแลความปลอดภัยเรื่องรถทั้งหมด ซึ่งจะช่วยรองรับการขยายตัวของโครงการรถไฟฟ้าและระบบขนส่งทางรางในอนาคต “สิ่งที่ต้องการจะบอกในวันนี้ว่า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์แม้จะได้รับการตรวจสภาพเป็นระยะและมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงการซ่อมบำรุงหนัก หากไม่ดำเนินการจะมีความเสี่ยง จึงจำเป็นที่ต้องเร่งเซ็นสัญญาจ้างซ่อมโดยเร็ว และเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนกตกกับภาพที่เกิดขึ้น” ด้านนายนักสิทธิ์ นุ่มวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่าหากมีการซ่อมบำรุงหลังขบวนรถวิ่งให้บริการเกิน 1.32 ล้านกิโลเมตรว่า จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือเพราะส่งผลต่อระบบการเดินรถ และต้องปรับลดความเร็ว ซึ่งจะส่งผลในเรื่องความไม่แน่นอนของเวลา และคาดเดาไม่ได้ว่าชิ้นส่วนใดจะเกิดปัญหา
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะซ่อมบำรุงรถ-รางลดความเสี่ยง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs