นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภารกิจสำคัญของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที นอกเหนือจากการแจ้งเตือนภัย และกระจายข่าวความรุนแรงของภัยพิบัติ การสิ้นสุดของภัยพิบัติผ่านช่องทางต่างๆ แล้ว ยังมีหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านภัยธรรมชาติ กระบวนการแจ้งเตือนภัย สร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติให้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย สำหรับ เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์เตือนภัยฯ ได้จัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเตือนภัยและการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอุทกภัย ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สระบุรี และนครปฐม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถจัดการและดูแลตนเองได้ในเบื้องต้นเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับระบบเตือนภัยต่างๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนทั่วประ เทศกว่า 2 แสนคนที่สามารถให้ความร่วมมือในการแจ้งข่าวสารด้านภัยพิบัติธรรมชาติมายังศูนย์เตือนภัยฯ ผ่านทางระบบสื่อสารต่างๆ อาทิ วิทยุ โทรศัพท์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์เตือนภัยฯ ได้นำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแจ้งจากเครือข่ายฯ ถือเป็นข้อมูลเหตุการณ์จริงในพื้นที่ไปวิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยถือเป็นข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนในทิศทางเดียวกัน ศูนย์เตือนภัยฯ จึงได้ดำเนินโครงการสร้างองค์ความรู้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้าน น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยฯ กล่าวว่า การจัดทำโครงการสร้างองค์ความรู้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัย เพื่อให้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยและประชาชนทั่วไป ได้รับองค์ความรู้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติและ ระบบการเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยฯ รวมทั้งเข้าใจขึ้นตอนและวิธีการแจ้งข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเข้าใจถึงการใช้งานการดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ศูนย์เตือนภัยฯ ได้ติดตั้งไว้ตามพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งนี้ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์เตือนภัยฯ กับเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการประสานงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความเข้าใจให้ถูกต้อง ซึ่งได้กำหนดจัดกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าว ในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกภูมิภาค รวมทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 26-27 มี.ค.57 ที่ จ.ลำปาง ครั้งที่ 2 วันที่ 8-9 เม.ย.57 ที่จ.พิจิตร ครั้งที่ 3 วันที่ 23-24 เม.ย.57 ที่จ.สระแก้ว ครั้งที่ 4 วันที่ 27-28 พ.ค.57 ที่จ.สงขลา และครั้งที่ 5 วันที่ 4-5 มิ.ย.57 ที่จ.ศรีสะเกษ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ก.ไอซีที โรดโชว์เตือนภัยพิบัติทั่วประเทศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs