นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ภาคการเงินมีส่วนช่วยภาคครัวเรือนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน โดยการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งการรับผิดชอบในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ความโปร่งใส และไม่จูงใจให้ภาคครัวเรือนขาดวินัยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่อาจสร้างความเสียหายกับคนจำนวนมาก และนำไปสู่ความน่าเชื่อถือต่อวินัยทางการเงินของประเทศ “การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่บิดเบือนความเข้าใจผู้ใช้บริการและจูงใจให้กู้ยืม โดยผู้กู้ไม่ได้มีความสามารถในการชำระคืนนั้น อาจนำไปสู่ปัญหาสังคมมากมาย ทั้งการใช้บัตรเครดิตหลายใบและใช้วงเงินทุกใบจนครบโดยไม่ระวังถึงความสามารถในการชำระหนี้ หรือการให้สินเชื่อประเภทที่มีหลักประกัน อาทิ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อเช่าซื้อบางประเภท ที่ให้น้ำหนักความสามารถชำระหนี้ในอนาคตน้อยเกินไป อาจสร้างความเสียหายเชิงสังคมที่จับต้องได้ อาทิ การหนีหนี้ การทิ้ง หลักประกันและกลายเป็นหนี้เสีย และสร้างความเสียหายให้กับประเทศ” อย่างไรก็ตาม กรณีของประเทศไทยนั้น บทบาทผู้ให้บริการทางการเงินนอกการกำกับดูแลของ ธปท. อาทิ สถาบันการเงินภาครัฐฯ และ สหกรณ์ มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงเป็นความท้าทายของภาครัฐฯ จะต้องร่วมมือกันขยายขอบเขตการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับภาคครัวเรือนที่ใช้บริการผ่านผู้ให้บริการเหล่านี้อย่างทั่วถึงด้วย โดยการส่งเสริมระบบการประเมินความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ การส่งเสริมวินัยทางการเงินของผู้ใช้บริการ และการกำกับดูแลให้บริการด้วยความเป็นธรรม ทั้งนี้ ปัจจุบันภาคการเงินได้เชื่อมโยงกับภาคต่างๆ ที่เป็นตัวกลางจัดสรรทรัพยากรจากผู้ออมไปยังผู้ที่ต้องการใช้เงินทุน ส่งผลให้ทรัพยากรทุนสามารถหมุนเวียนในระบบได้โดยไม่สะดุด แต่ในทางตรงกันข้ามก็เกิดปัญหาที่พบทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น วิกฤติในภาคการเงินที่นำไปสู่การขาดความมั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจ และส่งผลไปยังภูมิคุ้มกันของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนอย่างยืดเยื้อ แต่ยืนยันว่าประเทศไทย มีระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีภูมิคุ้มกันระดับที่สูง เงินกองทุนและการกันสำรองอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง รวมทั้ง เพียงพอต่อการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ และภาคธุรกิจไทยทั้งในและต่างประเทศ “ระบบการเงินไทยมีตัวอย่างที่ดีของการให้บริการควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านวินัยการเงิน เช่น มีวินัย จ่ายตรงตามกำหนด ลดดอกเบี้ย ที่นำไปสู่ประโยชน์ร่วมทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ถือเป็นประโยชน์ในแง่ความรับผิดชอบต่อสังคม มากกว่ากิจกรรมประชาสัมพันธ์ โดยบทบาทของ ธปท.ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงิน ต้องการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างฉลาดและยั่งยืน”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หวั่นแบงก์พาณิชย์ทำลูกค้าหนี้เพิ่ม
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs