นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน เดือนมี.ค.57 ว่า ธปท. ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี57 ลงเหลือ 2.7% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 3% หลังจากอุปสงค์ภายในประเทศช่วงครึ่งปีแรกอ่อนแอ โดยเฉพาะการชะลอตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหมดลง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และสถานการณ์ทางการเมืองยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง โดยมองว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองยังยืดเยื้อต่อเนื่องถึงช่วงครึ่งปีหลัง อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต้องปรับตัวลงต่ำกว่าประมาณการ “สถานการณ์ทางการเมืองที่อาจยืดเยื้อและยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะจบเมื่อไรนั้น เป็นความเสี่ยงในด้านลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าด้านบวกอย่างแน่นอน และยังกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน และนักท่องเที่ยงต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทย ขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน ยังมีแนวโน้มชะลอลงมากกว่าที่ประเมินไว้ด้วย โดยปัจจัยทั้งหมดคงต้องมาติดตามอย่างใกล้ชิด” ทั้งนี้ยังพบว่า ในด้านแรงกระตุ้นทางการคลังยังทำได้จำกัด โดยการใช้จ่ายภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะได้รับผลกระทบจากการยุบสภา คาดว่าจะส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณปี 57 ล่าช้า กระทบไปถึงการจัดทำงบประมาณปี 58 ล่าช้าไป 1 ไตรมาส ส่วนการใช้เงินนอกงบประมาณ ในพ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ จะเหลือเฉพาะโครงการเร่งด่วนที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้แล้ว เช่น การขุดลอกคูคลอง และซ่ิมถนน คาดว่าจะมีเงินลงทุนประมาณ 12,000 ล้านบาท และในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะเหลือเฉพาะโครงการต่อเนื่องเดิมของรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อม คาดว่ามีเงินลงทุนประมาณ 17,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่า การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวเพียง 2.5% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธปท.คาดว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายในช่วงครึ่งปีแรก จะส่งผลดีต่อการบริโภคฟื้นตัวและเข้าสูงภาวะปกติ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวตามเช่นกันในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนกำลังซื้อของผู้บริโภคและการฟื้นตัวของการส่งออก เชื่อว่า จะปรับตัวดีขึ้นฟื้นตามเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 4.5% นอกจากนี้ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เชื่อว่า อาจปรับตัวสูงขึ้นแต่ไม่รุนแรง จากการปรับราคาก๊าซแอลพีจีทำให้ราคาอาหารสำเร็จรูปปรับขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.5% นายไพบูลย์ กล่าวว่า ในด้านนโยบายการเงินนั้น ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ได้ปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 2% ต่อปี เชื่อว่า จะช่วยผ่อนคลายปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนลงได้ เพราะธนาคารพาณิชย์ก็ได้มีการตอบสนองลดอัตราดอกเบี้ยลงค่อนข้างเร็ว ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ก็มีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเห็นได้จากการเติบโตของสินเชื่อที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธปท.หั่นจีดีพีปีนี้เหลือ2.7%
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs