จากประวัติศาสตร์ด้านนวัตกรรมการลงทุนของสหรัฐอเมริกา และผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีคำถามที่น่าสนใจว่าทำไมบริษัทและนักลงทุนอเมริกันจึงสนใจแต่นวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายเพื่อทำให้เกิดผลกำไรให้ดูดีในตลาดหลักทรัพย์ และสะสมเงินสดจนเงินเหลือมากทำไมนักลงทุนหรือบริษัทต่าง ๆ ไม่ยอมจ่ายเงินเพื่อการวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมชุดใหญ่ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านนวัตกรรมใหญ่ และเพื่อสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็งตรงนี้เป็นเรื่องหลักคิดหรือหลักความเชื่อทางด้านการเงินที่เป็นอยู่ ทำให้เศรษฐกิจตกอยู่ในสภาวะวิกฤติ ซึ่งเป็นคำกล่าวของ ดร.คริสเตียนเซ่นเรามาดูข้อสมมุติฐานหรือหลักความเชื่อทางเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ในปัจุบันซึ่งมีแนวคิดว่าวัตถุดิบนำเข้าเพื่อสร้างผลผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ผู้บริโภคได้ใช้นั้น ส่วนใหญ่ถือว่ามีอยู่อย่างเหลือเฟือและราคาถูก เช่นทราย เป็นต้น ทรายมีอยู่มากมายดาษดื่นแทบไม่มีราคา แต่เวลาผลิตออกมาเป็นซิลิคอนเพื่อทำเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ชิพมีราคาแพงลิบลิ่ว เพราะชิพนั้นเป็นต้นกำเนิดของอุปกรณ์อัจฉริยะที่ใช้กันทั่วโลก เพราะฉะนั้นหลักคิดทางการเงินนั้นเห็นว่าวัตถุดิบนำเข้าไม่มีราคา แต่เมื่อนำมาสร้างเป็นรายได้ก้อนเงินแล้ว ก้อนเงินนี้แหละหายากมากกว่าจะได้เป็นเงินสดออกมา เงินก้อนนี้แหละต้องแยกออกมาและมีราคาแพงเพราะฉะนั้นเหล่านักลงทุนและซีอีโอของบริษัททั้งหลายจึงถูกสอนให้คิดว่าจะต้องสร้างรายได้และกำไรจากเงินลงทุนให้ได้มากที่สุด ทุกดอลลาร์ที่ลงไปจะต้องมีรายได้และกำไรจากเงินลงทุนให้ได้มากที่สุด แข่งกันไปโชว์ผลกำไรในตลาดหุ้นเพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้าไปซื้อหุ้นถ้าหากมาดูเรื่องนี้ก็คงจริงเพราะหลักเศรษฐศาสตร์ความเชื่อคนอเมริกัน เชื่อว่าเงินลงทุนนี่แหละคือทรัพยากรที่หายาก จะต้องเก็บรักษาไว้และจัดการอย่างใกล้ชิดแต่มาดูเรื่องจริงอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ล่าสุดจากการวิเคราะห์ของบริษัทเบนแอนด์คอมพานี ซึ่งได้วิเคราะห์ลักษณะการลงทุนของสหรัฐอเมริกา และได้สรุปว่า สหรัฐอเมริกาได้เริ่มเข้าสู่สภาวะแวดล้อมที่มี “เงินลงทุนอย่างอุดมสมบูรณ์” เบนได้วิเคราะห์ตัวเลขเอาไว้ว่า สินทรัพย์ทางการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มีประมาณ 10 เท่าของมูลค่าผลิตภาพของสินค้าและการบริการทั่วโลก และถ้าหากมีการพัฒนาด้านการเงินในเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ จะทำให้เงินลงทุนทั่วโลกเติบโตขึ้นอีก 50% ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งก็หมายความว่าสหรัฐอเมริกาปล่อยให้ก้อนเงินทุนจมอยู่ใต้น้ำ โดยไม่ใช้ประโยชน์อะไรนักลงทุนอเมริกันถูกสอนให้เชื่อว่าประสิทธิภาพของเงินทุนนั้นคือคุณงามความดีเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม เหมือนความเชื่อในหลักศาสนา และนักลงทุนอเมริกันหลงเชื่อว่า เงินคือพระเจ้า เพราะฉะนั้นนักการเงินจึงมักเริ่มวัดความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น แต่ไม่ใช้เงินกำไรต่อดอลลาร์ เยนหรือหยวน แต่มีอัตราส่วนเป็นเงินคืนกำไรต่อทรัพย์สิน (Return on Net Asset -RONA) เงินคืนกำไรต่อเงินลงทุน (Return on Invested Capital-ROIC) และอัตราคืนกำไร (Internal Rate of Return-IRR) อัตราส่วนเหล่านี้เศษหรือตัวบนที่ถูกหารก็มาจากเงินคืนกำไร ซึ่งก็เป็นอัตราส่วนธรรมดาที่นักลงทุนจะใช้กันในธุรกิจและกิจการ และก็เป็นสูตรคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ตัวบนหารด้วยตัวล่างคือ เศษหารส่วน แค่เศษส่วนง่าย ๆ สองสามตัวเหล่านี้นักลงทุนหรือซีอีโอจะต้องคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ คิดแล้วคิดอีกจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาด้านการวัดผลการดำเนินการให้ดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้ค่าเงินเดือนคืนกำไรต่อสินทรัพย์และเงินคืนกำไรที่มากขึ้นบวกไปยังที่เศษแน่นอน แต่อีกวิธีมักจะเกิดและคนไม่ชอบกันคือ ปรับลดตัวส่วนเพื่อหารแล้วยังคงได้ผลคืนกำไรมากขึ้น เช่น การตัดตอนจ้างให้ข้างนอกทำเพื่อลดค่าใช้จ่าย (Outsourcing) หรือการลดสินทรัพย์ออกจากบัญชีงบดุล ซึ่งก็อาจจะหมายถึงการปรับลดการจ้างคนไปด้วย เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการเพื่อให้ได้อัตราการคืนกำไรที่สูงขึ้น ใช้สูตรคณิตศาสตร์เศษส่วนง่าย ๆ เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด และแน่นอน การลงทุนจึงมักจะเป็นโครงการที่ได้กำไรเร็ว ซึ่งจะได้อัตราการคืนกำไร หรือไออาร์อาร์สูงสุดนั่นเองถ้าพิจารณาเรื่องหลักคิดด้านการเงินเพื่อการลงทุนเพื่อเกิดอัตราคืนกำไรเร็วที่สุด เศรษฐกิจจะเกิดแต่ปัญหา.รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หลักคิดทางการเงิน ทุนนิยมอเมริกัน (6) – โลกาภิวัตน์

Posts related