ควันของการยึดอำนาจโดย คสช. ยังไม่ทันจางก็มีข่าวลือส่งต่อกันในโลก โซเชียลมีเดีย ราวกับไฟลามทุ่งว่า คสช.จะทำการปฏิรูปพลังงานอย่างพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน บ้างก็อ้างว่าจะมีการยึดปตท.กลับคืนมาเป็นของรัฐหรือไม่ก็จะมีการปลดบอร์ดยกชุด บ้างก็บอกว่าจะมีการลดราคาน้ำมันลง 20-30% อดีตส.ว.บางคนก็ออกมาเสนอแนะคสช.ให้ลดราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนที่มีการขึ้นราคาไปแล้วทุกเดือน เดือนละ 50 ส.ต.ต่อกก. โดยให้ลดลงมาอยู่ที่ราคาเดิมก่อนปรับขึ้นไปคือที่ 18.13 บาทต่อกก. บางคนไปไกลถึงขนาดทำรูปเผยแพร่ใน โซเชียล มีเดีย เลยว่า ในเมื่อรัฐธรรมนูญยังฉีกได้ทำไมสัมปทานปิโตรเลียมจะฉีกไม่ได้ ถ้าจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง ตกลงตอนนี้ทุกคนจึงมอง คสช.เหมือนเป็นแก้วสารพัดนึกที่จะทำอะไรก็ได้อย่างที่ตัวเองต้องการโดยไม่ต้องสนใจกฎระเบียบ เหตุผล และผลกระทบใด ๆ ที่จะตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถ้าเราตัดเรื่องอารมณ์และความรู้สึกที่ถูกปลุกระดมกันมาโดยตลอดว่าเราต้องบริโภคพลังงานในราคาแพงเพราะถูกเอารัดเอาเปรียบออกไปก่อน แล้วมาค่อย ๆ พิจารณาว่า ภายใต้สถานการณ์และโอกาสดี ๆ อย่างนี้ คสช.ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารและแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ควรดำเนินการอะไรตามลำดับก่อนหลังเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศนั้นผมใคร่เสนอให้ คสช. เร่งดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ก่อน คือ 1. ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปพลังงานที่ประกอบไปด้วยทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องพลังงาน เพื่อมาระดมความคิดให้ตกผลึกในแนวนโยบายด้านพลังงานของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือพุดง่าย ๆ ทำโรดแม็พด้านพลังงานของประเทศนั่นเอง ซึ่งจะเป็นแผนระยะยาวของประเทศที่จะใช้ในอนาคต 2. ส่วนระยะสั้นนั้นจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการบิดเบือนโครงสร้างราคาพลังงานในปัจจุบันซึ่งมีความไม่เป็นธรรมในกลุ่มผู้ใช้พลังงานกลุ่มต่าง ๆ สูงมาก เช่น กลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ซึ่งต้องรับภาระภาษีสรรพสามิตและจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตราสูง ส่วนผู้ใช้น้ำมันดีเซลและก๊าซแอลพีจีกลับได้ใช้ในราคาต่ำจนเกินไปเพราะได้รับการอุดหนุนโดยไม่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตหรือนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์มาอุดหนุน เป็นต้น ดังนั้นการปรับโครงสร้างราคาทั้งระบบ (ทั้งภาษีสรรพสามิตและเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ) จึงเป็นงานที่ต้องทำอย่างรีบด่วนเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้พลังงานทุกกลุ่ม 3. ตัดสินใจเดินหน้าเปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยเร็ว เพราะเราล่าช้ามาหลายปีแล้ว (ประเทศไทยไม่มีแหล่งปิโตรเลียมใหม่มาเป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว) เนื่องจากความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการว่าจะใช้ระบบใด ดังนั้น คสช. จึงควรรีบตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานที่มีตัวแทนจากทุกฝ่ายมาร่วมพิจารณาความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อให้ได้ข้อสรุปใน 3 เดือน เนื่องจากประเทศไทยต้องเตรียมรับมือกับการผลิตปิโตรเลียมที่ลดลงและแหล่งผลิตก๊าซฯ ที่กำลังจะหมดลงไปในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งหมดนี้คือข้อเสนอเร่งด่วนสามข้อที่ผมคิดว่า คสช. ควรรีบดำเนินการโดยเร็วที่สุดครับ!!!.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปฏิรูปพลังงาน : เผือกร้อนในมือคสช. – พลังงานรอบทิศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs