นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศ เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงคมนาคมไม่ผ่อนผันน้ำหนักรถบรรทุกชนิด 7 เพลา 24 ล้อ ให้บรรทุกได้ถึง 58 ตันว่า การไม่ผ่อนผันให้บรรทุกน้ำหนักมากขึ้นจาก 50.5 ตัน เป็น 58 ตัน จะส่งผลให้ต้นทุนขนส่งสินค้าต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการขนส่ง อาจผลักภาระค่าขนส่งไปให้ผู้ใช้บริการโรงงานอุตสาหกรรม และเกษตรกร ด้วยการขึ้นค่าขนส่งอีก 5% ซึ่งทำให้ขนส่งสินค้าเกษตรเพิ่มเป็นกม.ละ1.10-1.20 บาทต่อเที่ยว และสินค้าอุตสาหกรรมขึ้นกม.ละ1 บาทต่อเที่ยวอย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะยังไม่ปรับขึ้นทันที เพราะตอนนี้เป็นช่วงที่มีการขนส่งสินค้าน้อย (โลว์ซีซั่น) แต่คาดเมื่อถึงเดือนพ.ย. เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตสินค้าทางการเกษตร ซึ่งจะต้องการใช้รถบรรทุกจำนวนมาก และมีความต้องการขนส่งสินค้าสูง อาจจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าขนส่งในช่วงนั้น และอาจกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรให้เพิ่มขึ้นตาม ส่วนการขึ้นแอลพีจีและเอ็นจีวีนั้น ต้องพิจารณาผลกระทบอีกครั้ง หากรัฐบาลเพิ่มสถานีบริการ และปรับปรุงก๊าซให้มีคุณภาพดีขึ้น ก็ไม่กระทบต่อค่าขนส่ง แต่ถ้าไม่เพิ่มก็อาจกระทบต่อต้นทุนขนส่งเพิ่มอีก“การขึ้นค่าขนส่งต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องอุปสงค์-อุปทานเกี่ยวกับการใช้รถบรรทุกเพื่อขนส่งสินค้า รวมทั้งปริมาณสินค้าที่รอการขนส่งในแต่ละช่วงเวลาก่อนว่าเป็นอย่างไร เบื้องต้น เห็นว่าขณะนี้ความต้องการใช้รถขนสินค้ายังมีไม่มาก อาจจะยังไม่เหมาะที่จะปรับขึ้นราคาทันที แต่หากความต้องการใช้รถบรรทุกจำนวนมาก และเกิดภาวะขาดแคลนรถเมื่อใด อาจเป็นต้องปรับราคา”นายยู กล่าวว่า ผู้ประกอบการขนส่งยังติดปัญหา ไม่สามารถขนส่งสินค้าข้ามแดนจากไทยไปประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้ ครบ เพราะมีหลายประเทศที่ยังไม่ได้จัดทำข้อตกลงการขนส่งสินค้าผ่านแดนกับไทย และต้องรอให้ภาครัฐเร่งเจรจาจัดทำความตกลงให้เสร็จก่อน ดังนั้นจึงมองว่า กระทรวงไม่จำเป็นจะต้องเร่งรีบบังคับใช้นำน้ำหนักบรรทุก 50.5 ตัน ซึ่งเป็นน้ำหนักบรรทุกมาตรฐานของชาติอาเซียน เพราะยังมีมีการขนส่งเกิดขึ้นจริงด้านนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่กรุงเทพ เปิดเผยว่า เครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ฯ เตรียมทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม และกระทรวงพลังงานให้หามาตรการช่วยเหลือ หลังมีกระแสข่าวเตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีภาคขนส่ง และราคาก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของคนขับรถแท็กซี่ที่มีประมาณ 80,000 คัน โดยต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือคงราคาเอ็นจีวีและก๊าซแอลพีจีสำหรับรถแท็กซี่ด้วยการชดเชยส่งต่างราคาให้ คล้ายกับรูปแบบบัตรเครดิตพลังงาน“อยากให้ช่วยเหลือเหมือนกับกลุ่มแท็กซี่เอ็นจีวี ที่ยังใช้ราคาเอ็นจีวีได้ 8.50 บาทต่อกก.เพราะได้รับส่วนลดจากบัตรเครดิตพลังงาน 2 บาท แต่หากภาครัฐไม่ช่วยเหลือตามข้อเรียกร้อง เครือข่ายฯ จะขอปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่อย่างแน่นอน เพื่อชดเชยภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น”นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวถึงกรณีที่แท็กซี่เตรียมปรับขึ้นค่าโดยสารว่า กระทรวงคมนาคมจะหารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณาผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาแก่กลุ่มแท็กซี่ เมื่อรัฐบาลปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี ซึ่งที่ผ่านมา กรมฯได้ทำงานร่วมกับกองพันสารวัตรทหารบก หรือ มทบ.11 และกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหา และการจัดระเบียบรถแท็กซี่ในภาพรวม ทั้งปัญหาเรื่องแท็กซี่ไม่กดมิเตอร์ ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร รวมไปถึงปัญหาของผู้ประกอบการแท็กซี่ที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการกำหนดอัตรามิเตอร์ที่เป็นธรรม ซึ่งผู้ประกอบการแท็กซี่ก็เรียกร้องขอให้ปรับขึ้นค่ามิเตอร์จากปัจจุบันที่เริ่มต้นที่ 35 บาท มาอย่างต่อเนื่อง“ประเด็น เรื่องการขอปรับค่าโดยสารแท็กซี่นั้น ขณะนี้กรมฯได้ มอบหมายให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ไปศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้แล้วว่าควรจะแก้ไขแบบไหนจึงจะเหมาะสม เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับคนหลายกลุ่ม โดยจะต้องไปศึกษาและพิจารณาปัจจัยปัญหาแวดล้อมหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อค่าโดยสารด้วย เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สภาพการจราจร จำนวนสถานีเติมแก๊ส เป็นต้น และหากผลการศึกษาออกมาว่าจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าโดยสาร ก็ต้องดูอีกว่าอัตราไหนจึงจะเหมาะสม โดยจะศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย. นี้ จากนั้น จะนำผลการศึกษาเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้ง”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รถบรรทุก-แท็กซี่จ่อขึ้นราคา

Posts related