นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการส่งออกของไทยว่า ช่วงนี้ต้นทุนการผลิตสินค้าหลายอย่างสูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดต้นทุนในการส่งออกได้โดยการขอใช้สิทธิเขตการค้าเสรี(FTA) ซึ่งไทยทำFTAไว้กับ8ภาคี (รวม16ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา ลาว เวียดนาม เมียนมาร์ จีนอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และเปรู)และสินค้าส่วนใหญ่ที่เราค้าขายกับทั้ง 16 ประเทศลดภาษีเป็น 0%แล้วเกือบทั้งหมดทั้งนี้ในช่วง4เดือน (ม.ค. – เม.ย.57)มีการส่งออกโดยขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้FTAที่จะเป็นข้อได้เปรียบของไทยกับประเทศคู่แข่งเพียง 26,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯทั้งนี้อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอาหาร ยานยนต์แฟชั่น(สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นสำหรับประเทศไทยมีทั้งข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งแบบทวิภาคีและแบบที่ทำรวมกันในนามอาเซียน เช่น ไทยกับอินเดียความตกลงทวิภาคีเจรจาในเบื้องต้นเมื่อลดภาษีก่อน 83 รายการ ซึ่งภาษีเป็น 0%ไปตั้งแต่เดือน ก.ย.49 แต่ส่วนสินค้าที่เหลือ ยังไม่ลงนาม ในขณะที่FTAอาเซียน-อินเดีย เจรจาเสร็จและมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ปี 1 ม.ค.53โดยเมื่อ 1 ม.ค.57 สินค้าที่มีภาษีเป็นศูนย์แล้วกว่า 70%ของจำนวนสินค้าทั้งหมด 5,224 รายการดังนั้นผู้ส่งออกที่ทำการค้ากับอินเดีย จึงต้องตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้และเร่งมาใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว“อินเดียเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจโดดเด่นและมีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและจีนด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 8%ต่อปีส่งผลให้ต่างประเทศเข้าไปลงทุน ทำให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้นและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่มีกำลังซื้อปานกลาง-สูงรวมกว่า 350 ล้านคนแต่การที่อินเดียมีระดับอัตราภาษีนำเข้าและมาตรการกีดกันสูง ดังนั้นการลดหรือยกเลิกภาษีนำเข้าของอินเดียภายใต้FTAจะช่วยลดภาระต้นทุนทางภาษีของสินค้าที่ส่งออกจากไทยซึ่งจะเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าไทยให้สามารถแข่งขันกับสินค้าของคู่แข่งในตลาดอินเดียได้ดีขึ้น”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะผู้ส่งออกศึกษาสิทธิเอฟทีเอ

Posts related