ในสหรัฐอเมริกา การจัดการกองทุนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กก็ยังส่อถึงประสิทธิภาพต่ำหลายกองทุน วิธีการจัดการความชัดเจน เลยทำให้ผลลัพธ์อัตราการตอบแทนหรือไออาร์อาร์ (IRR) รวมกันแล้วยังเป็นศูนย์บทความที่แล้วได้เขียนถึงกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดของอเมริกาเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญยังมีพฤติกรรมเป็น “กองทุนผู้ป่วย” เพราะเกิดการลงทุนที่มุ่งแต่หวังเงินคืนกำไรระยะสั้นจึงขาดการลงทุนระยะยาวที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และก็มาดูกองทุนขนาดเล็กทั่วไปว่ามีการลงทุนเพื่อนวัตกรรมการตลาดเพื่อสร้างงานอย่างไรบ้างในปัจจุบันทางรัฐบาลสหรัฐให้แบงก์จ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินเก็บสะสมต่ำเกือบศูนย์ เพื่ออยากให้เกิดการลงทุนมากขึ้น แต่บริษัทและนักลงทุนต่าง ๆ ก็ยังมักจะลงทุนโดยเสนอแผนธุรกิจซึ่งมักจะสามารถคืนทุนได้ถึง 5 เท่าขึ้นไป และนักลงทุนมืออาชีพทั้งหลายจริง ๆ แล้วก็อยากได้เงินคืนบวกกำไรที่สูงมากกว่านี้อีกโดยทั่วไป แผนธุรกิจบริษัทก็มักจะเสนอคืนกำไรประมาณ 20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งมักจะคิดคำนวณการลงทุนในอนาคตจากมูลค่าในปัจจุบัน (Present Value) แล้วปรับความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไรของปีต่าง ๆ ในอนาคต (Future Value) แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าราคาของกองทุนจะมีมูลค่าเท่าไร อัตราการคืนกำไรของกองทุนก็ยังคงเป็นศูนย์ ซึ่งนักลงทุนมักจะไม่ยอมสังเกตเห็นตรงนี้นักลงทุนมักจะมองว่าหลายบริษัทที่แข่งขันหากำไรให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งโดยมากมักจะเป็นสูตรหรืออัตราคืนกำไรประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อรวมกับทุนบริษัทและนักลงทุนทุกรายรวมกัน อัตราคืนกำไรก็จะใกล้เคียงศูนย์อยู่ดี ซึ่งตรงนี้ ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม ซาลแมน ได้เรียกปัญหาตรงนี้ว่า “ตลาดลงทุนแบบสายตาสั้น”เมื่อเข้าไปศึกษาถึงตลาดการลงทุน และศึกษาลึกไปถึงการลงทุนและเพื่อการวิจัยและพัฒนา จะเห็นได้ว่ามีจำนวนน้อยบริษัทมากที่ใช้เงินเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการจ้างงาน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจแต่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มักจะเป็นบริษัทที่มุ่งผลกำไรระยะสั้นและเป็นบริษัทที่เป็นนวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพ คือลดค่าใช้จ่ายเพื่อก่อให้เกิดกำไรในระยะสั้น การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรม ตลาดการจ้างงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้จึงมักจะไม่ค่อยมีบรรดาศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดซึ่งได้มาร่วมสัมมนาศึกษาต่าง ๆ รู้สึกทุกข์ใจเพราะกระบวนการจัดสรรทรัพยากรก็ยังมุ่งสู่ผลกำไร โอกาสการเติบโตเร็วและมักจะมุ่งสู่ลูกค้าในอนาคต ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้เกิดทางตัน เพราะนักลงทุนทั้งหลายมักจะแข่งขันกันเพื่อหาผลสำเร็จง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่มีหลายบริษัทแข่งขันกันอย่างดุเดือดให้เลือกในตลาดการลงทุน การลงทุนเพื่อทำให้เกิดตลาดใหม่จึงเป็นไปได้ยากศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดหลายคนที่เป็นซีอีโอของบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กก็ยอมรับว่า “เราลืมเรื่องการลงทุนในพอร์ตหลายรูปแบบแต่มักจะมุ่งตรงไปถึงการใช้มาตรวัดทางการเงินเพื่อกำไร” ซึ่งก็ยอมรับว่ามักจะพุ่งตรงไปที่ประสิทธิภาพในการคืนกำไรในระยะสั้น ซึ่งถ้าหากมีรูปแบบของการลงทุนที่แตกต่างจากนี้ เขามักจะไม่สนใจ และธนาคารก็มักจะถูกรุมเร้าด้วยการขอกู้ยืมเงินจากบริษัทต่าง ๆ ที่มุ่งหวังผลประโยชน์ระยะสั้นซึ่งทำให้เกิดปัญหาระยะยาว แม้ว่าทางกองคลังกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Re serve) จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการลงทุนด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารให้ต่ำแต่ดูเหมือนไร้ความหมาย เพราะนักลงทุนเขาไม่สนใจอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้วปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากวิธีการอัตราของทุนเหล่านี้จึงถือว่ามีประสิทธิภาพต่ำ เพราะไม่สามารถทำให้เกิดการจ้างงานขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดผู้ประกอบการที่สามารถเคลื่อนเศรษฐกิจมาก ๆ ได้จนกระทั่งเกิดคำว่า “มือที่มองไม่เห็น (invisible hand)” ของอดัม สมิธ ที่คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง“มือที่มองไม่เห็น” ของอดัม สมิธทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาปั่นป่วนอยู่ในปัจจุบันจึงต้องมีการจัดระบบทุนนิยมแบบใหม่ของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาแข็งแกร่งจริงจากนวัตกรรมการเสริมสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งผมจะเขียนในบทความต่อไป.รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประสิทธิภาพกองทุนยังต่ำ (8) – โลกาภิวัตน์

Posts related