นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า  การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องแก้ด้วยการสร้างรายได้   ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำมาจ่ายเงินกู้ดอกเบี้ยสูง เพราะถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ   และถ้าให้เงินหรือยกหนี้ให้เปรียบเสมือนการกินยาแก้ปวดที่สามารถช่วยบรรเทากาอาการปวดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น  แต่การแก้ปัญหาด้วยความยั่งยืนจะต้องผ่าตัดไม่ใช่กินยาแก้ปวดไปตลอดชีวิต  หลังจากนั้นต้องให้รู้จักแบ่งรายได้เพื่อเก็บเก็บออมและใช้จ่ายอย่างพอเพียง  สำหรับสาเหตุที่ประชาชนหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบส่วนหนึ่งเกิดจากฐานรายได้ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โดยจากข้อมูลในปี 56 พบว่า ภาคครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อไม่ถึง 40% “ กรณีนางสังเวียน รักษาเพ็ชร ชาวอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ใช้น้ำมันราดและจุดไฟเผาตัวเอง หลังมาร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนจากหนี้สินนั้น  เป็นปัญหาสาหัสในชีวิต เพราะการที่ยอดหนี้ 400,000 บาทเพิ่มเป็น 1.5 ล้านบาทนั้น แสดงว่าต้องจ่ายดอกเบี้ยแพง  และสะท้อนว่าประชาชนไม่มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย จึงไปกู้หนี้นอกระบบ  แต่การแก้ปัญหาเพิ่มรายได้ยอมรับว่า เป็นปัญหาโครงสร้างต้องใช้เวลาไม่สามารถแก้ได้ใน 2-3 เดือน   และกลไกลตลาดต้องไม่บิดเบือน หรือสร้างภาพลวงตา” ส่วนกรณีที่รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อครัวเรือนว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ช่วยลดความเดือดร้อนของเกษตรกรและเงินถึงมือชาวนาโดยตรง  ซึ่งไม่ควรมาถกเถียงว่าเป็นโครงการประชานิยมหรือไม่เพราะเถียงกันก็ไม่ได้ประโยชน์ แต่การช่วยเหลือต้องไม่สร้างภาระผูกพันในระยะยาว และต้องรัดกุมในเรื่องการจ่ายเงินเพื่อไม่ให้มีการคดโกงตัวเลข

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “ประสาร”แนะเพิ่มรายได้แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

Posts related