นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรมกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงต่างประเทศในการเข้าไปตรวจสอบและดำเนินการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาไทยทั่วประเทศเพื่อป้องกันการแอบไปขึ้นทะเบียนหรือจดลิขสิทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาล โดยจะนำร่องจดทะเบียนผลงานศิลป์แผ่นดิน ที่จัดแสดงอยู่ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งสถาบันสิริกิติ์ได้สร้างสรรค์ขึ้นเช่น ฉากไม้แกะสลัก เรื่องสังข์ทองและป่าหิมพานต์, ฉากผ้าปักไหมน้อย เรื่องอิเหนา, ฉากถมทอง เรื่องรามเกียรติ์รวมถึงเครื่องเงินเครื่องทอง ปักผ้า และลายเขียน เป็นต้น“กรมฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำร่องผลงานศิลป์แผ่นดินก่อนเนื่องเป็นผลงานทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม และบันทึกเป็นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาของชาติและ ผลงานศิลป์แผ่นดินเป็นเดอะเบสท์ ออฟ อาเซียน ในด้านของความประณีต วิจิตรบรรจงที่ควรค่าแก่การปกป้องคุ้มครองให้เป็นสมบัติของชาติต่อไป และจากนั้นจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเพื่อขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาไทยทั่วประเทศ”นอกจากนี้กรมฯยังได้เร่งดำเนินการปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยในด้านต่างๆตามนโยบายของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วยโดยได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาและทุกหน่วยงานเห็นตรงกันว่า ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ยังไม่รองรับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นทรัพยากรพันธุกรรม และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมถึงยังไม่มีกฎหมายหรือพันธกรณีระหว่างประเทศที่ให้การคุ้มครองจึงต้องบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องมีหน่วยงานหลักทั้งนี้ในเบื้องต้นจะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเดิมที่มีอยู่หรือร่างกฎหมายใหม่เพื่อให้การปกป้องคุ้มคอรงครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนางกุลณี กล่าวว่า ในปัจจุบันไทยยังไม่มีระบบการปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาไทย มีเพียงแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละด้านว่ามีอะไรบ้าง เช่นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีฐานข้อมูลพันธ์พืช พันธ์สัตว์, กระทรวงวัฒนธรรม ด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุและมรดกที่จับต้องไม่ได้ เช่นวิธีการนวดแผนไทย มวยไทย รวมถึงการแสดงออกทางวัฒนธรรม อย่าง การรำ โขน รวมประมาณ 286 รายการ,กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดูแลทรัพยากรพันธุกรรม และกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์รับจดแจ้งข้อมูลวิธีการทำอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น ราว 4,800 รายการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปูพรมจับภูมิปัญญาไทยทั่วประเทศจดลิขสิทธิ์

Posts related