นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ก.พ. นี้ ที่จะประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ส.อ.ท. จะหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะภาคเอสเอ็มอี ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ทั้งนี้แนวทางเบื้องต้นที่ส.อ.ท. จะเสนอช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน คือ ให้ความรู้ในการลดต้นทุนผลิตสินค้า รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้า และการหาช่องทางการจำหน่ายเพิ่มเติม ซึ่งจะให้ความรู้เป็นพื้นที่ๆ หรือเป็นกลุ่มอุตฯ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ นำไปปรับใช้ โดยผู้ประกอบการเอง ควรให้ความสนใจแนวทางการลดต้นทุน เพื่อนำไปปรับใช้อย่างจริงจัง รวมทั้งจะหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมของกกร.ว่า จะมีแนวทางใดช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้บ้าง “ตอนนี้ผมไปที่ไหน ก็มีแต่เสียงคนมาบ่นให้ฟังว่า ขายสินค้าไม่ค่อยได้ บางรายก็มาบอกว่า พวกผู้ประกอบการกันเองที่สั่งสินค้าแล้วไปขายต่อ เริ่มมีการเบี้ยวหนี้กันแล้ว หรือบางรายจากเดิมก็จ่ายเต็มวงเงิน แต่ตอนนี้ก็ขอทยอยจ่าย บางคนทวงหนี้ก็เงียบหายเลย บอกว่า ขายของไม่ได้ ไม่รู้จะนำเงินที่ไหนมาจ่าย บางรายที่เป็นผู้ส่งออก ก็เริ่มบ่นยอดเออเดอร์ ชะลอลงแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็ต้องพยายามทำความเข้าใจกับคู่ค้าต่างชาติให้เชื่อมั่นในการสั่งสินค้ากับไทย” นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สมาคมเอสเอ็มอีไทย) กล่าวว่า ได้ส่งแบบสอบถามผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง ให้สมาชิกเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 8,000 ราย ระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้ยอดขายชะลออย่างชัดเจน และมีสถานการณ์ชะลอการจ่ายค่าสินค้า หรือจ่ายไม่เต็มวงเงินแล้ว ซึ่งต้องการให้ทุกฝ่าย หาข้อยุติโดยเร็ว เนื่องจากหากสถานการณ์ยืดเยื้อนานเท่าไร ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะได้รับผลกระทบมากเท่านั้น อย่างไรก็ตามแนวทางที่ต้องการให้ภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คือ หาวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบเอสเอ็มอี เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 3 % รวมทั้งต้องการให้ภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ เนื่องจากขณะนี้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถขายสินค้าได้ เพราะผู้บริโภค ไม่มีอารมณ์ในการใช้จ่าย “ผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนสายป่านสั้น ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนหมุนวียน จากแบบสอบถามตอยบเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า ได้รับผลกระทบอย่างมากแล้ว บางคนก็บอกว่า จ่ายเดิมคู่ค้าที่ซื้อของกันเอง จ่ายเต็มวงเงิน ตอนนี้เริ่มจ่ายไม่เต็มแล้ว เช่น เดิมจ่ายเต็ม 5 แสนบาท ตอนนี้ก็ขอจ่ายครั้งละ 1 แสนบาท และก็มีหลายรายไม่กล้าลงทุนเพิ่ม หรือซื้อของมาขายเพิ่ม เพราะไม่รู้ว่า ในอนาคตจะมีเงินมาจ่ายหนี้ได้หรือไม่ ตอนนี้กระทบกันเป็นลูกโซ่ทั้งหมด”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กกร.หารือพรุ่งนี้ช่วยเอสเอ็มอีหลังอาการโคม่า
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs