นายวิวัฒน์ชัย อัตถากร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยระหว่างการสัมมนาเรื่อง”พลังงานปิโตรเลียมในมิติสิทธิมนุษยชน เพื่อคืนความสุขประชาชน” จัดโดยคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมว่า แนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องพลังงาน ในมุมสิทธิมนุษยชน มองว่า รัฐควรแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เนื่องจากพ.รบ. ปิโตรฯ ดังกล่าวมีหลายมาตราปิดกั้นประชาชน ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดความขัดแย้งในเรื่องพลังงานทุกวันนี้ “การสัมมนาเรื่องพลังงานที่ผ่านมาๆ มีการพูดถึงแต่ปลายเหตุ ไม่ค่อยได้พูดถึงต้นเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร ในมุมมองของผมในเรื่องต้นตอของมนุษยชน อยากให้มองถึงต้นตอของปัญหาของทุกวันนี้ คือ พ.ร.บ.ปิโตร ฯ ซึ่งกีดกันการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของประชาชน รวมทั้งต้องการให้ภาครัฐเข้าถือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานมากกว่า 70 % หรือถือครอง 100 % เพื่อให้เกิดความมั่งคงและประโยชน์สูงสุดของประเทศ และต้องการให้หยุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 โดยให้ฟังเสียงประชาชนก่อน” สำหรับมาตราที่ต้องแก้ไขมากที่สุด คือ มาตรา 23 ที่ระบุว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน การขอสัมปทานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบสัมปทานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งเป็นจุดอ่อน เพราะการที่รัฐให้สัมปทานกับภาคเอกชน ทำให้ประชาชนถูกละเมิดสิทธิมากที่สุด เพราะใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานของภาครัฐไม่เต็มที่ ต้องการให้ภาครัฐ มองว่า ปิโตรเลียมต้องเป็นของประชาชนถูกต้องที่สุด นอกจากนี้ยังมีมาตรา 22 เรื่องรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่มากเกินไป ทำให้ถูกยึดโยง คลอบงำโดยนักการเมืองได้สะดวก , มาตรา 25 – 26 ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามสัมปทานมากเกินไป ทำให้ประชาชนเสียเปรียบ มาตรา 64 ให้ผู้รับสัมปทานได้รับหลักประกันว่า รัฐจะไม่จำกัดการส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่กรณีตามมาตรา 61 ซึ่งต้องการให้ภาครัฐจำกัดการส่งออกปิโตรเลียม เพื่อให้ใช้พลังงานในประเทศให้เพียงพอ เพราะทุกวันนี้ทางภาครัฐ จะระบุว่า พลังงานในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นายวิศรุต ตั้งสุนทรขัณฑ์ วิศวกรปิโตรเลียมชำนาญการพิเศษ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตัวแทนกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมของไทย มีขั้นตอนโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมแต่ละแห่ง ก็มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ซึ่งการเปิดขุดเจาะสัมปทาน ต้องใช้เวลาในการสำรวจ เพราะการขุดเจาะแต่ละครั้งก็ไม่สามารถระบุได้ว่า จะมีแหล่งพลังงานเท่าไร และที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน จะทำแผนใด ๆ เช่น แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (แผนพีดีพี) และแผนพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ก็ได้มีการสำรวจความเห็นของประชาชนแต่ละพื้นที่ก่อนอยู่แล้ว
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะรัฐแก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs