พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังมีนโยบายให้กรมเจ้าท่า ไปศึกษายกระดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อแก้ปัญหาเดินเรือช่วงน้ำขึ้นว่า ขณะนี้กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการปรับยกระดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง ได้แก่ สะพานพระพุทธยอดฟ้า (สะพานพุทธฯ) สะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้) และสะพานนนทบุรี (สะพานนวลฉวี) แต่หากผลการศึกษา พบว่า การปรับปรุงยกระดับสะพานต้องใช้งบประมาณเกินความจำเป็น ไม่คุ้มค่า กระทรวงคมนาคมจะพิจารณายกเลิกแนวทางการปรับยกสะพานทั้ง 3 ทันที อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาทางผู้ประกอบการเดินเรือขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ร้องเรียนมายังกรมเจ้าท่าว่า ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูฝนประมาณ 3 เดือน รวมถึงช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงทำให้เรือไม่สามารถแล่นส่งสินค้าได้ โดยเฉพาะสะพานพุทธที่มีความสูงจากแม่น้ำเจ้าพระยาต่ำสุด อยู่เหนือระดับผิวน้ำเพียง 4.7 เมตรเท่านั้น จนติดปัญหาเรือไม่สามารถแล่นรอดผ่านไปได้ ขณะที่สะพานซังฮี้สูงจากระดับผิวน้ำที่ 5.1 เมตร และสะพานนวลฉวีสูงจากผิวน้ำ 5.3 เมตร “ขณะนี้ให้กรมเจ้าท่าไปประสานงานกับ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการปรับยกระดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง เพื่อให้สะพานเหล่านี้มีระดับความสูงขึ้นเหนือผิวน้ำตามมาตรฐาน 5.6 เมตร เพื่อแก้ปัญหาการเดินเรือแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงน้ำขึ้น ให้เรือสามารถเดินเรือได้” ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดทิศทางการปรับปรุงสะพานทั้ง 3 แห่ง ถึงแนวทางความเหมาะสม ว่าหากเลือกให้มีการปรับปรุงจะใช้วิธีอะไรถึงเหมาะสม หรือกรณีไม่ปรับปรุงจะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร รวมถึงดูกรอบงบประมาณที่นำมาดำเนินการจะคุ้มค่าหรือไม่ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาอย่างละเอียด เนื่องจากผลศึกษาพบว่าปริมาณการขนส่งสินค้าทางลำน้ำเจ้าพระยา มีการขนส่งสินค้าเฉลี่ยปีละ 45 ล้านตันต่อปี และช่วงที่มีปัญหาเรือติดสะพานคือช่วงล่องขึ้นในฤดูน้ำหลากจะมีระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น ดังนั้นมีความเป็นไปได้เบื้องต้นอาจพิจารณาปรับปรุงเพียง 2 สะพาน คือ สะพานซังฮี้ และ สะพานนวลฉวี เพื่อยกระดับสะพานให้สูงขึ้น แต่ก็ต้องดูเรื่องงบประมาณที่ใช้ว่าเหมะสมหรือไม่ ส่วนสะพานพุทธไม่ต้องปรับยกสะพาน เนื่องจากเป็นโครงสร้างเก่า อีกทั้งสะพานพุทธยังเปิด -ปิด กลางสะพานได้ “การศึกษาเบื้องต้นพบว่า ทั้งสะพานซังฮี้ และ สะพานนวลฉวี หากมีการปรับยกสะพาน ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะใช้งบประมาณในการปรับปรุงที่สูงมาก โดยสะพานซังฮี้ ต้องใช้งบประมาณปรับปรุงกว่า 200-250 ล้านบาท ส่วนสะพานนวลฉวี ต้องใช้งบประมาณกว่า 400 ล้านบาท แต่คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการประชุมในรายละเอียด เพื่อสรุปถึงข้อดี ข้อเสีย ก่อนที่จะสรุปให้ รมว.คมนาคม พิจารณาต่อไป”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทบทวนแผนยกสะพานข้ามเจ้าพระยา
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs