ปัญหารระบบทุนนิยมอเมริกาที่ถูกสะสมมานานนั้น มักจะเกิดจากวิธีการลงทุนของนักลงทุนที่มุ่งสู่ผลประกอบการเพื่อกำไรในตลาดหุ้นและดึงดูดให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนและโดยมาก ซีอีโอและผู้ลงทุนมักจะมุ่งสู่กำไรระยะสั้นทั้ง ๆ ที่มีเงินสดเหลือเฟือก็เป็นความจริงที่ว่านวัตกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อการสร้างตลาดแรงงานและธุรกิจลูกโซ่ให้เกิดอย่างต่อเนื่องนั้น ดูแล้วไม่น่าสนใจเท่าใดนัก เพราะว่ากว่าจะได้รายได้ที่เป็นกำไรต้องใช้เวลาหลังจากดำเนินธุรกิจแล้ว 5 ถึง 10 ปี ซึ่งตรงกันข้ามกับนวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพที่มีเพียงแต่ปรับกระบวนการผลิตใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพและทำให้ต้นทุนต่ำก็สามารถทำกำไรได้ภายในหนึ่งหรือสองปีทันทีแต่ที่ดูจะแย่กว่านั้นก็คือเงินลงทุนสำหรับนวัตกรรมที่สร้างความเข้มแข็งนั้น นอกจากจะต้องใช้เงินลงทุนมากเพื่อสร้างกิจการให้โต เงินลงทุนมหาศาลนั้นจะต้องใส่ลงในบัญชีงบดุล และแน่นอนนอกจากใช้เงินเยอะก็เกิดค่าใช้จ่ายภาษีและดอกเบี้ยที่ตามมา ส่วนกรณีนวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพนั้นสามารถทำให้ลดเงินก้อนออกจากบัญชีงบดุลได้เลยอย่างเช่น การลดต้นทุนทางด้านสินค้าคงคลังซึ่งเห็นได้ชัดเจนซ้ำแย่กว่านั้นก็คือถ้าหากดูระบบความเสี่ยงทางการเงิน ก็ชัดเจนว่านวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพไม่มีความเสี่ยงทางด้านการเงินเลย แต่การลงทุนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างงานสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งนั้นดูมีภาวะความเสี่ยงที่ตามมามากกว่าหลายเท่า ธนาคารที่ไหนจะชอบความสุ่มเสี่ยง ธนาคารคงจะไม่ค่อยยอมปล่อยให้กู้เพื่อสร้างความเจริญเติบโตเพราะดูเสี่ยงมากกว่า และก็แน่นอนถ้าหากใช้อัตราส่วนทางด้านการเงินไม่ว่าผลตอบแทนด้านการเงินต่อสินทรัพย์ (RONA) หรือผลตอบแทนด้านการเงินต่อการลงทุน (ROIC) อัตราการได้คืนกำไร (IRR) มาเป็นตัววัด ไปนำเสนอธนาคารเพื่อรอกู้ ธนาคารจะต้องเลือกนวัตกรรมเชิงประสิทธิภาพมากกว่าแม้ว่านวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพจะดูดีสำหรับนักลงทุนที่ชอบกำไรระยะสั้น แต่เรามาดูการลงทุนประเภทมุ่งสู่ผลในระยะยาว ซึ่งก็มีแรงกดดันเช่นกัน ตัวอย่างเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญซึ่งถือว่า เป็นประเภทเงินลงทุนระยะยาวหลังเกษียนที่ใหญ่ที่สุดของโลก คือกองทุนนี้ปัจจุบันทั่วโลกมีสินทรัพย์ถึง 900 ล้านล้านบาท แต่ประมาณเกือบ 600 ล้านล้านบาทอยู่สหรัฐอเมริกา ในทางทฤษฎีก็มีพฤติกรรมการลงทุนเหมือน “กองทุนคนป่วย” ผู้บริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญมักจะไม่ใจเย็นพอ โดยมากจะใช้เงินก้อนนี้เพื่อการลงทุนในตลาดที่มีผลกำไรเร็ว ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเงินนี้ถ้าหากลงทุนในตลาดที่มีนวัตกรรมประเภทเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้และทำให้คนมีงานทำให้ขึ้นได้ แต่มักจะนำเงินลงทุนไปในตลาดที่สามารถทำกำไรได้ในระยะสั้น ไม่ว่าการได้เงินกำไรที่แน่นอนและเร็วเพราะไม่มีความเสี่ยง มีแรงกดดันที่จะต้องทำให้กองทุนเติบโตเร็วพอที่จะต้องจ่ายให้ผู้เกษียณซึ่งมีจำนวนมากขึ้นและมีเงื่อนไขที่จะต้องจ่ายให้มากและให้ทันเวลาตามกำหนด ก็เลยมองข้ามการลงทุนที่เป็นนวัตกรรมที่ให้เกิดผลความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจเมื่อเกือบทุกกองทุนมุ่งสู่ผลกำไรระยะสั้น การลงทุนเพื่อนวัตกรรมในการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและเกิดตลาดการสร้างงานก็ไม่มีโอกาสเกิด สภาวะที่ตามมาในปัจจุบันก็คือเศรษฐกิจถดถอย แม้ว่ารัฐบาลพยายามก็จะประกาศเสมอว่าการจ้างงานดีขึ้น แต่เลยก็เป็นเพียงการโฆษณาหาเสียงเท่านั้น แต่ของจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่นอกจากนั้นพฤติกรรมของการลงทุนเยี่ยงนี้ จะทำให้เกิดผลสภาวะเศรษฐกิจที่เลวลง เหมือนคนป่วยนานรักษาเท่าใดก็ยังไม่หายและศิษย์เก่าของวิทยาลัยธุรกิจแห่งฮาร์วาร์ดเองก็ยังคงเป็นเช่นนี้เพราะนักลงทุนที่เป็นศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดสามารถนำเสนอโครงการแผนทางธุรกิจสวยหรู โดยใช้สไลด์ที่มีตัวเลขอัตราส่วนผลคืนกำไรสวย ๆ ได้เสมอ เพื่อให้นักลงทุนสนใจหากำไรระยะสั้นจากนวัตกรรมประสิทธิภาพโดยไม่มีความเสี่ยงวิธีการลงทุนเหล่านี้นี่แหละเป็นตัวการก่อปัญหาทำให้เกิด “กองทุนคนป่วย” ขึ้นมา ลงทุนแล้วไม่สามารถสร้างนวัตกรรม ที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระยะยาวทำให้เศรษฐกิจป่วยยาว ซึ่งสหรัฐเองก็ไม่ต่างจากญี่ปุ่นเท่าใดนัก.รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปัญหาของการลงทุน เพื่อนวัตกรรมขนาดใหญ่ (7) – โลกาภิวัตน์

Posts related