นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลัง เดือนธ.ค. และไตรมาสที่ 4 ปี 56 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณหดตัว เนื่องจากขยายตัวได้ในระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพ ทั้งการใช้จ่ายภายในประเทศและการผลิต เพราะได้รับปัจจัยลบจากสถานการณ์ทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดือน ธ.ค. ลดลงเหลือเพียง 6.7% ต่อปี หรือติดลบ 3.9% ต่อเดือน ขณะที่ ภาคการส่งออกสินค้าคาดว่าเริ่มมีทิศทางปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่งผลให้เศรษฐกิจไทย ปี 56 จะขยายตัวเพียง 2.8% ต่อปี ตามที่ สศค.ได้ประเมินไว้ ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณหดตัว โดยเฉพาะจากการบริโภคสินค้าคงทน สะท้อนได้จากปริมาณจำหน่ายรถยนต์ เดือน ธ.ค.56 ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 อยู่ที่ 28.3% ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 56 ติดลบ 39.7% ต่อปีขณะที่ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ แม้ว่าขยายตัวได้ 3.1% ต่อปี แต่ส่วนหนึ่งมาจากฐานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของ เดือน ธ.ค. ที่ต่ำ ทำให้ภาพรวมไตรมาส 4 ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ยังคงติดลบ 1%ต่อปี สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ติดลบ 14.5% ต่อปี ทำให้ไตรมาส 4 ติดลบ 24.1% ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอตัวจากช่วงก่อนหน้า โดยประเมินจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ เดือน ธ.ค. ขยายตัวที่ 9.1% ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ยังคงขยายตัวอยู่ 9.1% ต่อปี แต่ชะลอลงจากไตรมาส 3 ที่ขยายตัว 22% ต่อปี สะท้อนถึงภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มทรงตัว ขณะที่ ภาคการผลิตมีสัญญาณชะลอตัวลง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค.56 ยังคงติดลบต่อเนื่องที่ 6.1% ต่อปี โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ติดลบในระดับสูง ได้แก่ อาหาร, ยานยนต์, และเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ เครื่องหนัง, วิทยุโทรทัศน์, และการปั่นการทอ ซึ่งหากประเมินเป็นไตรมาส พบว่าไตรมาส 4 ปี ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงติดลบ 7.1% ต่อปี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 25 เดือน อยู่ที่ระดับ 88.3 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธ.ค.อยู่ในระดับต่ำที่ 1.7% อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.6% ของกำลังแรงงานรวม สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธ.ค.อยู่ในระดับสูง ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า สามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศค.ชี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs