ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่ ’กรุงเทพมหานคร“ ได้แปลงสภาพจากศูนย์กลางทางการค้าการลงทุน ไปเป็นสมรภูมิม็อบและเกมแก่งแย่งอำนาจทางการเมือง ส่งผลให้ ’กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร“ ต้องหม่นหมอง และเต็มไปด้วยปัญหาทางความคิด ความเป็นอยู่ การทำมาหากินที่แสนลำบาก และยิ่งในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ที่กลุ่ม กปปส. ประกาศชัตดาวน์กรุงเทพฯ ก็น่าหวั่นวิตกไม่น้อยว่า กรุงเทพฯ จะโกลาหล และอยู่ยากขึ้นอีกแค่ไหน ทีมเศรษฐกิจเดลินิวส์เลยขอรวบรวมแผนบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้เตรียมรับมือในยุคม็อบครองเมืองกัน เริ่มต้นกันที่ “แผนรับมือด้านการคมนาคมขนส่ง” กระทรวงคมนาคมได้ประเมินผลกระทบว่า การปิดการจราจรครั้งนี้จะมีผู้ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 2.3 ล้านคน และกระทบต่อการเดินทางโดยตรงอีก 4.8 ล้านเที่ยว หรือ 26% ของการเดินทางทั้งหมดโดยมีถนนที่ควรหลีกเลี่ยงเดินทางหากไม่จำเป็น คือ ถนนวิภาวดีรังสิต พหลโยธินสุขุมวิท และถนนพระราม 4 สำหรับแผนรับมือจะเน้นการลดใช้รถยนต์ส่วนตัว และให้ประชาชนหันมาใช้ระบบการขนส่งสาธารณะแทน พร้อมกับแบ่งพื้นที่ 5 โซน ให้ประชาชนนำรถส่วนตัวไปจอดฟรีถึง 40 จุด 1.7 หมื่นคัน เพื่อรอต่อรถเข้ากรุงเทพฯ อีกที ประกอบด้วย โซนที่ 1 ซึ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ที่มีการปิดจราจรของกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. รองรับรถยนต์ได้ 1,410 คัน คือสำนักงานใหญ่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พระราม 9 รองรับได้ 1,000 คัน ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช ตรงข้ามวัดพระราม 9 รองรับได้ 120 คัน สนามกีฬาจรัญบูรพรัตน์ตรงข้ามสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสันรับได้ 120 คัน ใต้ทางด่วนพระราม 9 ของ กทพ. รองรับ 80 คัน ด่านรัชดาภิเษกข้างบึงมักกะสันรองรับได้ 40 คัน ทางเข้าด่านดาวคะนองจอดได้ 50 คัน โซนที่ 2 ฝั่งทิศเหนือของ กทม. มีจุดจอดรถยนต์ 7 จุด รองรับได้ 3,270 คัน คือห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต รับได้ 500 คัน สถานีรถไฟรังสิต 350 คัน ที่จอดรถของบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) บริเวณรังสิต 100 คัน ลานจอดรถหน้าคลังสินค้าท่าอากาศยานดอนเมือง 2,000 คัน ใต้ทางด่วนแจ้งวัฒนะ 50 คัน สนามกีฬาเคหะคลองจั่น 200 คัน และต่างระดับวัชรพล 70 คัน โซนที่ 3 ฝั่งตะวันออกของ กทม. มี 9 จุด รองรับได้ 7,405 คัน เช่นสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน 2,000 คัน ฉลองกรุงพลาซ่า บนถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง 200 คัน ตลาดนัดสนามบินสุวรรณภูมิ 200 คัน บริเวณที่ว่างข้างหมู่บ้านมณสิณี 500 คัน จุดจอดรถสนามบินสุวรรณภูมิ 3,575 คัน สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ลาดกระบัง 500 คัน สถานีรถไฟหัวตะเข้ 230 คัน สถานีรถไฟหัวหมาก 120 คัน พื้นที่กทพ.ต่างระดับศรีนครินทร์ 80 คัน โซนที่ 4 ฝั่งทิศใต้ มีทั้งหมด 8 จุด รองรับได้ 4,670 คัน คือ เซ็นทรัลพระราม 2 จำนวน 3,200 คัน บิ๊กซีเคหะธนบุรี 600 คัน เดอะมอลล์บางแค 300 คัน บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ 300 คัน หมวดการทางบางขุนเทียน ถนนพระราม 2 จำนวน 50 คัน ต่างระดับบางขุนเทียน 40 คัน หน้าด่านบางครุ 120 คัน และบริเวณหน้าด่านบางแก้ว 60 คัน โซนที่ 5 ฝั่งตะวันตก มีทั้งหมด 8 จุด รองรับได้ 980 คัน คือ ที่จอดรถ ขสมก.ข้างสถานีลอยฟ้า 300 คัน สถานีบางบำหรุ 120 คันสถานีรถไฟบางซ่อน 200 คัน สถานีรถไฟศาลายา 100 คัน สถานีรถไฟตลิ่งชัน 110 คัน ท่าเรือสะพานพระราม 5 ของกรมทางหลวงชนบท 50 คัน และที่จอดรถของทางด่วนศรีสมาน 60 คัน และทางด่วนต่างระดับบางพูน 40 คัน บริการเที่ยวรถเพิ่มขึ้น หลังจากประชาชนนำรถไปจอดแล้วสามารถเดินทางต่อได้ด้วยรถเมล์ รถชัตเติลบัส รถไฟ รถไฟฟ้า และเรือด่วน โดยมีการเพิ่มเที่ยวและขยายเวลาให้บริการเพิ่ม ดังนี้ ทางเรือ ได้มีการเพิ่มเที่ยววิ่ง ทั้งเรือด่วนเจ้าพระยาและคลองแสนแสบ รองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็นวันละ 60,000 คน พร้อมกับจัดเที่ยวเรือพิเศษเพื่อรับ–ส่งผู้โดยสาร 7 ท่าเทียบเรือ ได้แก่ ท่าปากเกร็ด, ท่านนทบุรี, ท่าพระราม 5, ท่าพระราม 7, ท่าเกียกกาย, ท่าวังหลังและท่าเรือสาทร และเปิดเส้นทางเดินเรือเสริมเพื่อให้บริการประชาชนได้แก่ เส้นดาวคะนอง-สาทร และเส้นบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ–สาทร สอบถามรายละเอียดกรมเจ้าท่า 1199 ตลอด 24 ชั่วโมง รถชัตเติลบัส ฟรี จัดบริการ 9 สาย ได้แก่ สาย 1 รังสิต-ดอนเมืองโทลล์เวย์-ถนนกาญจนาคม-บีทีเอสสนามเป้า สาย 2 สะพานใหม่-พหลโยธิน-รัชดาภิเษก-เอ็มอาร์ทีลาดพร้าว สาย 3 วัชรพล-ทางด่วนฉลองรัช-สุขุมวิท 50-บีทีเอสอ่อนนุช สาย 4 มีนบุรี-ทางด่วนฉลองรัช-พระราม 9-เอ็มอาร์ที พระราม 9 สาย 5 ห้างอีเกีย-บางนา-บีทีเอสบางนา สาย 6 พระราม 2-ทางด่วน 2-พระราม 4-เอ็มอาร์ทีคลองเตย สาย 7 พระราม 2-สุขสวัสดิ์-บีทีเอสวงเวียนใหญ่ สาย 8 บางแค-เพชรเกษม-บีทีเอสบางหว้า และสาย 9 พุทธมณฑล-ราชพฤกษ์-บีทีเอสบางหว้า รถไฟฟ้า เอ็มอาร์ที เพิ่มรอบรองรับผู้โดยสารจากวันละกว่า 200,000 คน เป็น 300,000 คน รถไฟฟ้าบีทีเอสได้นำขบวนรถทั้ง 50 ขบวนคอยให้บริการรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 780,000 คน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เพิ่มเที่ยวรองรับได้ 5,000 คนต่อชั่วโมง โดยหากจำเป็นจะขยายเวลาให้บริการจากเที่ยงคืนเป็นตี 2 รถเมล์ จะประเมินปรับเปลี่ยนเส้นทางในวันจริงอีกครั้ง โดยผู้โดยสารสามารถตรวจเช็กเส้นทางที่ โทร. 1348 รถไฟ ได้เพิ่มความถี่ของรถไฟชานเมืองมากขึ้นจาก 30 นาที เป็น 15 นาทีต่อขบวน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเข้าออกกรุงเทพฯได้ทั้งรถไฟชานเมืองฝั่งทิศเหนือ รังสิต ไปบางซื่อ สถานีรถไฟหัวลำโพง หรือฝั่งทิศใต้จากนครปฐมไปหัวลำโพง ข้อแนะนำเพิ่มเติม ช่องทางสอบถามข้อมูลการเดินทาง ติดตามเส้นทางการเดินทาง รถสาธารณะ จุดจอดรถของกระทรวงคมนาคมจัดไว้ได้ตลอดเวลาผ่าน www.mot.go.th และทางวิทยุ สวพ. 91, จส.100 สายด่วน 1356 หรือ 1584 การเดินทางโดยรถสาธารณะ รถเมล์ในกรุงเทพฯ ให้เผื่อเวลาเพิ่ม 1 เท่าตัว ขณะที่การเดินทางออกต่างจังหวัดจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ จตุจักร สายใต้ เอกมัย ให้เผื่อเวลาเดินทาง 2-3 ชั่วโมง และเปิดให้ผู้เดินทางสายเหนือและอีสาน ขึ้นรถได้เพิ่มที่สถานีเดินรถรังสิตแจ้งเปลี่ยนสถานี เลื่อน หรือยกเลิกการเดินทาง โทรศัพท์ 0-2936-2963 หรือ 1490 ขณะที่การเดินทางโดยเครื่องบิน ให้เผื่อเวลาเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 ชั่วโมง เป็น 4 ชั่วโมงเพื่อป้องกันตกเครื่อง พร้อมแนะให้เดินทางด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เส้นทางเลี่ยงไปสนามบินดอนเมือง แนะนำ เส้นทางด่วนแจ้งวัฒนะ โดยลงที่ทางด่วนขาออก “ศรีสมาน” จากนั้นมุ่งหน้าไปถนน “สรงประภา” ตรงไปสุดทาง และเลี้ยวซ้ายเข้า “ถนนเชิดวุฒากาศ” ตรงไปจนถึง 3 แยกไฟแดง จากนั้น “เลี้ยวขวา” ข้ามทางรถไฟเพื่อขึ้นสะพานกลับรถ เพื่อเข้าสู่ถนนวิภาวดีและ สนามบินได้ ขณะที่ สนามบินสุวรรณภูมิ ได้เพิ่มรอบรถชัตเติลบัส วิ่งบริการรับ-ส่งกับสนามบินดอนเมืองถี่ขึ้นรวมถึงเพิ่มจุดไปรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อ่อนนุชและสถานีรถไฟลาดกระบัง โดยสามารถขึ้นรถได้ที่อาคารผู้โดยสาร ชั้น 1 บริเวณประตู 3 ขณะเดียวกันยังตั้งศูนย์กลางประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการ และสายการบิน โทร. 1722 ตลอด 24 ชั่วโมง การบินไทย ประกาศปิดให้บริการที่สำนักงานใหญ่ถนนวิภาวดีรังสิต และสนง.ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ วันที่ 13 ม.ค.แต่ยังเปิดให้บริการที่ สนง.หลานหลวง สีลมและอาคารผู้โดยสารขาออกชั้น 4 ท่าอากาศยานสุวรรรณภูมิ ตามปกติ ส่วนผู้โดยสารที่เปลี่ยนแปลงเที่ยวบินทุกประเภททำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ส่วนการใช้บริการรถไฟฟ้า แนะนำให้ซื้อตั๋วรายวัน หรือตั๋วเติมเงินเพื่อแก้ปัญหารอคิวนานในการซื้อตั๋ว การปรับระบบจราจร ให้เพิ่มจุดกลับรถพิเศษก่อนถึงบริเวณที่มีการชุมนุมประมาณ 500 เมตรจำนวน 12 จุด ได้แก่ ถนนวิภาวดี รังสิต สุขุมวิท ลาดพร้าว สาทร สีลม เพชรบุรีตัดใหม่ พระราม 9 พระราม 4 รัชดาภิเษก ราชดำเนินกลาง ราชวิถี และพหลโยธินเพื่อให้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น ๆ ได้ ส่วนทางด่วนให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ปิดทางลงบางจุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหารถติดสะสม และกระทบต่อการจราจรบนทางด่วน เบื้องต้นกำหนดปิด 6 จุด คือ ทางลงสีลม หัวลำโพง ยมราช อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สุขุมวิท และพระราม 4 ศูนย์รับมือการท่องเที่ยว ผลกระทบที่เกิดขึ้นอีกด้านหนีไม่พ้นเรื่องท่องเที่ยว ที่มีการคาดการณ์ภาพรวมการท่องเที่ยวในไตรมาสแรกซึ่งอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวจะหดตัว 5% หรือสูญเสียรายได้ 12,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวไว้ ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย ศูนย์หัวหมากติดต่อได้ 0-2319-9653 และ 0-2213-9659 พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วม ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ติดต่อที่ 08-9343-9070 ท่าอากาศยานดอนเมือง โทร. 08-9445-8678 ส่วนจุดรับเรื่องและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจะมีทั้งหมด 5 จุด ได้แก่ สถานีบีทีเอสสยาม, บีทีเอสพญาไท, บีทีเอสเอกมัย, บีทีเอสวงเวียนใหญ่, เอ็มอาร์ทีหัวลำโพง ติดต่อได้ที่ 08-1595-1616 นอกจากนี้จะมีจัดจุดบริการรับ-ส่งนักท่องเที่ยวไปสนามบิน (ในกรณีฉุกเฉิน) 3 ชุด ได้แก่ โรงแรมอีสตินแกรนด์ (สาทร) โรงแรมวินเซอร์สวีทสุขุมวิท 18, โรงแรมทวิน ทาวเวอร์ ได้ที่ 3 เบอร์โทร. 08-1839-1386, 08-1611-8644 และ 08-9200-8762 ศูนย์ดูแลปัญหาปากท้อง มาที่ด้านอาหารปากท้องของชาวบ้านและการค้าขายของภาคธุรกิจ ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ยังยืนยันไม่ปิดกระทรวงแต่ก็ได้เตรียมแผนฉุกเฉินเผื่อรองรับสิ่งไม่คาดฝันขึ้น โดยมีแบ่งการดูแลเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรกเกี่ยวกับการหาซื้อจับจ่ายสินค้าได้มีการตั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองไม่ปกติต่อภาวะสินค้าหรือ ศปบส. เพื่อรับร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาสินค้า หากพื้นที่ใดขาดแคลนหรือสินค้าขึ้นราคาสูงผิดปกติ ติดต่อได้สายด่วน 1569 พร้อมให้ห้างสรรพสินค้าเพิ่มการสต๊อกสินค้าอีก 1 เท่าตัวด้วย การติดต่อธุรกรรมทางธุรกิจ ขณะที่การดูแลธุรกรรมของภาคธุรกิจได้จัดแผนสำรองไว้กรณีกระทรวงพาณิชย์ปิดทำการ ได้เตรียมบริการไว้ ดังนี้ การขอใบอนุญาตการส่งออก-นำเข้า ให้ติดต่อ สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 3 (ชลบุรี) โทร. 0- 3834-1173– 4 การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ติดต่อที่สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารศุลกากรตรวจ สินค้าขาออก โทร. 0-2134-0941–2 และสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 3 (ชลบุรี) บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรเครื่องหมาย การค้า และศูนย์บริการร่วมกระทรวงพาณิชย์และศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จติดต่อได้ที่ อาคารกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เขตจตุจักร กท. โทร. 0- 2512-0123 บริการจดทะเบียนจัดตั้ง เลิกธุรกิจห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคล และธุรกิจของคนต่างด้าวในไทย ติดต่อได้ผ่านสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1–6 ในเขตกรุงเทพมหานคร เขต 1 ปิ่นเกล้า 0-2446-8160–9 เขต 2 พหลโยธิน 0-2618-3348 เขต 3 รัชดาภิเษก 0-2276-7254 เขต 4 สุรวงศ์ 0-2266-5854 เขต 5 บางนา 0-2348-3803–4 และเขต 6 ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ โทร. 0-2143 7921-2 การขออนุญาตขนย้ายสินค้าควบคุมตามประกาศ กกร. ปี 2556 ติดต่อที่สำนักงานการค้าภายใน จ.ปทุมธานี โทร. 0-2567-0948 บริการให้คำปรึกษาการค้าระหว่างประเทศบริการขององค์การคลังสินค้า โครงการรับจำนำ โทร. 0-3536-6434 แบงก์เตรียมเงินสดไม่ขาดมือ หันกลับมาดูแผนรับมือของแบงก์พาณิชย์ไทยโดยแต่ละธนาคารให้อำนาจผู้จัดการสาขาธนาคารที่อยู่ในจุดพื้นที่เสี่ยงชี้ขาดว่า จำเป็นต้องเปิด หรือปิดทำการหรือไม่ พร้อมเตรียมสำรองเงินสดล่วงหน้าไว้เต็มพิกัด ทั้งในสาขาและตู้เอทีเอ็ม เพื่อรองรับการเบิกถอนของลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมและพื้นที่ใกล้เคียงพร้อมกับให้ความมั่นใจไม่ว่าการชุมนุมยืดเยื้อแค่ไหนจะไม่มีผลต่อการให้บริการทางการเงินเพราะสำรองเงินสดของแบงก์ที่สาขาและตู้เอทีเอ็มสามารถใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 7-10 วันทำการและพร้อมติดตามความเคลื่อนไหวผลกระทบตลอดเวลา ปั๊มน้ำมัน–ไฟฟ้า ดูแลไม่ขาดแคลน สำหรับแผนการรับมือในส่วนของพลังงาน ได้วางมาตรการรับมือไว้ทั้งการดูแลการผลิตไฟฟ้า การให้บริการของสถานีบริการน้ำมันในพื้นที่เสี่ยง โดยมีแผนการสำรองพลังงานเป็นปกติอยู่แล้วจึงเชื่อว่า ครั้งนี้จะไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงานอย่างแน่นอนโดยเฉพาะปั๊มน้ำมัน ในรัศมีประมาณ 2 กม. จากจุดชุมนุม ซึ่งมีสถานีบริการน้ำมัน 73 แห่ง สถานีบริการเอ็นจีวี 7 แห่ง และสถานีบริการแอลพีจี 21 แห่งให้บริการได้ และพร้อมปิดหากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นทันที สุดท้ายนี้ในการเดินทางวันที่ 13 ม.ค.นี้ ขอให้ประชาชนเดินทางด้วยความใจเย็น อย่าอารมณ์เดือดตามอุณหภูมิการเมือง และหวังว่าการประกาศชัตดาวน์กรุงเทพฯ ครั้งนี้ จะผ่านพ้นไป และเป็นเงื่อนไขสุดท้าย กับการจับความทุกข์ร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเสียที. ทีมเศรษฐกิจ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดแผนรับมือชัตดาวน์กรุงเทพฯ เส้นทางหนีกรุง-ยุคม็อบครองเมือง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs