วันนี้ (29 กันยายน) ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก. ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดตัวศูนย์บริการข้อมูลน้ำเคลื่อนที่ในภาวะฉุกเฉินซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ เป็นประธานในการเปิดงานดร.พิเชฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการประมวลสถานการณ์และให้บริการข้อมูลน้ำ อาศัยระบบสื่อสาร เช่นโทรศัพท์มือถือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อรับ-ส่งข้อมูลแต่ทุกครั้งที่เกิดภาวะฉุกเฉิน การสื่อสารจะถูกตัดขาดจากส่วนกลางทำให้การแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉินดำเนินการไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเพื่อบริหารความเสี่ยงดังกล่าว สสนก. ได้พัฒนาศูนย์บริการข้อมูลน้ำเคลื่อนที่ในภาวะฉุกเฉินขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของ “คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ” ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่บัญชาการและประมวลผลได้ทุกสถานการณ์สนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้บริการข้อมูลน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาวะฉุกเฉินหากอยู่ในภาวะปกติ จะใช้เป็นระบบสำเนาข้อมูล สำหรับฐานข้อมูลน้ำระดับชาติสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบด้านดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการ สสนก. เปิดเผยว่า ศูนย์บริการข้อมูลน้ำฯ ได้มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและตู้ระบบไฟสำรองที่ทันสมัย เทียบเท่าระบบของสนามบินสุวรรณภูมิ สามารถปฏิบัติการด้วยระบบสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมรองรับการปฏิบัติงานในทุกสถานการณ์ มีระบบกล้องวงจรปิดรอบตู้ มีระบบควบคุมการเข้า-ออก และระบบดับเพลิงอัตโนมัติทั้ง นี้ศูนย์ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในกรณีที่มีเหตุการณ์อุทกภัยในระดับ 3 (เกือบรุนแรง) ขึ้นไป โดยใช้ในการเก็บข้อมูลในพื้นที่จากชุดสำรวจเคลื่อนที่เร็วทางบก ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเข้าประมวลผลที่ระบบส่วนกลางได้เร็วขึ้นจากเดิม 2-3 วันเหลือเพียง20 ชั่วโมง ศูนย์ฯ นี้ จะอยู่ที่อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีสำหรับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ดร.รอยล เปิดเผยว่า ปริมาณฝนทั่วประเทศตั้งแต่ต้นปีมีปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ยแม้ในเดือนกรกฏาคม-กันยายนจะเพิ่มสูงขึ้นแต่แนวโน้มสถานการณ์น้ำทั่วประเทศในภาพรวมยังน่าเป็นห่วงว่าอาจไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรในฤดูแล้งปีหน้าเนื่องจากน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ยังมีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์จึงขอให้ภาคการเกษตรบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอทั้งการเกษตรและทำกินน้ำใช้โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางควรพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรทั้งคลอง แม่น้ำ และเรือกสวนไร่นารวมถึงจะใช้การปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเช่นปลูกผักแทนข้าวซึ่งใช้น้ำน้อยกว่า เพื่อไม่ให้กระทบจากการขาดแคลนน้ำ“ขณะที่สถานการณ์ฝนตลอดสัปดาห์นี้ฝนจะยังตกชุกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเป็นส่วนใหญ่โดยฝนจะยังตกกระจายในพื้นที่ต่างๆไปจนถึงกลางเดือนตุลาคมนี้และปลายสัปดาห์นี้จะมีพายุก่อตัวฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกพร้อมกับฝั่งทะเลอันดามันซึ่งจะทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้นและช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนได้”ดร.รอยล กล่าว

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กระทรวงวิทย์เปิดศูนย์ข้อมูลน้ำเคลื่อนที่แห่งแรกในเอเชีย

Posts related