เมืองไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติกันแล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมอยู่ในขณะนี้คือ การแย่งใช้ก๊าซแอลพีจี ระหว่างภาคประชาชนกับภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ภาคประชาชนนำโดยแกนนำเอ็นจีโอ และนักวิชาการภาคประชาชนกลุ่มหนึ่ง ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรก๊าซแอลพีจีที่ได้จากโรงแยกก๊าซให้ประชาชนได้ใช้ก่อน ถ้ามีเหลือค่อยให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ ถ้าไม่เหลือก็ให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปนำเข้าจากต่างประเทศเอง ไม่ต้องมาเป็นภาระของกองทุนน้ำมันฯ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องมาขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีกับประชาชน ฟังดูน่าเชื่อถือ ประชาชนก็ชอบ เพราะไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ส่วนภาคผู้ประกอบการ กระทรวงพลังงาน และนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ก็บอกว่าก๊าซในอ่าวไทยเป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถนำมาแยกออกเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานปิโตรเคมีเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ ถ้าเอาไปเผาเป็นแอลพีจีให้ประชาชนใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด เป็น การทำลายคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างน่าเสียดาย
อีกประการหนึ่ง การสร้างโรงแยกก๊าซ และโรงงานปิโตรเคมีนั้นเป็นสิ่งที่พัฒนามาด้วยกันและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาอุตสาห กรรมชายฝั่งตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ดังนั้นการไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีให้ไปใช้ก๊าซนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบ ย่อมเป็นการทำลายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 680,000 ล้านบาท ในทางอ้อมนั่นเอง เพราะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยที่สร้างขึ้นมาในระยะแรกนั้น เป็นโรงงานประเภท Gas-based ไม่ใช่ Liquid-based ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบได้ทั้ง 2 ชนิด คือจะใช้แอลพีจี หรือ แนฟทา เป็นวัตถุดิบก็ได้ (ถ้าแอลพีจีแพงก็เปลี่ยนไปใช้แนฟทาได้ แต่โรงงานประเภท Gas-based ทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าต้องนำเข้าแอลพีจีในราคาแพงมาเป็นวัตถุดิบก็เจ๊งลูกเดียว หรือไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นที่เขามีวัตถุดิบในราคาถูกกว่าได้)
นอกจากนั้นถึงแม้จะไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้แอลพีจีนำเข้าได้สำเร็จ ตามทึ่แกนนำภาคประชาชนบางคนต้องการ แอลพีจีที่ประชาชนใช้ก็ยังต้องขึ้นราคาอยู่ดี เพราะราคาที่ขายภาคประชาชนหน้าโรงแยกก๊าซอยู่ทุกวันนี้ (333 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) เป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนของโรงแยกก๊าซ ซึ่งอยู่ที่ 550 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่ทุกวันนี้ที่โรงแยกก๊าซเขายังอยู่ได้ก็เพราะมีส่วนที่ขายให้อุตสาห กรรมปิโตรเคมีในราคาสูง (590 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) มาถัวเฉลี่ย ทำให้ยังไม่ถึงกับขาดทุน แต่ก็ไม่คุ้มกับการลงทุน ดังนั้นการขับไสไล่ส่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้ไม่มีใครมาถัวเฉลี่ยราคาก๊าซกับภาคประชาชนอีกต่อไป
เห็นได้ว่า ข้อเสนอการแย่งชิงก๊าซแอลพีจีให้ประชาชนใช้ก่อน แล้วไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซนำเข้า นอกจากจะเป็นการทำลายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยแล้ว ก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาก๊าซขึ้นราคาอย่างที่เขาโฆษณาให้ประชาชนเชื่อแต่อย่างใด ดังนั้นการแบ่งสันปันส่วนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างคุ้มค่า หรือกลัวว่าถ้าทำอย่างนั้นแล้ว จะไม่มีจุดขายไปปลุกกระแสสังคมให้คนมากดไลค์!!!.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การแย่งชิงทรัพยากรปิโตรเลียม – พลังงานรอบทิศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs