แม้คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง. เมื่อปลายปีที่ผ่านมาจะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 2.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วก็ตาม แต่หลากหลายคำถามที่ตามมาคือ หลังจากนี้ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร? ขณะที่บรรดาสำนักวิจัยต่างฟันธงตรงกันว่า ในปี 57 นี้ดอกเบี้ยของไทยจะอยู่ในช่วงขาขึ้นแน่นอน เพราะเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มผงกหัวขึ้น โดยเฉพาะมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหรือคิวอี อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดอกเบี้ยที่เคยราบเรียบติดดินมานานแสนนานอย่างสหรัฐจะค่อย ๆ ขยับขึ้น ขณะที่ประเทศอื่นทั่วทุกมุมโลก จะเริ่มขยับขึ้นตามเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ใครต่อใครฝันเห็นอัตราดอกเบี้ยของไทยจะเบ่งบานอีกครั้ง แต่ในฟากของนายแบงก์ต่างมองว่าอนาคตต้นทุนดำเนินงานจะต้องเพิ่มขึ้น และหลีกหนีไม่พ้นศึกแห่งต้นทุนแน่นอน ยิ่งแบงก์ไหนที่ทุนหนาก็ยิ่งออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่เรียกได้ว่าขนมาอัดคู่แข่งกันอย่างเต็มที่ มีการปรุงแต่ง เติมลูกเล่น เพื่อหวังมัดใจลูกค้าที่แยกย่อยตามวิถีชีวิตของสังคมที่แตกต่างกันไป แต่ต้องยอมรับว่ายามที่เศรษฐกิจชะลอตัว การเมืองไม่แน่นอน การลงทุน 2 ล้านล้านบาทจะขยับหรือไม่ ทำให้ภาพรวมสินเชื่อยังไม่ขยับมากนัก บรรดานายแบงก์จึงไม่ต้องแข่งขันดอกเบี้ยสูงเพื่อระดมเงินฝาก เพื่อนำเงินมาปล่อยสินเชื่อเหมือนกับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ความคาดหวังว่าจะเห็นศึกดอกเบี้ยเงินฝากสูงแบบ “ยั้งกันไม่อยู่ ยอมกันไม่ได้” นั้นมีโอกาสเป็นไปได้น้อย เพราะต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น ดังนั้นจะเห็นเพียงแค่การเสนอแคมเปญแค่ระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ผ่านแคมเปญเงินฝากดอกเบี้ยสูง 3 เดือน 6 เดือน หรือสูงสุดคือ 24 เดือน เป็นต้น เนื่องจากการให้ดอกเบี้ยสูงหากทำเป็นเวลานาน หมายถึงต้นทุนของแบงก์ที่เพิ่มขึ้น แม้จะมีในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับสูงเข้ามาทดแทนก็ตาม แถมยังส่งผลต่อกำไรของแบงก์ลดลงซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นยากจะยอมรับได้ ประกอบกับสภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั้งต่างประเทศและในประเทศ แบงก์จึงเริ่มแตะเบรก “แคมเปญดอกเบี้ยสูง” ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายก็ปรับลดลง การจะมาแข่งให้ดอกสูงอาจขัดกับความต้องการของทางการก็เป็นได้ งานนี้แบงก์จึงหวั่นว่าลูกค้าจะหดหาย…จึงเร่งงัดกลยุทธ์สร้างแบรนด์ ปรับโฉมสาขา การให้บริการที่โดนใจเพื่อนำมารับศึกกับคู่แข่ง มากกว่าที่จะงัดกลยุทธ์ดอกเบี้ยมาแข่งขันเหมือนอดีตที่ผ่านมาอีก การปรับตัวเช่นนี้จะเห็นได้ชัดจาก “ธนาคารกสิกรไทย” ที่เน้นวิธีการผลักดันแบรนด์ “กสิกรฯ” ให้เข้าไปนั่งอยู่ในใจของลูกค้ากว่า 10 ล้านคน ภายใต้การขับเคลื่อนแบบ “บริการทุกระดับ ประทับใจ” ด้วยการงัดกลยุทธ์ทุกด้านเริ่มตั้งแต่รูปแบบของสาขาให้ทันสมัย โดยใช้งบประมาณกว่า 500 ล้านบาท การให้บริการของพนักงานที่สะดวก และรวดเร็ว รวมไปถึงการเข้าถึงลูกค้าแบบเรียลไทม์ เห็นได้ชัดจากการโฟกัสกลุ่มตลาดใหม่ที่ต้องการให้ลูกค้าเห็นว่า การทำธุรกรรมทางการเงิน การเข้าถึงธนาคารไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัวอีกต่อไป โดยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา การให้บริการไวไฟฟรีทุกสาขา และนิตยสารบนไอแพด การพัฒนาช่องทางสาขาให้ลูกค้าใช้บริการธนาคารได้ทุกที่ทุกเวลา และทำการพัฒนารูปแบบช่องทางบนดิจิทัล แบงกิ้งให้มากขึ้น แทนที่จะใช้วิธีการอัดแคมเปญให้ดอกเบี้ยสูงเพื่อเรียกลูกค้า… แม้แต่ “ไทยพาณิชย์” ก็กระโดดเข้าวงการนี้ด้วยเช่นกัน เห็นได้จากการลงทุนเพื่อปรับรูปลักษณ์ของสาขา การให้บริการ การวางจุดยืนของแบงก์ที่มีความชัดเจนมากขึ้น การให้บริการของพนักงานที่เน้นความเป็นกันเองและรวดเร็ว ให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร เน้นเพิ่มความสะดวกสบาย โดยเฉพาะการชำระเงินค่าสินค้าและบริการที่มีการร่วมมือกับห้างค้าปลีก ส่วนในเรื่องของการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยนั้นคงต้องรอดูภาวะเศรษฐกิจ และการขยายตัวของสินเชื่อด้วยว่ามีความต้องการเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ จำเป็นต้องระดมเงินฝากและนำเรื่องดอกเบี้ยมาชูโรงหรือไม่ ขณะที่ฟากของแบงก์ขนาดกลางอย่าง “ซีไอเอ็มบี ไทย” ธนาคารอันดับ 2 ของมาเลเซีย และอันดับ 8 ของอาเซียน ที่แม้จะไม่ได้โฟกัสเป้าหมายว่าไทยเป็นสนามแข่งขันสำคัญเพราะสนามแข่งขันที่แท้จริงคืออาเซียนก็ตาม แต่ก็ให้ความสำคัญที่จะให้บริการเช่นเดียวกับแบงก์ใหญ่ โดยเฉพาะการให้บริการแบบครบวงจร เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด แทนที่จะใช้กลยุทธ์ดอกเบี้ยเพื่อดึงลูกค้า เรียกได้ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้นับเป็นสีสันของแวดวงทางการเงินรูปแบบใหม่ ที่ไม่ว่าแบงก์เล็ก แบงก์ใหญ่ก็กระโดดเข้าวงการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ครอบคลุมไปพร้อมกับการให้บริการลูกค้าที่แข็งแกร่ง เพราะหากมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนอง แต่การให้บริการไม่โดนใจอาจเข้าไม่ถึงหัวใจของลูกค้าที่เป็นผู้รับบริการก็ได้ ดังนั้นกลยุทธ์หลังจากนี้ของหลากหลายแบงก์อาจไม่ใช่ศึกดอกเบี้ยสูงดึงเงินฝาก แต่อาจเป็นการมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย การบริการที่ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความใส่ใจถึงจะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่นและสร้างกำไรได้อย่างงอกงาม. ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แบงก์รุกให้บริการมัดใจลูกค้า เมินงัดกลยุทธ์ดอกเบี้ยแข่งขัน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs