นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ช่วง 10 เดือน ของปีงบประมาณ 57 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1.68 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 73,858 ล้านบาท หรือ 4.2% เนื่องจากจัดเก็ฐภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะความต้องการซื้อรถยนต์ในประเทศชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ และการส่งมอบรถยนต์ของโครงการรถยนต์คันแรกเกือบครบทั้งหมดแล้ว รวมถึงการนําส่งรายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3 จี ย่าน 2.1 จิกะเฮิรตซ์ขณะที่ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีทั้งสิ้น 2.09 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 74,315 ล้านบาท หรือ 3.7% ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 416,491 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 66,033 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 482,524 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 224,164 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 258,360 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนก.ค.57 มีทั้งสิ้น 346,692 ล้านบาท ลดลงจากมิ.ย.44,590 ล้านบาท“ระดับเงินคงคลังสิ้นเดือนก.ค.57 มีทั้งสิ้น 346,692 ล้านบาท เชื่อว่าจะรองรับมาตรการเร่งรัด การเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของปี 57 และจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้การจัดเก็บรายได้จะชะลอตัวลง”ทั้งนี้ ฐานะการคลัง ช่วง 10 เดือน ปีงบประมาณ 57 รายจ่ายปีปัจจุบัน 1.90 ล้านล้านบาท เป็นรายจ่ายประจำ 1.68 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 4.9% และรายจ่ายลงทุน 228,520 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 4% โดยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ ช่วง 10 เดือนของงบประมาณปีนี้ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 195,408 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 138,149 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 138,102 ล้านบาท รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ115,177 ล้านบาท และรายจ่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 82,770 ล้านบาทขณะที่ เดือนก.ค.57 รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลัง 129,251 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1,083 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 200,235 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 29,148 ล้านบาท เป็นรายจ่ายประจำ 170,070 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 23.4% และรายจ่ายลงทุน 19,351 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6% และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน 10,814 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.7อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญ เดือน ก.ค.นี้ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 29,239 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 16,728 ล้านบาท และรายจ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 12,346 ล้านบาท โดยจากรายได้นําส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณ เดือนก.ค.57 ขาดดุล 70,984 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 9,883 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการถอนออกเงินฝากคลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยสุทธิ 7,562 ล้านบาท ทําให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 80,867 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 36,277 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด หลังกู้ชดเชยการขาดดุลเท่ากับ 44,590 ล้านบาท
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศค.แจงคงคลังก.ย.ลดลงเล็กน้อย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs


