นายอาทิตย์ วุฒิคะโร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า กองทุนฯ ยังไม่ได้หนังสือจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพิจารณาเงินเพิ่มค่าอ้อยฤดูการผลิต 56/57 ให้แก่ชาวไร่อีกตันละ 160 บาท เพิ่มเติมจากเงินอ้อยขั้นต้นที่ 900 บาท เมื่อได้รับหนังสือแล้ว จะเร่งนัดประชุมกรรมการกองทุนฯ ทันที ส่วนกอน.จะนำเรื่องส่งให้ครม.อนุมัติได้ภายในวันที่ 6 พ.ค. 57 ตามที่ชาวไร่อ้อยกำหนดไว้ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตอบกลับข้อพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ กอน. ส่งหนังสือหารือไปทั้ง 6 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , กระทรวงพาณิชย์ , กระทรวงการคลัง , กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และกองทุนฯ ทั้งนี้ หาก ครม. อนุมัติเงินเพิ่มออกมาแล้ว กองทุนฯ จะเร่งดำเนินการกระจายเงินไปสู่ชาวไร่ให้เร็วที่สุด โดยส่วนตัวเห็นว่า นโยบายที่ถูกต้องจะต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.)ที่นำมาจ่ายเป็นเงินเพิ่มค่าอ้อยในแต่ละปีจะต้องใช้เวลาชำระ 15-16 เดือน ไม่สามารถชำระหมดภายในรอบ 12 เดือนได้ เนื่องจากรายได้หลักของกองทุนฯ ที่นำมาชำระหนี้โดยการเก็บจากราคาน้ำตาลทราย 5 บาทต่อก.ก. มีเข้ามาเดือนละ1,000-1,100 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนฤดูการผลิต 56/57 หากต้องจ่ายเงินเพิ่ม 160 บาทต่อตัน คาดว่า จะต้องมีการกู้ยืมประมาณ 16,000 ล้านบาท อาจจะต้องใช้เวลาชำระหนี้ถึง 17 เดือน หรือชำระหนี้หมดประมาณเดือนต.ค. 58 เนื่องจากแนวโน้มการบริโภคน้ำตาล ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ที่เก็บจากราคาน้ำตาลเพื่อใช้ชำระหนี้จะลดลงด้วย นายสมศักดิ์ สุวัฒิกะ เลขาธิการ สอน. กล่าวว่า ยังรับปากไม่ได้ว่าจะสามารถส่งเรื่องเงินเพิ่มค่าอ้อยให้ ครม.ได้ภายในวันที่ชาวไร่ต้องการหรือไม่เพราะต้องรอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรัฐบาลจะอนุมัติเงินเพิ่มหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม. เพราะบางส่วนอาจจะมองว่าเป็นการอนุมัติวงเงินที่สร้างภาระผูกพันไปรัฐบาลถัดไปหรือเป็นการหาเสียงหรือไม่ส่วนการหีบอ้อยฤดูกาล 56/57 ใกล้สิ้นสุดแล้วคาดว่าจะปิดหีบที่ประมาณ 105 ล้านตันอ้อย ซึ่งเป็นปริมาณผลผลิตที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์และค่าความหวานเฉลี่ยดีขึ้นมาอยู่ที่ 12.56 ซี.ซี.เอส. ดีกว่าปีที่ผ่านมาที่ค่าความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 11.65 ซี.ซี.เอส.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อุตฯยืนยันไม่รับปากดันราคาอ้อย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs