8 เมษายนนี้ ดีเดย์การหยุดให้บริการสนับสนุนระบบปฏิบัติการวินโดว์ส เอ็กซ์พี และชุดโปรแกรมสำนักงาน ออฟฟิศ 2003 ซึ่งไมโครซอฟท์ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้มาก่อนหน้านี้แล้วเกือบ 2 ปี โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ วินโดว์ส เอ็กซ์พี ที่เปิดให้บริการมานานกว่า 12 ปี และมีผู้ใช้งานในประเทศไทยมากถึง 2.5 ล้านคน และในจำนวนนี้มีถึง 25.32% ที่ยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าไมโครซอฟท์ประกาศจะหยุดการให้บริการสนับสนุนแล้วก็ตาม นายรชฏ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจและการตลาดวินโดว์สและเซอร์เฟซ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า วิถีชีวิตและรูปแบบการทำงานของเราทุกวันนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปจนแตกต่างจากสมัยเมื่อ 12 ปีก่อนอย่างสิ้นเชิง ไมโครซอฟท์ซึ่งเปิดตัววินโดว์ส เอ็กซ์พี และ ออฟฟิศ 2003 ออกสู่ตลาดในปี 2544 และ 2546 ตามลำดับ ในยุคที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยังคงเป็นเรื่องใหม่อยู่ ในขณะที่สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์มีความสามารถที่เทียบไม่ได้กับอุปกรณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น ซอฟต์แวร์ทั้งสองจึงไม่สามารถรับมือกับความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานผ่านระบบคลาวด์ การใช้งานในรูปแบบทัชสกรีน หรือการใช้ดีไวซ์แบบพกพาที่หลากหลาย ในขณะที่ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ ๆ ไม่อาจรองรับวินโดว์ส เอ็กซ์พี ได้อีกต่อไป อย่างไรก็ดี การหยุดให้บริการสนับสนุนระบบปฏิบัติการดังกล่าว ไม่ใช่การหยุดระบบหรือทำให้ทำงานต่อไปไม่ได้ เพียงแต่จะไม่มีการอัพเดทซอฟต์แวร์ หรืออุดช่องโหว่ที่เกิดขึ้นอีกต่อไป ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยง ต่อการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ แม้ว่าจะมีแอนตี้ไวรัสก็ตาม นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพ ยังอาจทำให้ผู้ใช้วินโดว์ส เอ็กซ์พี ในภาคธุรกิจ ต้องประสบกับความเสียหายที่มีมูลค่ามหาศาล ดังนั้นการอัพเกรดระบบสู่วินโดว์สและ ออฟฟิศ รุ่นใหม่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรให้พร้อมกับการแข่งขันโดยเฉพาะในยุคของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2558 ไมโครซอฟท์ บอกว่าสำหรับผู้ใช้งานวินโดว์ส เอ็กซ์พีและ ออฟฟิศ 2003 ที่ต้องการอัพเกรดมาใช้ดีไวซ์และซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ล่าสุด มีข้อเสนอพิเศษ คือ ส่วนลด 20% สำหรับลูกค้าภาคธุรกิจที่อัพเกรดสู่วินโดว์ส 8.1 Pro หรือสมัครสมาชิก ออฟฟิศ 365 เป็นเวลาหนึ่งปี โดยผู้สนใจสามารถติดต่อตัวแทนจำหน่ายของไมโครซอฟท์ได้ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการทำโปรโมชั่นร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบรนด์ต่าง ๆ ในการจำหน่ายอุปกรณ์พร้อมกับซอฟต์แวร์อีกด้วย ส่วนผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการติดตั้งวินโดว์ส 7 หรือ 8.1 ลงบนดีไวซ์ที่ใช้งานอยู่ สามารถใช้งานสองเครื่องมือฟรีจากไมโครซอฟท์เพื่ออำนวยความสะดวกได้ โดยเริ่มจากตรวจสอบรุ่นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ที่เว็บไซต์ http://amirunningxp.com/ ก่อนจะโอนย้ายข้อมูลจากวินโดว์ส เอ็กซ์พี ไปสู่วินโดว์สเวอร์ชั่นใหม่ด้วยเครื่องมือ PC mover Express ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/1nmgL3c ขณะที่กลุ่มลูกค้าองค์กร ก็สามารถค้นหาผู้ให้บริการด้านไอทีที่รับรองโดยไมโครซอฟท์ได้ด้วยบริการ Pinpoint ที่เว็บไซต์ http://bit.ly/1olsDX2 อยากลองเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมบอกลาวินโดว์ส เอ็กซ์พี ก็อัพเกรดกันได้เลย.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : บอกลาวินโดว์ส เอ็กซ์พี
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs