นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงผลการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ว่า ที่ประชุมมีมติให้ใช้ร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ที่เสนอให้เทศบาล ต.แม่สอด เป็นพื้นที่นำร่องทดลองการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภายใต้ ชื่อนครแม่สอด โดยเตรียมจัดระเบียบบริหารแบบใหม่ รวมทั้งจะให้อำนาจในการอนุมัติ ออกใบอนุญาตต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการตั้งธุรกิจและโรงงาน“เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดนี้ จะกำหนดโซนนิ่งพื้นที่อย่างชัดเจน ไม่ใช่การประกาศครอบคลุมทั้งอำเภอ โดยหลังจากนี้กระทรวงมหาดไทยจะนำร่างกฎหมายตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดเ ข้าสู่ที่ประชุมครม. จากนั้นจะส่งกลับไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอีกครั้ง จากนั้นจะส่งกลับมาที่ ครม. และส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาและประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป”ส่วนการพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.2548 เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของ กนอ. เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะเพิ่มบทบาทให้ กนอ. ออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ มีอำนาจในการก่อสร้างดำเนินกิจการท่าเรื่ออุตสาหกรรม สาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่จำเป็นในนิคมฯ และเปิดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมที่เป็นคนต่างด้าว สามารถถือกรรมสิทธิ์อาคารชุดได้ ตามที่คณะกรรมการ กนอ. เห็นสมควร ซึ่งขอบข่ายทั้งหมดจะจำกัดอยู่เฉพาะภายในนิคมอุตสาหกรรม โดยไม่รวมในส่วนของพื้นที่พาณิชย์ และที่อยู่อาศัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนอย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณา 60-90 วัน จากนั้นก็จะเสนอให้ ครม. พิจารณาสำหรับยอดรวมการขาย หรือเช่าที่ดินในนิคมฯปีนี้อยู่ที่ 3,900 ไร่ สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3,500 ไร่ มีมูลค่า 4,950 ล้านบาท ส่วนปี 58 ตั้งเป้าหมายว่าจะขายที่ดินให้ได้ 4,000 ไร่ มีรายได้เพิ่ม 5% หรือมีมูลค่า 5,250 ล้านบาท โดยจะส่งเสริมการตั้งนิคมอุตสาหกรรมในรูปแบบ กนอ. ร่วมดำเนินงานกับเอกชนให้ได้ 10 นิคมฯ และจะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรม 7 กลุ่ม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมยางพารา ที่ จ.สงขลา , นิคมฯอากาศยาน และศูนย์ซ่อมอากาศยาน จ.นครราชสีมา , นิคมฯบริการเพิ่มรองรับอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงครบวงจร โดยจะประกาศเชิญชวนเอกชนเสนอพื้นที่ใน จ.สมุทรปราการ และปทุมธานี , นิคมฯบริการโลจิสติกส์ นิคมบริการเพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเทียวและบริการ ,นิคมฯด้านสิ่งแวดล้อมหรือพลังงาน และนิคมฯป้องกันประเทศ“ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนในกลุ่มอุตสาหกรรมแล้ว กนอ. ยังจะส่งเสริมการพัฒนานิคมภายใต้กลุ่มจังหวัด เช่น โครงการจัดตั้งนิคมฯในเขตเศรษฐกิจพิเศษใน 5 จังหวัดเป้าหมาย และตั้งนิคมฯในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เหลืออีก 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น ,นครพนม ,สกลนคร ,อุบลราชธานี ,และมุกดาหารและจะเดินหน้าโครงการจัดตั้งบริษัทในเครือเพื่อตอบสนองการลงทุนในต่างประเทศ”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชง “นครแม่สอด” นำร่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ

Posts related