“ต่อไปเราจะร่วมกันขายด้วยกันในนามอาเซียน แทนที่จะมาแข่งขันกันเองเหมือนที่ผ่านมา โดยทีเส็บมีการประสานงานกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนมาตลอด ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นผลมาจากเวทีท่องเที่ยวอาเซียน ที่มอบหมายให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดโครงการ ASEAN Networking on MICE : Public and Private Partnership เพื่อสร้างโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดำเนินงานเพื่อพัฒนาธุรกิจไมซ์ระดับอาเซียน เสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกอาเซียนทั้งระบบ”จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการ สายงานบริหารและสนับสนุนกลยุทธ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ระบุ โดยมีกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดกลุ่มนักเดินทางธุรกิจของอาเซียน (ASEAN Business Travel Marketing Strategy) 9 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน การสร้างแบรนด์ การอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า การกระจายงาน การส่งเสริมการเดินทางภายในภูมิภาค การส่งเสริมตลาดระยะใกล้ การผนึกรวมตลาด และการจำแนกกลุ่มตลาด “จากระยะแรกซึ่งเน้นหนักไปที่การประสานงานระหว่างกัน ต่อไปจะเป็นการขับเคลื่อนในทางปฏิบัติ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ภายใต้แนวคิด Move ASEAN คือไปด้วยกันผลักดันให้ไปพร้อมกันทั้งภูมิภาค ให้เกิดการเดินทางที่เชื่อมโยงภายในภูมิภาค ซึ่งแน่นอนว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถือว่ามีความพร้อม โดยที่ผ่านมาทีเส็บเองได้มีการนำผู้ประกอบการไปศึกษาความเป็นไปได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยช่วงแรกจะเน้นที่ 3 ยุทธ ศาสตร์หลักก่อน ได้แก่ ด้านการค้าการลงทุน การส่งเสริมการเดินทางภายในภูมิภาค ซึ่งในส่วนนี้จะมีการหารือกันเพื่อดึงงานระดับโลกให้เข้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียน สุดท้ายคือการสร้างแบรนด์และอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า จากเดิมที่เราต่างแยกกันขายในการออกงานต่าง ๆ ต่อไปจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยมีสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเป็นคนกลางในการเชื่อมโยง” ขณะที่ไทยในฐานะผู้นำในการพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์ของอาเซียน มีแผนที่จะจัดทำมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์นำร่องแล้วในเบื้องต้น อาทิ มาตรฐานสถานที่จัดงานไทยซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับมาตรฐานของอาเซียน ซึ่งทีเส็บได้นำเสนอต่อที่ประชุมแล้ว อยู่ในระหว่างการพิจารณาร่วมกัน “แม้จะเป็นผู้นำแต่มีหลายอย่างที่ไทยยังต้องปรับปรุงโดยเฉพาะเรื่องการคมนาคม อย่างศูนย์ประชุมเชียงใหม่ที่เรียกได้ว่ามีความพร้อมในการเป็นศูนย์ประชุมระดับนานาชาติ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเดินทางโดยเฉพาะระบบรางที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา ขณะที่เที่ยวบินในช่วงโลว์ซีซั่นที่ลดน้อยลง แต่โชคดีที่วันนี้มีสายการบินราคาประหยัดมาช่วยลดช่องว่างของปัญหาได้มากในระดับหนึ่ง” นอกจากนี้ในการประชุมเวทีการท่องเที่ยวอาเซียนก็เริ่มมีการเจรจาหารือเรื่องการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพแรงงานวิชาชีพไมซ์ใน 3 ตำแหน่งงาน คือ Event Registration Specialist, On Site Event Specialist และ Liaison Officer Specialist โดยไทยจะร่วมมือกับประเทศสมาชิกในการดำเนินการด้านมาตรฐานแรงงานวิชาชีพไมซ์ต่อไป โดยทั้งหมดนับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและการให้บริการสถานที่จัดงาน และเป็นการสร้างแบรนด์ร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ในอาเซียนมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ การเดินทางท่องเที่ยวเชิงธุรกิจภายในอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากรจำนวนมาก ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่อยู่แล้ว หลังจากรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการพัฒนาเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างกัน และความสะดวกในเรื่องการเดินทางโดยไม่ต้องใช้วีซ่า จะส่งผลให้นักเดินทางในอาเซียนกลายเป็นกลุ่มที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในกลุ่มนักเดินทางเข้าสู่อาเซียนทั้งหมด กลุ่มคู่ค้าในตลาดระยะใกล้ ทั้งตลาดเอเชียที่กำลังเติบโต เช่น จีน อินเดีย และตลาดคุณภาพจากญี่ปุ่น ไต้หวัน และออสเตรเลีย ล้วนแต่เป็นกลุ่มตลาดที่มีศักยภาพของอาเซียน จากสถิติในปี พ.ศ.2555 มีนักเดินทางจากตลาดกลุ่มนี้เข้ามาในอาเซียนมากถึง 15.349 ล้านคน และมีศักยภาพที่จะขยายเพิ่มไปจนถึง 20 ล้านคนภายในปี พ.ศ.2560 และสุดท้ายคือกลุ่มเดินทางซ้ำ “กลุ่มเดินทางซ้ำถือเป็นกลุ่มสำคัญ เพราะหากถูกใจก็จะกลับมาอีก และกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มนักเดินทางคุณภาพ อย่างกลุ่มโรตารี่ ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เดินทางกลับมาซ้ำจะถือเป็นกำไรจากการลงทุนโปรโมตที่เราทำไปตั้งแต่แรก” โครงการ ASEAN Networking on MICE : Public and Private Partnership นอกจากจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางในการสร้างมาตรฐานตลาดไมซ์ให้กับอาเซียนร่วมกันแล้ว ยังได้รับเกียรติจาก มร.เอ็ดดี้ คริสมิดี้ โซมาวิลากา เจ้าหน้าที่อาวุโส สำนักงานเลขาธิการอาเซียน มานำเสนอศักยภาพและทิศทางการส่งเสริมธุรกิจไมซ์ของอาเซียนด้วย.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ไมซ์’ วาระแห่งอาเซียนจากคู่แข่งมาเป็นพันธมิตร
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs