รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มีประชาชนร้องเรียนมายังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 โดยติดต่อผ่านช่องทางต่าง ๆ กว่า 51,709 ราย รวม 18,625 เรื่อง แยกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอข้อมูล คำปรึกษา 17,632 เรื่อง ส่วนใหญ่สอบถามเกี่ยวกับการลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อไถ่ถอนพันธบัตร เนื่องจาก ธปท.เปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติ ให้ลงทะเบียนไถ่ถอนพันธบัตรล่วงหน้าได้ 1 ปี และเป็นเรื่องร้องเรียน 889 เรื่อง เป็นเรื่องการให้บริการของสถาบันการเงินต่าง ๆ จำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นการแจ้งเบาะแส รวม 75 เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับการหลอกลวงโทรศัพท์มากที่สุด รองลงมาเป็นการเสนอแนะ และให้ความเห็นแก่ ธปท. 29 เรื่อง เช่น ปรับลดค่าธรรมเนียมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างสูง และการเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรรายปี ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน และปรับลดค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มที่มีการพ่วงประกัน “จากเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 889 เรื่องนั้น เป็นร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทางการเงินของสถาบันการเงินกว่า 849 เรื่อง หรือคิดเป็น 96% ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ 464 เรื่อง คิดเป็น 55% ของเรื่องร้องเรียนบริการทางการเงิน ซึ่งเรื่องร้องเรียน 3 อันดับแรก ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ เพราะลูกค้าขาดความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ที่บางรายมีบัตรเครดิต บัตรกดเงินสดรวมกันมากถึง 14 ใบ, เงินต้นและยอดหนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตร หรือแจ้งยกเลิกใช้บริการแล้ว และการกู้เงินก้อนใหม่เพื่อไปใช้เงินกู้เดิม (รีไฟแนนซ์) เกี่ยวกับการไถ่ถอนหลักประกันล่าช้าของสถาบันการเงิน ทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์” ขณะที่ มีเรื่องเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจาก 79 เรื่อง เป็น 199 เรื่อง หรือเพิ่มขึ้น 120 เรื่อง คิดเป็น 152% เมื่อแยกเรื่องร้องเรียนด้านเงินให้สินเชื่อตามผลิตภัณฑ์ พบว่า เป็นเรื่องร้องเรียนด้านสินเชื่อบัตรเครดิตมากที่สุด 165 เรื่อง รองลงมาเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อ ทั้งนี้ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน รองลงมาเป็นเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ไม่เหมาะสม 161 เรื่อง ปัญหาจากเงินฝากหรือตั๋วเงิน 126 เรื่อง การขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และประกันภัย 66 เรื่อง และอื่น ๆ เช่น ร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการอื่นของสถาบันการเงิน หรือบริการทางการเงินที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. เป็นต้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไตรมาส3ประชาชนร้องเรียนศค.เพิ่มทุกด้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs