นับเป็นครั้งแรก ในรอบ19 ปี ที่ “วันแห่งความรัก” ของ“โลกตะวันตก” เวียนมาตรงกับวันสำคัญทางศาสนาของ “โลกตะวันออก” นับตั้งแต่ปี 38เป็นต้นมา ที่ “วันวาเลนไทน์”14 กุมภาพันธ์ มาบรรจบครบรอบตรงกับ วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี ที่เรียกว่า“มาฆบูชา” ซึ่งเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง“โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน 14 ก.พ. 57 ปีนี้ มีความพิเศษ คือนอกจากเป็นทั้งวันวาเลนไทน์และวันมาฆบูชาแล้ว ยังเป็นวันหยุดยาวติดต่อกัน 3 วันในช่วงสุดสัปดาห์ ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง จึงทำให้ประชาชนทั่วไปมีกิจกรรม ที่จะเลือกออกไปทำหลากหลาย ในช่วงเทศกาลแห่งความรักนี้มากขึ้นกว่าเดิมในเชิงเศรษฐกิจนั้น “ธนวรรธน์ พลวิชัย” ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาล พบว่าจะมีเงินสะพัด 6,251 ล้านบาท คึกคักน้อยกว่าปีก่อนหน้า เพราะประชาชนส่วนใหญ่วิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหา “เศรษฐกิจที่ชะลอตัว” สวนทางกับ “ราคาสินค้าที่แพงขึ้น” ทุกอย่าง ขณะที่สถานการณ์ทาง “การเมือง”ยังไม่มีวี่แววว่าจะยุติลงเมื่อใด จึงไม่มั่นใจว่าเงินในกระเป๋าจะมีมากเพียงพอต่อการใช้จ่ายดำรงชีวิตในอนาคตอันใกล้นี้มากน้อยเพียงใดส่งผลให้การใช้จ่ายสำหรับ วันวาเลนไทน์ มีเงินสะพัดเพียง3,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% ถือเป็นการเพิ่มที่ต่ำที่สุดในรอบ 8 ปีทั้ง ๆ ที่ปีนี้คนไทยให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากขึ้นโดยตลอด10 ปีที่ผ่านมา หรือ 41.9% แต่กลับซื้อสินค้าต่อชิ้นให้คนรักน้อยลงและเลือกฉลองแบบประหยัดทำให้สินค้า หรือร้านอาหารราคาแพงนั้น อาจมีคนบางตากว่าปีก่อน โดยมีการใช้จ่ายเฉลี่ยรวมคนละ1,813บาท เพิ่มขึ้นจากปี 56 ที่ใช้เพียง 1,509 บาท และใช้เงินซื้อของขวัญให้คู่รักของตนเองเฉลี่ยเพียง 996 บาท แม้เป็นยอดเงินที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปี 56 ที่เฉลี่ย 883 บาท แต่นั่น…เป็นเพราะราคาสินค้าที่แพงขึ้นเนื่องจากปริมาณการซื้อนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อน ขณะที่กิจกรรมที่นิยมทำในวันวาเลนไทน์มากที่สุดยังคงเป็น การซื้อดอกไม้ 78.5% รองลงมา คือ ทานอาหารนอกบ้าน หรือไปท่องเที่ยวที่ต่าง ๆ รวมถึงการเดินห้างสรรพสินค้า การบอกรัก ซื้อช็อกโกแลตให้ส่งการ์ดให้ มอบของขวัญและสุดท้ายคือการมีเพศสัมพันธ์ 2.7% “กุหลาบ”ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งการแสดงความรัก อย่างชัดเจนที่สุด แต่ปีนี้ผู้ที่จะซื้อกุหลาบให้คนรัก ซื้อน้อยลง จากราคาที่สูงขึ้นถึง 2 เท่าตัว เนื่องจากแหล่งปลูกใหญ่ในจีน ประสบปัญหาพายุไต้ฝุ่นแม้ว่ากุหลาบในไทยจะมีผลผลิตสูงขึ้น จากสภาพอากาศที่หนาวยาวนานกว่าทุกปีแต่ผู้ประกอบการหลายรายก็หันไปนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว จึงต้องปรับขึ้นราคาขายอีก 15-20% และร้านค้าขนาดใหญ่ต้องลดกำลังการผลิตเหลือ 600-700 ช่อ จากที่เคยเตรียมไว้กว่า 1,000 ช่อ เพราะเชื่อว่าตลาดกุหลาบวาเลนไทน์ปีนี้ จะลดจากปีก่อน 20-30% จากการสำรวจของทีมเศรษฐกิจ “เดลินิวส์” ได้ออกไปสำรวจราคา ดอกกุหลาบที่ย่านปากคลองตลาด พบว่า ราคาดอกกุหลาบจากที่เคยขายช่อละ 50 ดอก ราคา 150 บาท เพิ่มเป็น 180 บาทและขยับสูงสุดถึง 350 บาท ขณะที่กุหลาบพันธุ์ฮอลแลนด์ (ดอกใหญ่ ก้านยาว) ราคาสูงถึงช่อละ 900 บาท ส่วนการจัดทำช่อดอกกุหลาบมีราคาตั้งแต่ 300–700 บาท ตามขนาดและจำนวนดอกในวันปกติก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวเช่นเดียวกับ “ดอกบัว” ถือเป็นสัญลักษณ์ของวันมาฆบูชา ราคาปรับสูงขึ้นเกินเท่าตัว จากปกติดอกบัวราคากำละ 80-100 บาท แต่สัปดาห์แห่งความรักนี้ อยู่ที่กำละ 100-250 บาท และมีแนวโน้มสูง ถึง 300 บาท จากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้บัวไม่ออกดอกขณะที่ค่าใช้จ่ายในวันมาฆบูชานั้นพบว่ามีการใช้จ่ายรวม2,890 ล้านบาท เติบโต 4.4% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 4 ปี โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 2,318 บาท ยิ่งภาวะเศรษฐกิจแย่ลงเท่าใด ประชาชนยิ่งใช้จ่ายเงินเพื่อการทำบุญมากขึ้นเท่านั้น ด้วยหวังว่าจะมีส่วนช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น โดยพุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญมากที่สุด86% ใช้เงินเพื่อทำบุญเฉลี่ย 682บาท เพิ่มขึ้น 41% รองลงมาคือ ตักบาตร 406 บาท เพิ่มขึ้น35% ซื้อสังฆภัณฑ์ 551 บาท เพิ่มขึ้น 40% ปล่อยนกปล่อยปลา ไปเวียนเทียน อย่างไรก็ตามยังมีอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ออกไปฉลองเทศกาลดังกล่าวด้วยการกลับบ้านที่ต่างจังหวัด และท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดงานวันมาฆบูชา หรือเข้าคอร์สธรรมะ เพื่อพักผ่อนจิตใจคำยืนยันจาก “สกล แสงมาลี” ประธานกรรมการ บริษัทสังฆภัณฑ์ จำกัด ยอมรับว่า ยอดขายเครื่องสังฆภัณฑ์ปีนี้ไม่คึกคัก ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย จนคาดว่ายอดขายช่วงวันมาฆบูชานี้จะไม่เติบโตเลยจากปกติที่เติบโต 10% แต่ในแง่ของผู้ที่เข้าไปทำบุญนั้นคาดว่าจะมีมากขึ้นเพราะต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ ขณะที่ “เรวัต จินดาพล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิสลิลลี่จำกัด ผู้ให้บริการจัดดอกไม้ กล่าวว่าภาพรวมการซื้อดอกไม้ในวันวาเลนไทน์ ปีนี้ เงียบเหงามากที่สุดในรอบ 10 ปีทีเดียว จากลูกค้าระดับกลางลงไปลดการซื้อลงถึง 50% เรียกได้ว่า ในปีม้าที่ไม่คึกคักเช่นนี้ ทำให้คนไทยต้องฉลองความรักกันแบบประหยัด ขณะเดียวกัน ก็ถือโอกาสใช้วันสำคัญหันมาทำบุญร่วมกับคู่รัก และครอบครัวมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณสะท้อนที่ชัดเจนว่า ผู้คนประหยัดมากขึ้นรวมทั้งนำเงินออมออกมาใช้จ่ายเพราะภาวะเศรษฐกิจเริ่มซึมเซาอย่างมาก หลังได้รับผลกระทบมาจากปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อซึ่งทำให้การเฉลิมฉลองวันแห่งความรักปีนี้ แตกต่างไปจากปีก่อน ๆ อย่างมาก. ณัฐธินี มณีวรรณ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เศรษฐกิจทรุดฉุดกำลังซื้อวูบขุดเงินออมฉลองวาเลนไทน์-มาฆะ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs