วันนี้ (15 ก.ย.) เวลา 11.30 น.ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวภายหลังจากมอบนโยบายกับข้าราชการกระทรวงไอซีทีและหน่วยงานในสังกัดว่า สิ่งที่เป็นห่วงและต้องเร่งดำเนินการคือ การจัดการกับเว็บไซต์ไม่เหมาะสมทั้งเว็บไซต์หมิ่นเบื้องสูงฯ ความมั่นคงของชาติ ที่ผิดกับพรบ.คอมฯนั้น ตอนนี้ยังค้างอยู่กว่า 2 หมื่นคดีนอกจากนี้ สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ ปัญหาเกี่ยวกับอุทกภัยต่างๆที่มีหลายหน่วยงานดูแล ซึ่งหน่วยงาน-ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที ประกอบด้วยสำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งเตือนหรือช่วยเหลือตามแต่หน้าที่ของตนเองนายพรชัย กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีจะเร่งจัดสรรงบประมาณที่เหลือกว่า 3.7 พันล้านบาท เกี่ยวกับการให้บริการไวไฟเพื่อการศึกษา ว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อหนุนภาคการศึกษาให้ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายทั่วประเทศฟรีโดยจะประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดำเนินโครงการต่อไปเกิดการบูรณาการร่วมกัน ในส่วนของงบประมาณปี 2557 พบว่า ยังมีหลายหน่วยงานที่ยังเหลืองบประมาณอีกกว่า 40% ที่ยังไม่ได้จัดสรรซึ่งหน่วยงานต่างๆ จะต้องจัดสรรงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยหากพบว่าไม่สามารถจัดสรรงบประมาณได้ก็ต้องส่งคืนมาส่วนงบประมาณปี 58 ให้รีบเขียนทีโออาร์โดยเร็ว และจะต้องเน้นในเรื่องของความโปรงใสส่วนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะต้องบริหารไม่ให้ขาดทุนหลังจากไม่มีรายได้สัมปทานมือถือโดยมองว่า การควบรวมบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ถือเป็นวิธีสุดท้ายที่จะทำ ส่วนปัญหาที่ซับซ้อนทางกฏหมาย โดยเฉพาะกฏหมายดาวเทียมที่ต้องมีการแก้กฏหมายร่วมกันเพราะกระทรวงไอซีทีจะต้องไปประสานงานกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ไอทียู เพื่อขอจองพื้นที่ของดาวเทียม ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมีหน้าที่กำกับดูแลในเรื่องของใบอนุญาตซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนร่วมกันอีกครั้ง“ยอมรับว่าการแก้กฏหมายเป็นเรื่องที่ยากซึ่งต่อจากนี้กระทรวงไอซีทีและหน่วยงานในสังกัดจะต้องมีการประชุมใหญ่ในวันพุธแรกของทุกเดือนและพุธที่ 3 ของทุกเดือนจะต้องประชุมหัวหน้าส่วนทั้งหมดเพื่อให้งานดำเนินการไปได้โดยเร็วโดยมั่นในว่าจะสามารถแก้ไขกฏหมายที่ซับซ้อนให้ชัดเจนได้ภายใน 2 เดือนต่อจากนี้”นายพรชัย กล่าว
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รมว.ไอซีที มั่นใจเคลียร์ปมกฏหมายได้ภายใน 2 เดือน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs