ก่อนที่อีกไม่กี่วันคนไทยจะเข้าสู่เทศกาลแห่งความสุขกับปีม้าของคนไทย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้มอบของขวัญชิ้นใหญ่ ทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการทีวีไทยครั้งประวัติศาสตร์ จากระบบอะนาล็อกมาสู่ระบบดิจิทัล ให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกยุคดิจิทัล และสร้างผู้ประกอบการฟรีทีวีจากเดิม 6 ช่องเป็นฟรีทีวี 48 ช่อง วันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา กสท.ถือฤกษ์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ได้อย่างสวยสดงดงาม โดยการประมูลทีวีดิจิทัลเพื่อให้บริการธุรกิจจำนวน 24 ช่อง และได้สร้างมูลค่ารายได้จากการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลมหาศาลกว่า 50,862 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการประมูลช่องคุณภาพคมชัดสูง (เอชดี) จำนวน 7 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล 1,510 ล้านบาทเคาะราคาครั้งละ 10 ล้านบาท ซึ่งสร้างมูลค่าในช่องเอชดีถึง 23,700 ล้านบาท โดยบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ในเครือช่อง 3 ) เคาะราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาท ส่วนช่องคุณภาพมาตรฐาน (เอสดี) จำนวน 7 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล 380 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 5 ล้านบาท สร้างมูลค่าในช่องเอสดีจำนวน 15,950 ล้านบาท โดยบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เวิร์คพอยท์) เคาะราคาสูงสุดที่ 2,355 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ช่องข่าวสารและสาระ จำนวน 7 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล 220 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 2 ล้านบาท สร้างมูลค่าในช่องถึง 9,238 ล้านบาท ผู้ประกอบการเสนอราคาสูงสุดอยู่ที่ 1,338 ล้านบาท และช่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ใบอนุญาต เริ่มต้นการประมูล 140 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 2 ล้านบาท มีมูลค่ารวมช่องเด็ก 1,974 ล้านบาท อย่างไรก็ตามใบอนุญาตทีวีดิจิทัลมีอายุ 15 ปี โดยผู้เข้าร่วมประมูลได้คำนึงถึงต้นทุนประกอบกิจการและแผนการดำเนินธุรกิจมาเป็นอย่างดี ซึ่ง กสท.เชื่อว่าผู้ประกอบการฟรีทีวีรายใหม่จะใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ที่ได้ไปใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนผู้ที่ไม่ชนะการเสนอราคานั้นสามารถเช่าใช้ช่วงเวลาหรือเช่าใช้รายการได้ตามที่ กสท.กำหนดให้มีการแบ่งเช่าช่วงช่องรายการประมาณ 10-40% เพื่อให้ผู้ที่ประกอบการรายเล็ก หรือคนที่พลาดจากการเคาะประมูลได้มีโอกาสได้อยู่อุตสาหกรรมสื่อทีวีได้ พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธาน กสท. ระบุถึงรายได้จากการประมูลครั้งนี้ นำเข้ากองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประ โยชน์สาธารณะ พร้อมทั้งจะนำรายได้จากการประมูลทีวีดิจิทัล ไปสนับสนุนการจัดทำคูปองส่วนลดในการซื้อทีวีดิจิทัลซึ่งมีจูนเนอร์ แบบบิวต์-อินในตัวเครื่อง ระบบดีวีบี ที 2 หรือ ใช้สำหรับเป็นส่วนลดกล่องเซต ทอป บ็อกซ์ เพื่อใช้รับชมทีวีดิจิทัล เบื้องต้น กสท.คาดว่าราคาคูปองส่วนลดอยู่ที่ 690-700 บาท ซึ่งการแจกจ่ายจะเริ่มต้นในเดือน เม.ย. 57 ภายหลังจากการเปิดให้บริการทีวีดิจิทัลช่วงเดือน ก.พ. 57 สำหรับคูปองส่วนลดดังกล่าว กสท.คำนวนราคาเริ่มต้นการประมูลของทั้ง 4 หมวดหมู่จำนวน 24 ช่อง (ใบอนุญาต) ซึ่งมีมูลค่าราคาเริ่มต้นรวม 15,190 ล้านบาท นำไปหารจำนวนประชากรครัวเรือน ทั้งนี้การแจกคูปองส่วนลดดังกล่าวนี้ กสท.มองว่า ต้องแจกให้ประชากรตามการเข้าถึงทีวีดิจิทัล และการสนับสนุนคูปองส่วนลดนั้นยังช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนทีวีดิจิทัลได้รวดเร็วมากขึ้น เมื่อได้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเพื่อให้บริการธุรกิจ 24 ช่องแล้ว อีก 24 ช่องแบ่งเป็นช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และช่องบริการชุมชน 12 ช่อง รวมเป็น 48 ช่อง เมื่อภารกิจการประมูลทีวีดิจิทัลแล้วเสร็จ หลังจากนี้จับตาดูเนื้อหา ผังรายการ ที่ผู้ประกอบการฟรีทีวีหน้าใหม่ต้องรับศึกหนักแข่งขันเรื่องคอนเทนต์ ที่ว่าใครจะสามารถสร้างรายการได้ครองใจผู้รับชมได้ เนื่องจากการประมูลครั้งนี้ นอกเหนือจากที่ผู้ประกอบการฟรีทีวีไม่พลาดลงสนามเคาะราคา แต่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ก็ไม่น้อยหน้าลงสนามประลองกันอย่างดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทรู ที่ส่ง 2 บริษัท อย่าง บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด คว้าช่องเอสดี และบริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด คว้าช่องข่าว กลุ่มแกรมมี่ กวาด 2 ช่องคือ ช่องเอชดี และเอสดี เครือเนชั่น โกย 2 ช่องเช่นกัน และที่มาแรงคือ บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล) ที่คว้าช่องข่าว และช่องเด็ก ส่วนฟรีทีวีเดิมอย่าง กลุ่มช่อง 3 ก็ไม่พลาดคว้ามากสุด 3 ช่องคือ ช่องเอชดี ช่องเอสดี และช่องเด็ก และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน )หรือช่อง 9 คว้าช่องเอชดี และช่องเด็ก โดยรวมถึงสิ่งที่ต้องจับตามองเมื่อทีวีดิจิทัล เริ่มเข้ารูปเข้ารอย คือ การทำวิทยุดิจิทัล โดยถือว่าเป็นฤกษ์ดีเมื่อ กสท.ได้พิจารณาความร่วมมือในการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัลร่วมกับ กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ที่มีความสามารถในการติดตั้งเครื่องรับวิทยุในระบบดิจิทัล กลุ่มผู้ผลิตเครื่องรับวิทยุในระบบดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง การทำวิทยุดิจิทัลเป็นภารกิจของ กสท.หลังจากนี้ เนื่องจากในปัจจุบันวิทยุเกิดปัญหา อาทิ การรบกวนวิทยุการบิน การโฆษณาอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย ที่สร้างผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินแก่ผู้บริโภค โดยในขณะนี้วิทยุในประเทศไทยมีกว่า 7,000 สถานี โดย กสท.เร่งพยายามดึงผู้ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการกำกับดูแลก่อนเพื่อจัดระเบียบให้เท่ากัน ซึ่งคาดว่าหากเกิดวิทยุดิจิทัล ปัญหาที่กล่าวมาจะหมดไป อย่างไรก็ตามยุคดิจิทัล ก้าวเข้ามาในประเทศไทย การประมูลทีวีดิจิทัลถือเป็นการพลิกวงการทีวีให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับข่าวสารหลากหลาย. สุรัสวดี สิทธิยศ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช. จบประมูลทีวีดิจิทัลอู้ฟู่งานต่อไปเตรียมลุยวิทยุดิจิทัล
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs