“กสท”เตรียมฟ้องเรียกค่าเสียหาย กสทช. สูญเกือบ 3 แสนล้านบาท ออกประกาศเยียวยา 1800 เมกะเฮิรตซ์ ชี้ ลูกค้า 17 ล้านหายจากระบบสัมปทานของ ทรูมูฟ-ดีพีซี ต้องเป็นของ กสท
เมื่อวันที่ 11 ต.ค. นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า เตรียมฟ้องเรียกค่าเสียหายกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอยกเลิกเพิกถอนมติกสทช.ที่ออกประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ 2556 (ประกาศเยียวยาคลื่น1800 เมกะเฮิรตซ์) ต่อศาลปกครอง เพราะทำให้กสท ต้องเสียลูกค้าในสัญญาสัมปทาน 17 ล้านราย สำหรับมูลค่าความเสียหายบอร์ดให้ฝ่ายจัดการไปพิจารณาอีกรอบ ให้เกิดความรอบครอบใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เนื่องจากจะส่งผลต่อค่าธรรมเนียมที่กสท ต้องจ่ายให้ศาลด้วย โดยเบื้องต้นบอร์ดอนุมัติกรอบงบค่าธรรมเนียมสูงสุด ไว้ที่ 280 ล้านบาท ในการฟ้องร้องครั้งนี้ คาดว่าภายในเดือนต.ค. จะฟ้องร้องได้ นายกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ประกาศเยียวยาคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขัดต่อกฏหมาย 3ประเด็น คือ 1.ประกาศดังกล่าวกำหนดให้เจ้าของสัมปทานคือ กสท และผู้รับสัมปทานคือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) เป็นผู้ให้บริการต่อไปในช่วงประกาศเยียวยา ทั้งๆ ที่ผู้รับสัมปทานมีข้อจำกัดของกฏหมายในการให้บริการตามมาตรา 80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งสิทธิการบริหารจัดการของผู้รับสัมปทานต้องหมดลงตั้งแต่ในวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมาแล้ว 2.ประเด็นการใช้คลื่นความถี่ที่จะไม่ขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยระบุว่าผู้รับสัมปทานสามารถบริหารคลื่นความถี่ได้เฉพาะในช่วงที่อยู่ในสัมปทานเท่านั้น ดังนั้น การใช้คลื่นความถี่ภายหลังหมดสัญญาสัมปทานผู้รับสัมปทานคือทรูมูฟ และดีพีซี จึงไม่มีสิทธินำคลื่นดังกล่าวมาบริหารจัดการ แต่กสท มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นผู้รับใบอนุญาต 3.ประกาศดังกล่าวเร่งรัดให้โอนย้ายออกจากระบบ ทำให้กสท เป็นผู้เสียหายโดยตรง เนื่องจากลูกค้าทั้งหมดภายใต้สัญญาสัมปทานราว 17 ล้านเลขหมายจะต้องย้ายมาอยู่ในระบบ 3จี มาย (3G My) ของกสท แทน และยังไม่เป็นไปตามประกาศเอ็มเอ็มพี (MMP) ที่ระบุให้โอนย้ายแบบยินยอมสมัครใจเท่านั้น ทำให้ลูกค้าดังกล่าวย้ายออกจากระบบทั้งหมด รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า กสท ได้คิดค่าเสียหายจากการออกประกาศเยียวยาดังกล่าว โดยใช้การคำนวนจากการนำอัตราค่าบริการเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน (อาปู้) ของกสทซึ่งมีอัตราขั้นต่ำอยู่ที่ราว 200-300 บาทต่อเดือน คูณด้วยจำนวนผู้ใช้บริการทั้ง 17 ล้านเลขหมาย และคิดรวมกับรายได้ไปจนถึงการสิ้นสุดใบอนุญาตของกสทในปี 2568 ที่สามารถให้บริการ 3จี มาย (12ปี) จะได้มูลค่าความเสียหายสูงถึง 275,000 ล้านบาท
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฟ้องกสทช. เยียวยาคลื่น1800 “กสท”ยับ2.7แสนล้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs